DSpace Repository

การอนุรักษ์และเผยแพร่เพลงกล่อมลูกชาติพันธุ์ผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ณ ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor มนัส แก้วบูชา
dc.contributor.advisor ชูศักดิ์ สุวิมลเสถียร
dc.contributor.author วันทยา บัวทอง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T06:42:57Z
dc.date.available 2023-09-18T06:42:57Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9539
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่องการอนุรักษ์และเผยแพร่เพลงกล่อมลูกชาติพันธุ์ผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ณ ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสํารวจรวบรวม สังเคราะห์องค์ความรู้เพลงกล่อมลูกชาติพันธุ์ผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิเคราะห์ผลการอนุรักษ์และการรับรู้ระบบเผยแพร่เพลงกล่อมลูกชาติพันธุ์ผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีกรอบแนวคิดการวิจัยคือ การจัดการระบบวัฒนธรรมอย่างมีคุณภาพของกรมศิลปากร การจัดการความรู้ฉบับขับเคลื่อน LO ของประพนธ์ ผาสุขยืด หลักการสื่อความหมายและหลักการรับรู้จากวิธีสื่อสารและปฏิบัติการมิวเซียมออนไลน์ของสภาพิพิธภัณฑ์สถานนานาชาติ โดยนําข้อมูลชั้นต้นมาสร้างสรรค์สารัตถะ ผ่านสื่อเพลงกล่อมลูก ชาติพันธุ์เฉพาะในพื้นที่ซึ่งยังดํารงอยู่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ผลการวิจัย คือ กลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังดํารงเพลงกล่อมลูกอยู่ ได้แก่ ชาวลาวพวน ตําบลโคกหัวข้าว อําเภอพนมสารคาม ชาวลาวเวียง ตําบลท่าถ่าน อําเภอพนมสารคาม ชาวมอญ ตําบลพิมพา อําเภอบางปะกง ชาวมุสลิม ตําบลดอนฉิมพลี อําเภอบางน้ำเปรี้ยว ชาวจีนแต้จิ๋ว ตําบลหน้าเมือง อําเภอเมือง ชาวเขมร ตําบลแปลงยาว อําเภอแปลงยาว และชาวไทย อําเภอบางปะกง ซึ่งผู้วิจัยได้นําข้อมูลเสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวในงานภาคสนามมาดําเนินการสร้างสรรค์สารัตถะเพื่อจัดทําสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในชื่อว่า เจ็ดชาติพันธุ์รอวันเรียนรู้: 7 Ethnical Lullaby Museum Online ประกอบด้วยวิดีทัศน์และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพลง เรื่องเล่า คํากลอน ย้อนอดีตของแม่ ผลการรับรู้จากวิธีสื่อสารและปฏิบัติการมิวเซียมออนไลน์ในระบบการเผยแพร่ เพลงกล่อมลูกชาติพันธุ์ผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยจัดทําในสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พบว่า การจัดทําแบบสอบถามการรับรู้ในเพจและเว็บไซต์ มีผู้เข้าชม 310 คน การรับรู้จากผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ มีผู้ตอบแบบสอบถาม 295 คน ผลของการรับรู้ในภาพรวมทั้ง 2 แบบนี้ สรุปได้ว่า ผู้เข้าชมในเว็บไซต์ส่วนใหญ่เป็นบุคคลทั่วไป มีอายุระหว่าง 21-30 ปี มีความสนใจในเพลงกล่อมลูกที่กําลังจะสูญหายและนําข้อมูลนั้นไปเผยแพร่เพราะตระหนักในคุณค่าของความรัก ความอบอุ่นระหว่างแม่ลูก ครอบครัวและความสําคัญของเพลงกล่อมลูก
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject เพลงกล่อมเด็ก
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.title การอนุรักษ์และเผยแพร่เพลงกล่อมลูกชาติพันธุ์ผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ณ ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
dc.title.alternative Ethnicl lullby: preservtion nd implementtion globl technology
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of the researchentitled “Ethnical Lullaby: Preservation and Implementation through Information technology media of the Centre of Culture, Arts and Locality, Rajabhat Rajanagarindra University” were to 1) study, investigate, and synthesize the body of knowledge on ethnic lullabies through information technology media, and 2) study and analyze the preservation and perception on dissemination system of ethnic lullabies through information technology media. The conceptual framework was the cultural system for quality management of the Fine Arts Department, the knowledge management, the principle of model interpretation and communication in theory and practice of the museum online system of the International Council of Museums (ICOM). By this, they were integrated to creatively produce through various rarely ethnic lullaby media which had been existing Chachoengsao Province. The results revealed that the ethnic groups which had been preserving the culture of ethnic lullabies were 1) Lao Phuan ethnic group at Kok Hua Khao Sub-district, Phanomsarakham District, 2) Lao Vieng ethnic group at Tha Than Sub-district, Phanomsarakham District, 3) Mon ethnic group at Pimpha Sub-district, Bang Pakong, 4) Muslim group at Don Chimpli, Bangnum Prieo District, 5) Taechew Chinese ethnic group at Na Muang Sub-district, Muang District 6) Khmer ethnic group at Plang Yao Sub-district, Plang yao District, and 7) Tai ethnic group at Bangpakong District. The researcher used voice data, slides, and motion on field work as the content for electronic media, called 7 Ethnic Lullaby Museum Online. They consisted of VCD, E-book, songs, and poem named Tracing Back to Mom’s Past. The outcomes of perception from communication method and operation of the lullaby on the museum online through global technology media were conducted on the week of Conservation Day by 1) creating questionnaire on Webpage and Inhouse website in which had been viewed by 310 visitors. 2) the perception from 295 outreach people who answered questionnaire. By this, it could be summarized that most of website visitors were in the 21-30 age group. They were interested in the vanishing lullabies. Also, lullabies song to children could bring love, realizable on its values, warmth among mothers and children and other members of family.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline บริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account