DSpace Repository

การวิเคราะห์อิทธิพลของหิริ-โอตตัปปะที่มีต่อทัศนคติในการคอรัปชั่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดระยอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.advisor เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
dc.contributor.author อาภาภรณ์ วิรุตม์พงศ์สกุล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:20:00Z
dc.date.available 2023-09-18T07:20:00Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9835
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลการวัดหิริ-โอตตัปปะและทัศนคติต่อการคอรัปชั่นในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 2) เพื่อวิเคราะห์แบบแผนความสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างตัวแปรหิริ-โอตตัปปะและทัศนคติต่อการคอรัปชั่น 3) เพื่อตรวจสอบอิทธิพลของหิริ-โอตตัปปะและทัศนคติต่อการคอรัปชั่น 4) เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของหิริ-โอตตัปปะและทัศนคติต่อการคอรัปชั่นในกลุ่ม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่ศึกษาในโรงเรียนเครือข่ายสหวิทยาระยองเขต 1 และเขต 2 จำนวน 1,109 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเกี่ยวกับหิริ-โอตตัปปะและทัศนคติต่อการคอรัปชั่น ผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทดสอบความสอดคล้องภายในและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบสอบถามด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและองค์ประกอบเชิงยืนยัน จากนั้นวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลและอิทธิพลเชิงสาเหตุโดยการวิเคราะห์โมเดล สมการโครงสร้างและทดสอบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ยด้านหิริ-โอตตัปปะและทัศนคติต่อการคอรัปชั่น เมื่อจำแนกตามระดับชั้น ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลการวัดหิริ-โอตตัปปะ (X2 /df = 1.327, AGFI=0.987, RMSEA =0.017) และโมเดลการวัดทัศนคติต่อการคอรัปชั่น (X2 /df =1.973, AGFI=0.952, RMSEA =0.030 ) มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีพิสัยของค่าน้ำหนักองค์ประกอบของหิริ-โอตตัปปะอยู่ระหว่าง 0.724-1.000 และองค์ประกอบของทัศนคติต่อการคอรัปชั่นอยู่ระหว่าง 0.401-1.000 และมีพิสัยของค่าความแปรปรวนร่วมของตัวแปรด้านหิริ-โอตตัปปะอยู่ระหว่าง 0.524-1.000 และด้านทัศนคติต่อการคอรัปชั่นอยู่ระหว่าง 0.260-1.000 2. สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างชุดตัวแปรหิริ-โอตตัปปะและชุดตัวแปรทัศนคติต่อการคอรัปชั่น มีค่าเท่ากับ 0.389 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 มีความแปรปรวนร่วมกัน ร้อยละ 0.149 (14.90%) ซึ่งค่าสหสัมพันธ์ในแต่ละชุดตัวแปรเป็นผลมาจากตัวแปรโอตตัปปะ (Rc= 0.863) และแนวโน้มในการแสดงพฤติกรรม (Rc=-0.942) มากที่สุด 3.โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี (X2 /df =0.372, AGFI=0.998, RMSEA =0.000) ซึ่งตัวแปรด้านหิริ-โอตตัปปะมีอิทธิพลลบ ทางตรงต่อตัวแปรด้านทัศนคติต่อการคอรัปชั่น โดยมีค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.655 (y = -0.655) สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรด้านทัศนคติต่อการคอรัปชั่น ได้ร้อยละ 42.90 4. แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของหิริ-โอตตัปปะในแต่ละระดับชั้น พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ( = 0.979, Multivariate F-statistics=2.369, p-value= 0.009) และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย พบว่า ด้านหิริไม่แตกต่างกัน แต่ด้านโอตตัปปะแตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของทัศนคติต่อการคอรัปชั่น พบว่า นักเรียนในแต่ละระดับชั้นมีความรู้ ความรู้สึกและแนวโน้มในการแสดงพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ( = 0.868,F-statistics=10.665, p-value= 0.000) และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย พบความแตกต่างทั้งด้านความรู้ความรู้สึกและแนวโน้มในการแสดงพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การทุจริตและประพฤติมิชอบ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subject ทัศนคติ
dc.title การวิเคราะห์อิทธิพลของหิริ-โอตตัปปะที่มีต่อทัศนคติในการคอรัปชั่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดระยอง
dc.title.alternative The nlysis of hiri (morl shme) nd ottpp (morl dred) effects on ttitudes towrds corruption of secondry school students in ryong province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were;1) to create and validate a Hiri-Ottappa and attitudes towards corruption model for secondary school students, 2) to analyze the canonical correlation between the Hiri-Ottappa and attitudes towards corruption, 3) toexamine the influences of the Hiri-Ottappa on the attitude towards corruption, and 4) to study the trendsof change of the Hiri-Ottappa and the attitude towards corruption for secondary school students. The sample consisted of 1,109 students who were selected by multi-stage random sampling technique form grade 7-12 students of schools in Rayong province. The research instruments was questionnaire on Hiri- Ottappa,and the attitude towards corruptioninventory. The data were analyzed by using descriptive statistics,Pearson’s correlation coefficient, exploratory factor analysis (EFA), confirmatory factor analysis (CFA), canonical correlation analysis, structural equation modeling (SEM) and multivariate analysis of variance (MANOVA). The research findings revealed that : 1. The measurement model of the Hiri-Ottappa measurement modeling of attitude towards corruption were congruence with the empirical data ( 2 /df = 1.327, AGFI=0.987, RMSEA =0.017 and X2 /df =1.973, AGFI=0.952, RMSEA =0.030). The weighted loadings indicators of the Hiri-Ottappa ranged from 0.724-1.000 and the weighted loadings indicatorsof attitude towards corruption ranged from 0.401-1.000. The adjusted R square of the Hiri-Ottappa ranged from 0.524-1.000 and the adjusted R square of attitude towards corruption ranged from 0.260-1.000. 2. The canonical correlation among the Hiri-Ottappa variables and attitude towards corruption variables was 0.389 with statistically significant at the level .05 and the covariate of the relationship (Rc 2 ) was at 0.149 (14.90%). The correlations of the set of variables were the resultsof the most Ottappa variables (Rc= 0.863) and intention to behavior (Rc= -0.942). 3. The validation of the effect of the Hiri-Ottappa on attitude towards corruption showed that the model was congruent with the empirical data (X2 / df = 0.372, AGFI=0.998, RMSEA =0.000). The Hiri-Ottappa has a directed influence negatively on attitude towards corruption at 0.655 (y = -0.655). The path coefficient of the Hiri-Otappa to attitude towards corruption was significant at .05. The Hiri-Ottappa moderately can explain the variane of attitude towards corruption at 43.90%. 4. The trend of changes of the Hiri-Ottappa at each level showed a significant difference at .05 (  = 0.979, Multivariate F-statistics = 2.369, p-value = 0.009) When compared the average it showed that the Hiri was not statistically different. But Ottappa was significant difference at .05. The trend of changes of Attitudes towards corruption showed students in each level had different knowledge, feelings, and intention to behavior with was significance at .05 ( = 0.868, F-statistics = 10.665, p-value = 0.000), in comparison of mean, it showed differences in knowledge, feelings and intention to behavior with statistical significance at .05.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account