DSpace Repository

การพัฒนานโยบายเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุปราณี ธรรมพิทักษ์
dc.contributor.advisor วิภาวี พิจิตบันดาล
dc.contributor.author บุญกิต จิตรงามปลั่ง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:09:21Z
dc.date.available 2023-09-18T07:09:21Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9668
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนานโยบายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิต และการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก ในองค์ประกอบที่เป็นวัตถุประสงค์ แนวการดำเนินงานของนโยบาย และกลไกของนโยบาย ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 60 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้กำหนดนโยบาย กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากนโยบาย และกลุ่มที่ 4 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากนโยบาย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาแบบหน่วยบริบท ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณี และเครื่องประดับของโลก และได้นำเสนอร่างนโยบายโดยกำหนดวัตถุประสงค์ว่า พัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก โดยใช้กลไกของนโยบาย คือ การเปลี่ยนสถานภาพของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (GIT) โดยเสนอให้เปลี่ยนสถานภาพจากองค์การมหาชนกลุ่ม 2 (บริการที่ใช้เทคนิควิชาการเฉพาะด้าน หรือสหวิทยาการ) ไปอยู่ที่องค์การมหาชนกลุ่ม 1 (พัฒนาและดำเนินการตามนโยบายสำคัญของรัฐเฉพาะด้าน) เพื่อให้สามารถดำเนินการเป็นองค์กรกลางของภาครัฐและภาคเอกชนในการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และสมาคมการค้าต่าง ๆ รวมทั้งทำหน้าที่เป็นตัวแทนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในเวทีการค้าโลก ทั้งนี้ได้เสนอแนวการดำเนินงานของนโยบายการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ทิศทางการพัฒนานโยบายของรัฐ ด้านการผลิต ด้านการตลาด และด้านกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับ การพัฒนานโยบายเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลกในครั้งนี้ เป็นผลจากกระบวนการวิจัยเชิงนโยบายที่ยึดถือหลักการวิจัยแบบผสมที่อาศัยข้อมูลจากหลากหลายแหล่งตามหลักการสามเส้า และอาศัยหลักการมีส่วนร่วมบูรณาการจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณี และเครื่องประดับของโลกอย่างยั่งยืน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject อัญมณี -- การผลิต
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
dc.subject อัญมณี -- การค้า
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.title การพัฒนานโยบายเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก
dc.title.alternative Developing policy towrds thilnd s the world’s gems nd jewelry mnufcturing nd trding hub
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research objective was to develop the policy towards Thailand as the world’s gems and jewelry manufacturing and trading hub. In the element are policy objective, policy implementation and policy mechanism researched through qualitative research, documentary research, in-depth interview, and focus group discussion. The key informants used in this study were 60 people, divided into 4 groups; 1) policy makers, 2) policy implementers, 3) beneficiaries, 4) stakeholders. The data analysis method uses content analysis and contextual unit. This research found that Thailand has the potential to be the world’s gems and jewelry manufacturing and trading hub. It also suggests a draft policy towards the objective that developing policy towards Thailand as the world’s gems and jewelry manufacturing and trading hub by using the policy mechanism that changes the Gem and Jewelry Institute of Thailand (Public Organization) (GIT) from public organization group 2 (specialized in technical services) to public organization group 1 (development and implementation of specific state policies). The proposed change is to enable it to act as a central organization of the public and private sectors in coordination between government agencies and trade associations. It also serves as a representative of the gem and jewelry industry in the world trade arena. The research also proposes the policy implementation in developing Thailand as the world’s gems and jewelry manufacturing and trading hub divided into 4 areas; direction in developing government policy, production, marketing, laws, and regulations. Developing policy towards Thailand as the world’s gems and jewelry manufacturing and trading hub is the result of the policy research process, based on the principal of blending data from various sources in triangulation theory. The principle of participatory integration of stakeholders in all sectors is to sustainably elevate Thailand as world’s gems and jewelry manufacturing and trading hub, and related agencies can execute successfully.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account