DSpace Repository

การสงวนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย : เมรุลอยอยุธยา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภัทราวดี มากมี
dc.contributor.advisor กนก พานทอง
dc.contributor.advisor ปริญญา เรืองทิพย์
dc.contributor.author สถิร กิจเพ็ชร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:20:02Z
dc.date.available 2023-09-18T07:20:02Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9841
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญา และการพัฒนารูปแบบการสงวนมรดกภูมิปัญญาเมรุลอยอยุธยาในด้านการปกป้องคุ้มครอง การเคารพ ความตระหนัก แนวทางความร่วมมือและการขอความช่วยเหลือ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผู้วิจัยฝังตัวอยู่ในพื้นที่จริงไม่ต่ำกว่า 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางทฤษฎีฐานรากเพื่อนำเสนอทฤษฎีในลักษณะเรื่องเล่าเชิงบรรยาย เลือกตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 17 คน ตามเทคนิคเดลฟาย ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาเมรุลอยอยุธยาเกิดจากรูปแบบเมรุลอยชั่วคราวที่สร้างโดยพระสงฆ์ที่มีความรู้ทางช่างร่วมกับช่างฝีมือพื้นบ้านเพื่อใช้ในงานศพของบุคคลสำคัญ จนกลายเป็นต้นแบบของเมรุลอยอยุธยาที่มีการพัฒนาและสืบทอดจนถึงปัจจุบัน ก่อนปี พ.ศ. 2475 เป็นยุคที่การทำพิธีศพจะคำนึงถึงศักดินา สถานที่เผาศพชาวบ้านจะใช้กองฟอน เชิงตะกอน หรือเมรุปะรำ ปี พ.ศ. 2475-2520 ยุคผ่อนปรนศักดินา เกิดเมรุลอยอยุธยาทรงบุษบก ฐาน 2 ชั้น ตกแต่งด้วยแผงไม้ไผ่สาน ใช้เรือในการขนย้าย ใช้กับศพชาวบ้านและพระสงฆ์ ลวดลายเริ่มต้นใช้สีเขียน ประกอบด้วยสีแดง เหลือง น้ำเงิน ขาว มีฉัตร และพัดเป็นเครื่องตกแต่ง เป็นต้น และหลังปี พ.ศ. 2520 ถึงปัจจุบัน มีการสร้างรูปแบบและลักษณะที่หลากหลาย มักใช้กับงานศพพระสงฆ์ คหบดี ผู้มีฐานะทางสังคม และมีการใช้ไม้อัดแทนการใช้แผงไม้ไผ่สาน เมรุลอยอยุธยาเป็นภูมิปัญญาวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าที่เสี่ยงต่อการสูญหาย มีการสั่งสมและถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคคลต่อบุคคล บุคคลต่อชุมชน และชุมชนต่อชุมชน โดยผู้ถ่ายทอดจะมีความรู้ ประสบการณ์ ส่วนผู้รับถ่ายทอดเป็นผู้สนใจเรื่องเมรุลอยอยุธยาหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณค่ามรดกภูมิปัญญาเมรุลอยอยุธยาเป็นภูมิปัญญางานช่างฝีมือดั้งเดิมของคนรุ่นเก่า ควรค่าแก่การการสงวนมรดกภูมิปัญญาเมรุลอยอยุธยาทั้งในด้านการปกป้องคุ้มครอง ด้านการเคารพ ด้านความตระหนัก และด้านแนวทางความร่วมมือและการขอความช่วยเหลือ ภาครัฐโดยเฉพาะการปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเป็นแกนนำและให้การสนับสนุน
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject เมรุ -- พระนครศรีอยุธยา
dc.subject ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- พระนครศรีอยุธยา
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.title การสงวนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย : เมรุลอยอยุธยา
dc.title.alternative Reservtion of thi culturl hertitge: meru loi yutthy
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to study the history, the wisdom transfer process, and the development of a model for preserving “Meru Loi Ayutthaya” wisdom in the context of protection, respect, and awareness, as well as in matters of cooperation and assistance requests, by conducting qualitative research based on in-depth interviews. The researcher was embedded in the research location and analyzed the data according to grounded theory. The 17 participants were selected by application of the specific model according to the Delphi technique. The research showed that the wisdom of the Meru Loi Ayutthaya originated from a form of temporary crematoriums created by monks who had crafting skills, and also from local craftsmen, for use in the funerals of important people, and became a prototype of the Meru Loi Ayutthaya that has been developed and inherited to the present day. The era of “Meru Loi Ayutthaya” can be divided into three periods. Firstly, before 2475 B.E., the funeral was held according to feudalism. A simple method of burning was used for villagers’ bodies. Secondly, between 2475 B.E. and 2520 B.E., Meru Loi Ayutthaya was in a throne shape with beautifully decorated materials. Thirdly, after 2520 B.E. until now, a variety of forms and styles were created. “Meru Loi Ayutthaya” is invaluable cultural wisdom that is now at risk of being lost. The accumulation and transfer of knowledge is made between individuals within a community, extending from communities to other communities. The transferors must have requisite knowledge and experience, while the recipients must have an interest in local wisdom. “Meru Loi Ayutthaya” is also invaluable craftsmanship wisdom. In aspects of protection, respect, awareness, cooperation and assistance requests, the government must act as the leader and also support other relevant sectors.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account