DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบเสริมสร้างสมรรถนะการสอนของครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครโดยใช้กระบวนการศึกษาผ่านบทเรียน (Lesson study process)

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุเมธ งามกนก
dc.contributor.advisor สมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.author นพมาศ พุ่มฉวี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:15:48Z
dc.date.available 2023-09-18T07:15:48Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9816
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะการสอนของครูในสังกัดกรุงเทพมหานคร สร้างและตรวจสอบ และศึกษาผลการใช้รูปแบบเสริมสร้างสมรรถนะการสอนของครูในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้กระบวนการศึกษาผ่านบทเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสอบถามสมรรถนะการสอนของครูในสังกัดกรุงเทพมหานครกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,000 คน สร้างและตรวจสอบรูปแบบ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน พร้อมกับให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เพื่อรับรองรูปแบบ และศึกษาผลการใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าสถิติพื้นฐาน คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์เนื้อหา และการคำนวณคะแนนพัฒนาการ ผลการวิจัย พบว่า โมเดลการวัดสมรรถนะการสอนของครูในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 3 องค์ประกอบ 9 ตัวบ่งชี้ 68 ข้อรายการ ประกอบด้วย ความรู้ในการสอน ได้แก่ หลักสูตรและเนื้อหา 13 ข้อรายการ และการสอน 7 ข้อรายการ ทักษะในการสอน ได้แก่ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ 9 ข้อรายการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8 ข้อรายการ สื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้ 5 ข้อรายการ การบริหารจัดการชั้นเรียน 8 ข้อรายการ และการวัดและประเมินผล 8 ข้อรายการ และบุคลิกลักษณะในการสอน ได้แก่ ความรับผิดชอบ 6 ข้อรายการ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น 11 ข้อรายการ ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบ ได้รูปแบบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า การเตรียมการเสริมสร้างสมรรถนะการสอน 2) กระบวนการ การดำเนินการเสริมสร้างสมรรถนะการสอน โดยใช้กระบวนการศึกษาผ่านบทเรียน 3) ผลผลิต ผลการเสริมสร้างสมรรถนะการสอน และ 4) ข้อมูลป้อนกลับข้อมูลจากการอภิปรายและ แสดงความคิดเห็น เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและแก้ไขบทเรียน ผลการรับรองรูปแบบ รูปแบบ มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความถูกต้อง และมีความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบ ครูมีพัฒนาการด้านความรู้เกี่ยวกับกระบวนการศึกษาผ่านบทเรียน ทักษะการใช้กระบวนการศึกษาผ่านบทเรียน ความรู้ในการสอน ทักษะในการสอน และบุคลิกลักษณะ ในการสอน หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าเกณฑ์
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ระบบการเรียนการสอน
dc.subject ครูประถมศึกษา -- การสอน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.title การพัฒนารูปแบบเสริมสร้างสมรรถนะการสอนของครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครโดยใช้กระบวนการศึกษาผ่านบทเรียน (Lesson study process)
dc.title.alternative The development of teching competency model for enhncing primry school techer through lesson study process
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research is aimed to: analyze the teaching competency components of teachers in schools under Bangkok Metropolitan Administration, develop, and validate a model, and study the results of using the model to enhance the teaching competency of teachers in the schools by using the lesson learned approach. Data collection was done by questionnaire survey the teaching competency of teachers in Bangkok Metropolitan Administration. The sample group was 1,000 teachers in Bangkok Metropolitan administration. Constructing and validating the model through in-depth interviews of 15 experts, and another 7 experts to certify the model. The effect of using the model was measured by 15 primary school teachers under the Bangkok Metropolitan Administration. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, skewness, kurtosis, survey component analysis Confirmatory element analysis Content analysis and calculating the development scores The research results were that: 1. a model for measuring teaching competencies of teachers in schools under Bangkok Metropolitan Administration composed of 3 components, 9 indicators, and 68 items. Teaching knowledge indicator consists of 13 items of curriculum and content. Teaching indicators consisted of 7 items. Teaching skills indicators: the preparation lesson plan consisted of include 9 items. Learning activities indicators consisted of 8 items. The teaching media and learning resources indicators consisted of 5 items. Classroom management indicators consisted of 8 items. Measurement and evaluation indicators consisted of 8 items. Teaching characteristics indicators consisted of responsibility 6 items, and working with others 11 items. The results of constructing and validating the model were as follows: 1) Input: consisted of preparation for enhancing teaching competency, 2) The Process: the teaching enhancement process by using the lesson learned approach, 3) Output: results of teaching enhancement, and 4) Feedback: using data from discussions and opinions to lead to improvements and revision of the lessons. The result of model validation it was found that the model is considered appropriate, possible, correct, and useful at a high level. The teacher has developed knowledge from the lesson learned approach, skills in using the lesson learned approach, knowledge of teaching, teaching skills and teaching characteristics after learning from the model is higher than the set criteria.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account