DSpace Repository

การบ่มแข็งและโครงสร้างจุลภาคของโลหะผสมเงินสำหรับเครื่องประดับ (โครงการต่อเนื่อง)

Show simple item record

dc.contributor.author ชุติมันต์ จันทร์เมือง
dc.contributor.author ธรณินทร์ ไชยเรืองศรี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:54:55Z
dc.date.available 2019-03-25T08:54:55Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/963
dc.description.abstract การศึกษาพฤติกรรมการเปลี่ยนเฟสระหว่างการปรับปรุงคุณสมบัติด้วยความร้อนในโลหะผสมเงินสเตอร์ลิงสำหรับเครื่องประดับ ปริมาณเงิน 93.5% โดยน้ำหนักในระบบ Ag-Pd และ Ag-Cu-Zn-Si จำนวน 13 องค์ประกอบ ผลิตโดยการหล่อแบบแม่พิมพ์ขี้ผึ้ง (los-wax หรือ Investment casting) ในระบบสุญญากาศ โดยการหลอมโลหะที่อุณหภูมิ 1,025 'C และอุณหภูมิเบ้าหล่อ 600 'C ส่วนผสมทางเคมีของชิ้นทดสอบหลังหล่อตรวจสอบด้วย Inductively Couple Plasma (ICP) การปรับปรุงคุณสมบัติด้วยวิธีบ่มแข็งโดยการอบละลายที่อุณหภูมิ 750 และ 800 'C เวลา 60 นาทีและบ่มที่อุณหภูมิ 300 'C เวลา 60 นาที และเปรียบเทียบผลการบ่มแข็งที่สภาวะต่าง ๆ การเปรียบเทียบคุณสมบัติของโลหะผสมเงินทั้งสภาวะหลังหล่อและหลังการปรับปรุงสมบัติด้วยวิธีบ่มแข็ง โดยการเตรียมตัวอย่างด้วย Twin-jet electropolishing และ Focused lon Beam (FIB) และศึกษาโครงสร้างจุลภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (Transmission Electron Microscope, TEM) การวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Energy Dispersive X-ray Spectrometer (EDS) และการวิเคราะห์บางบริเวณด้วยเทคนิค Selected-Area Diffraction (SAD) โครงสร้างจุลภาคของโลหะผสมเงินหลังหล่อประกอบด้วย 2 เฟส คือ เฟสที่มีปริมาณเงินสูง หรือเฟสอัลฟา (& - phase) และเฟสที่มีปริมาณทองแดงสูงหรือเฟสเบต้า (B-phase) โดยสามารถแบ่งลักษณะโครงสร้างเป็น 4 บริเวณ คือ 1) โครงสร้างเดนไดร์ตเป็นเฟสหลักเป็นเฟสที่มีปริมาณเงินสูง 2) บริเวณของเดรไดร์ตซึ่งมีปริมาณทองแดงสูงและพบการแยกตัวของทองแดงตกตะกอนขนาดเล็ก ๆ (Copper segregation) กระจายตัวทั่วบริเวณ 3) โครงการลาเมลายุเทกติก ซึ่งมีเฟสอัลฟาและเบต้าเรียงตัวสลับกันเป็นชั้น ๆ และ 4) โครงสร้างดีเจนเนอเรตยูเทคติกซึ่งมีปริมาณของทองแดงสูง โดยตะกอนของทองแดงที่ตกผลึกในเฟสหลักของเงินนั้นมีทั้งอยู่ในรูปของตะกอนทองแดง (Cu particle) และอยู่ในรูปของออกไซด์คือออกไซด์ทองแดง (Cu2O) แพลเลเดียมสามารถละลายได้ในทุกเฟสและมีแนวโน้มการตกตะกอนของ Cu3Pd ขณะที่การเจือด้วยสังกะสีและซิลิกอนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างลาเมลายูเทคติกหลังหล่อ คือ ทั้งสังกะสีและซิลิกอนมีแนวโน้มการละลายเฉพาะเฟสที่มีปริมาณทองแดงสูงเท่านั้น และสามารถละลายร่วมอยู่เฟสทองแดง (Cu phase containing Zn and Si) โดยเฉพาะซิลิกอนจะมีผลโดยตรงต่อโครงสร้างจุลภาคของโลหะผสมเงินเนื่องจากสามารถทำให้มีการตกตะกอนในรูปของ Cu-Si phase ซึ่งมีผลทำให้โลหะมีความสามารถต่อการต้านทานหารหมองดีขึ้น th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ 2556 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject โลหะผสมเงิน th_TH
dc.subject เครื่องประดับ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title การบ่มแข็งและโครงสร้างจุลภาคของโลหะผสมเงินสำหรับเครื่องประดับ (โครงการต่อเนื่อง) th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2556


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account