DSpace Repository

รูปแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวกิจกรรมทางน้ำ กรณีศึกษาบ้านทุ่งรัก อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ของมูลนิธิชัยพัฒนา

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุชนนี เมธิโยธิน
dc.contributor.author ยุพา วีระทรัพย์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T06:47:36Z
dc.date.available 2023-09-18T06:47:36Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9605
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวด้วยกิจกรรมทางนํ้ากรณีศึกษาบ้านทุ่งรัก อําเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมด 22 คน ได้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่บ้านทุ่งรัก อําเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ประกอบด้วยมูลนิธิชัยพัฒนา หน่วยงานภาครัฐในจังหวัดพังงาที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและการพัฒนาการท่องเที่ยวในบ้านทุ่งรัก ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ที่นําเที่ยวในเขตพื้นที่บ้านทุ่งรัก โดยใช้การสัมภาษณ์ด้วยคําถามปลายเปิด แล้วนํามาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา สังเคราะห์ประเด็นที่มีความเป็นไปได้ในการกำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวด้วยกิจกรรมทางนํ้าของบ้านทุ่งรัก อําเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และทําการกำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวด้วยกิจกรรมทางนํ้า หลังจากนั้นทําการวิจัยเชิงปริมาณ และทําการวิจัยเชิงปฏิบัติการด้วยการจัดกิจกรรม การท่องเที่ยวทางนํ้าที่บ้านทุ่งรัก แล้วทําการเก็บข้อมูลทางด้านความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยว กิจกรรมทางนํ้าที่บ้านทุ่งรัก โดยแจกแบบสอบถาม จํานวน 409 ชุด แล้วนํามาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การจัดการท่องเที่ยวกิจกรรมทางนํ้าในเขตพื้นที่บ้านทุ่งรัก จะต้องมีการจัดเตรียมบุคลากรของชุมชนให้มีความพร้อมในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางนํ้า โดยการฝึกอบรมศึกษาดูงานและการให้ความรู้ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวให้แก่คนในชุมชน เช่น การเป็นฝีพายที่ดี การเป็นมัคคุเทศก์ที่ดี และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น แหล่งท่องเที่ยวและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่บ้านทุ่งรัก อําเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา จะต้องได้รับการปรับปรุงให้มีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยวจัดให้มีการบริหาร จัดการทางด้านการท่องเที่ยวแก่กลุ่มท่องเที่ยวของชุมชนให้มีผู้นําด้านการท่องเที่ยวที่ชัดเจน และรูปแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวด้วยกิจกรรมทางนํ้า ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการ ได้แก่ การวางแผนในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวอย่างมีระบบการจัดองค์กรของชุมชนเพื่อรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวทางนํ้า การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการท่องเที่ยวซึ่งกันและกัน การควบคุมคุณภาพของการให้บริการการท่องเที่ยวและสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว 2) การบริหารจัดการท่องเที่ยวของชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เพื่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว สถานที่พักอาศัย เส้นทางคมนาคม การขนส่ง สถานที่จําหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน การสนับสนุนทางด้านองค์ความรู้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว เพื่อนํามาวางแผนและปรับปรุงกิจกรรมการท่องเที่ยวให้ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยว และ 3) การบริหาร จัดการท่องเที่ยวของหน่วยงานภาครัฐที่มุ่งเน้นการประสานงาน และความร่วมมือของแต่ละหน่วยในทุกระดับ โดยเน้นการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวทางนํ้า และการบริหารงานแบบบูรณาการบริหารจัดการแบบเชิงรุกเพื่อบริการนักท่องเที่ยวได้อย่างมีคุณภาพ
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
dc.subject การท่องเที่ยว -- การบริการ
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.subject การท่องเที่ยว -- การจัดการ
dc.subject อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
dc.title รูปแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวกิจกรรมทางน้ำ กรณีศึกษาบ้านทุ่งรัก อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ของมูลนิธิชัยพัฒนา
dc.title.alternative Tourism mngement model of wter ctivities: cse study of bn thung rk, kurburi district, phng ng province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This study was a qualitative research whose purpose was to study the management model of water tourism activities and it was also a case study of Ban Thung Rak, Kuraburi District, Phang Nga Province. There were 22 main data informants and stakeholders consisting of Chaipattana Foundation, Phang Nga government agencies involved in policy making and tourism development in Ban Thung Rak, tourism entrepreneurs, and tour guides in Ban Thung Rak. Opened-ended questions were used to interview all informants and content analysis was used to analyze the data. The data were then synthesized for possible issues to formulate water activities for tourism in Kuraburi District, Phang Nga Province. Quantitative research and action research were then used by organizing water tourism activities at Ban Tung Rak. The information on tourists’ opinions on water activities at Ban Thung Rak was then collected 409 questionnaires were distributed and the data were analyzed by descriptive methods. It was found that for water activities in Ban Thung Rak, tourism personnel should be prepared to organize water tourism activities by being trained, having field trips or being given knowledge concerning first aid and how to be good oarsmen or good guides. In addition, tourist attractions and infrastructure in Ban Thung Rak area, should be upgraded to be accessible to welcome tourists. To tourism management, the community travel leaders should be prepared for tourist groups. Water management should consist of 1) management which includes systematic planning to provide services to tourists, community organizing water tourism activities, coordinating with government agencies and tourism entrepreneurs for exchanging tourist information among each other, quality control of tourism services and facilities; 2) tourism management of the community and people related to tourism to manage tourism activities, management of accommodation, transportation routes, transportation, and community product outlets, support to the knowledge and information on tourism to plan and improve tourism activities to meet the tourists’ needs; 3) government agencies’ tourism management focusing on coordination and cooperation among all units at all levels and the emphasis is on supporting tourism activities and integrating proactive management to provide quality tourist services.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การจัดการสาธารณะ
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account