Abstract:
การอนุบาลสัตว์ทะเลวัยอ่อนในกลุ่มเตคาพอดครัสเตเซียม (Decapod crustacean) มีความแตกต่างจากการอนุบาลสัตว์ทะเลวัยอ่อนทั่วไป เนื่องจากตัวอ่อนของสัตว์ทะเลในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีรูปแบบบอบบาง ฉีกขาดง่าย ทำให้รูปแบบของภาชนะที่ใช้อนุบาล และลักษณะการไหลของน้ำในภาชนะอนุบาล มีผลต่อความสำเร็จในการอนุบาล หลัการของ "Planktonkreisel" (Greve, 1968) ได้ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาและออกแบบภาชนะ ที่ใช้ในการอนุบาลตัวอ่อนพวกเคคาพอดครัสเตเชียน ซึ่งภาชนะที่มีรูปแบบต่างกัน 2 แบบ คือ Pseudokreisel tank (PK) (Raskoff et al., 2003) และ Cylindrico-spherical upweller tank (CST) (Calado et al. 2008) ได้ถูกนำมาใช้เป็นภาชนะอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูน ในระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิด โดยมีสาหร่ายเป็นตัวควบคุมคุณภาพน้ำ ในการทดลองครั้งนี้ที่อัตราการไหลของน้ำต่างกัน 2 ระดับ คือ 0.5 และ 1 ลิตรต่อนาที ในภาชนะแบบ PK อัตราการไหลของน้ำเท่ากับ 1 และ 2 ลิตรต่อนาทีในภาชนะแบบ CST
ผลการทดลองพบว่า ไม่สามารถอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูนให้พ้นระยะวัยอ่อนได้ในทุกชุดการทดลองลูกกุ้งมีอายุเฉลี่ยและอัตรารอด (ที่อายุ 9 วัน) ต่ำที่สุดเมื่ออนุบาลในภาชนะแบบ PK ที่อัตราการไหล
ของน้ำ 0.5 ลิตรต่อนาที อัตราการไหลของน้ำที่สูงขึ้น ทำให้ลูกกุ้งมีอายุเฉลี่ยและอัตรารอดเพิ่มขึ้น (P< 0.05) เทียบเท่ากับการอนุบาลในภาชนะแบบ CST ที่อัตราการไหลของน้ำทั้งสองระดับ โดยมีอายุเฉลี่ย (+-SD) เท่ากับ 6.5+-4.4, 13.8+-3.3, 18.3+-3.9 และ 18.8+-2.1 วัน มีอัตรารอดที่อายุ 9 วันเท่ากับ ร้อยละ 9.4+-5.7, 15.5+-13.2, 46.7+-14.4 และ 55+-29.0 ในภาชนะทดลองแบบ PK ที่อัตราการไหลของน้ำเท่ากับ 0.5 และ 1 ลิตรต่อนาทีและในภาชนะทดลองแบบ CST ที่อัตราการไหลของน้ำเท่ากับ 1.0 และ 2.0 ลิตรต่อนาที ตามลำดับ ลูกกุ้งการ์ตูนสามารถเจริญเติบโตจนถึงระยะซูเอีย 9 จากระยะวัยอ่อน จำนวน 12 ระยะ ในภาชนะทดลองแบบ CST ที่อัตราการไหลของน้ำทั้งสองระดับ ส่วนลูกกุ้งที่อนุบาลในภาชนะแบบ PK สามารถเจริญเติบโตได้เพียงระยะซูเอีย 8 ที่อัตราการไหลของน้ำ 1 ลิตรต่อนาที และเมื่ออัตราการไหลของน้ำลดลงเหลือ 0.5 ลิตรต่อนาที ลูกกุ้งการ์ตูนมีพัฒนาการได้เพียงแค่ระยะซูเอีย 3 เท่านั้น
Rearing marine decapod crustacean larvae requires special rearing systems and culture techniques as most of decapod crustaceans have frail larval stages and long larval cycle. The "Planktinkreisel" was first described by Greve in 1968 and then be used as a protitype of various later designs of culture vessels for culturing gelatinous zooplanktons and marine ornamental decapod crustaceans. The Pseudokreisel tank (PK) (Raskoff et al., 2003) and Cylindrico-spherical upweller tank (CST) (Calado et al. 2008) used in this experiment are "planktonkreisel" based system. The tanks were connected to a recirculation system with a seaweed biofilter. Effect of water flow rates on survival and development of the harlequin shrimp (Hymenocera picta) larvae raised in these vesssls was determined at flow rates of 0.5 and 1 L min -1 in PK (PK 0.5L, PK 1 L) while water flow rates were 1 and 2 I min -1 in CST (CST1L, CST2L).
The shrimp larvae raised in these tanks at different water flow rates could not complete larval development. No shrimp larvae in all treatments could pass through metamorphosis. However, the larvae raised at higher water flow rates (PKIL, CST1L, CST2L) survived longer (+-SD) (13.8+-3.3 days, 18.3+-3.9 days, and 18.8+-2.1 days, respectively) than the larvae cultured at the lowest flow rate (PK0.5L=6.5+-4.4 days) (P<0.05). The larvae displayed higher average survival rates (15.5+-13.2%, 46.7+-14.4%, 55.0+-29.0%) to the fifth zoeal stage (9 days old) when raised at higher flow rates (PK1L, CST1L, CST2L, respectively) than when cultured at the lowest flow rate (PK0.5L=9.4+-7%) (P<0.05). The larvae raised in CST survived to the ninth zoeal stage while the larvae cultured in PK at 1L min-1 reached the eight zoeal stage. The lowest development was found when cultured at the lowest water flow rate (PK 0.5L) which the larvae could only reach the third zoeal stage.