DSpace Repository

การพัฒนาตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาสู่การเป็นแรงงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิยะทิพย์ ประดุจพรม
dc.contributor.advisor ปริญญา เรืองทิพย์
dc.contributor.author สรวิทย์ สมศรี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:19:50Z
dc.date.available 2023-09-18T07:19:50Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9833
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัด และวิเคราะห์องค์ประกอบของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาสู่การเป็นแรงงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาอาชีวศึกษาที่กำลังศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 (ปวช.3) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 (ปวส.2) ในปีการศึกษา 2562 ในสถาบันอาชีวศึกษาที่เป็นศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกจำนวน 645 คน โดยใช้เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาสู่การเป็นการแรงงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบโดยโปรแกรม Mplus 7.31 ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ผลการพัฒนาตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาสู่การเป็นแรงงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกมีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสังคม (Society) จำนวน 11 ตัวชี้วัด ด้านวิทยาการปัญญา (Cognition) จำนวน 10 ตัวชี้วัด ด้านความสามารถ (Capability) จำนวน 6 ตัวชี้วัด และด้านการพึ่งพาตนเอง (Self-reliance) จำนวน 3 ตัวชี้วัด 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาสู่การเป็นแรงงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยด้านสังคม มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .706 ถึง .792 ด้านวิทยาการปัญญามีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .580 ถึง .751 ด้านความสามารถ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .589 ถึง .792 และด้านการพึ่งพาตนเอง มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .787 ถึง .849
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subject การประกันคุณภาพการศึกษา
dc.subject นักเรียนอาชีวศึกษา
dc.title การพัฒนาตัวชี้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาสู่การเป็นแรงงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
dc.title.alternative Development indictors of desired chrcteristic for voctionl students to lbour in estern economic corridor
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this study were to develop indicators and analyze factors relating to the desired characteristics of vocational students destined to enter the labour force in the Eastern Economic Corridor. The sample consisted of 650 vocational certificate and high vocational certificate students from vocational education institutionsin the Eastern Economic CorridorTechnical and Vocational Education and Training Career Center. Data were collected and analyzed using the Mplus program version 7.31. The research results were as follows: 1. The results of the development indicators of desired characteristics of vocational students about to join the workforce in the Eastern Economic Corridor consisted of four factors, namely, Society with 11 indicators, Cognition with 10 indicators, Capability with 6 indicators, and Self-reliance with 3 indicators. 2. The results of the factor analysis of the components of desired characteristics were found to be consistent with the empirical data. The Society factor loadings were between .706 and .792; Cognition factor loadings between .580 and .751; Capability factor loadings between .589 and .792; and Self-reliance loadings between .787 and .849.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account