Abstract:
ตัวอย่างพลอยที่นำมาศึกษาการเปลี่ยนแปลงสี มาจาก 3 แหล่ง คืออิลลากากา ประเทศมาดากัสการ์ แหล่งซองเจีย ประเทศแทนซาเนีย และพลอยไทย บางกะจะ จันทบุรี ในแต่ละแหล่งของกลุ่มพลอยที่แบ่งเป็นไม่เผา (untreated), กลุ่มพลอยเผาแบบธรรมดา (heat treated) และเผาแบบแพร่เบอริลเลียมในรูปของคริโซเบอริล (new heat treatment) กระบวนการเผากระทำในเตาแก๊สในบรรยากาศออกซิเดชัน ช่วงอุณหภูมิ 1720-1170 C เป็นเวลา 4 ชั่วโมงและ 8 ชั่วโมง สำหรับพลอยบางกะจะ ในแต่ละกลุ่มพลอย นำมาวัดสเปคตราในช่วงอุลตราไวโอเลตถึงใกล้อินฟราเรด วัดองค์ประกอบธาตุโดย Energy dispersive X-ray Fluorescence (EDXRF) วัดดัชนีสีด้วยระบบ CIE L*a*b* และตรวจสอบตำหนิภายใน (inclusions) ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้การเผาที่สภาวะเดียวกันกลุ่มพลอยที่เผาแบบแพร่เบอริลเลียม สามารถดัดแปลงสีพลอยได้ ศูนย์กลางสีและอัตราส่วนของเหล็กและโครเมียม มีอิทธิพลต่อสาเหตุของสีที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงตำหนิภายในผลึกพลอย ไม่สามารถนำมาเป็นตัวชี้บอกความแตกต่างการเผาด้วยกรรมวิธีทั้งสองได้