Abstract:
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า องค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาในแต่ละด้านนั้น คือ บุคลากร โดยเฉพาะทางด้านบริหารธุรกิจ อันเป็นทรัพยากรสำคัญที่จะผลักดันให้องค์กรนั้นดำรงอยู่ได้ ความรู้ความสามารถของบุคลากรที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเจ้าของกิจการ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบในการผลิตทรัพยากรบุคลทางด้านบริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยบูรพา ได้เล็งเห็นความสำคัญและดำเนินการติดตามและประเมินผลผู้สำเร็จการศึกษาเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรและปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนหลักสูตรและปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและใช้พิจารณาทิศทางการขยายตัวของภาควิชาบริหารธุรกิจต่อไปในอนาคต
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาและติดตามผลภาวะการมีงานทำ ผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี ที่จบการศึกษาในปีการศึกษา 2539-2542 ทั้งเพศชายและหญิงทุกสาขาวิชา รวมถึงแนวโน้มความต้องการบัณฑิตบริหารธุรกิจบัณฑิตขององค์กรที่ผู้สำเร็จการศึกษาทำงานอยู่ในปัจจุบัน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ และโทรสาร ประมวลผลด้วยฤโปรแกรม SPSS ได้ผลการวิจัยดังนี้
ผู้สำเร็จการศึกษาบริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตร 4 ปี จากมหาวิทยาลัยบูรพา ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทเป็นสัดส่วนที่สูงโดยเฉพาะสาขาการบัญชี โดยผู้สำเร็จการศึกษาในปี 2541-2542 จะมีสัดส่วนการศึกษาต่อมากกว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาในปี 2539-2540 ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาเศรษฐกิจที่ซบเซาในช่วงที่บัณฑิตจบการศึกษา ในสาชาวิชาการตลาด และบริหารงานบุคคล มีกลุ่มตัวอย่างที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว เนื่องจากจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำงานที่มากกว่าและเป็นวิชาชีพที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถเกี่ยวข้องและรับผิดชอบกับบุคคลภายนอกที่มากกว่า จากการสัมภาษณ์ พบว่า ผู้ที่จบการศึกษาในสาขาวิชาการบัญชี จะมีความสามารถในการประชุกต์ใช้ความรู้ในระดับปริญญาตรีไปใช้ในการทำงานได้ดีกว่าสาขาวิชาอื่นๆ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถเฉพาะตัวของกลุ่มตัวอย่างที่ทำการวิจัยด้วย
ในขณะที่สาขาวิชาการตลาด มีผู้จำใจปฏิบัติงานแม้ไม่สอดคล้องกับความรู้เป็นสัดส่วนใกล้เคียงกับผู้ที่ประกอบอาชีพตรงตามสาชาวิชาที่เรียน สาชาวิชาการบัญชีกลับเริ่มต้นประกอบอาชีพตรงตามสาชาวิชาที่เรียนมากที่สุด ส่วนความคาดหวังในการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีกลุ่มตัวอย่างส่วนมากคาดหวังที่จะเพิ่มพูนความรู้เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ
ปัญหาในการนำความรู้ระดับปริญญาตรีไปใช้ในการทำงาน พบว่าปัญหาในเรื่องอาจารย์ผู้สอนไม่เน้นการประยุกต์ใช้มีสัดส่วนสูง โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นว่า การที่อาจารย์ผู้สอนไม่เน้นการประยุกต์วิชาการที่เรียนไปใช้กับการทำงานในสภาะการทำงานจริงส่งผลเป็นอย่างมากต่อการปฏิบัติงาน เช่นเดียวกับประสบการณ์ในการทำงาน
ด้านการดำรงชีวิตตามอัตภาพ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการดำรงชีวิตตามอัตภาพของตยในระดับปานกลาง จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการปรับตัวให้เข่ากับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และสภาพการทำงานได้เป็นอย่าง มีความสุขและพึงพอใจในการทำงานปัจจุบันเป็นอย่าง นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างยังมีความพึงพอใจต่อความก้าวหน้าในงานอาชีพของตน ซึ่งเป็นผลมาจากความสามารถเฉพาะตัวบุคคล และลักษณะโครงสร้างและนโยบายขององค์กรประกอบสำคัญ
ผู้จบการศึกษาอาศัยความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาในระดับปริญญาตรี และประสบการณ์ในการทำงานที่สั่งสมช่วยในการประกอบธุรกิจส่วนตัวได้เป็นอย่างดี สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างภาควิชากับศิษย์เก่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า ควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาควิชา ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันโดยยินดีให้ความร่วมมือเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่ทางภาควิชาจะจัดขึ้น
สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกบัณฑิตปริญญาตรีเข้าทำงานในองค์กร ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ ความมีไหวพริบปฏิภาณ บุคลิกภาพ และประสบการณ์ส่วนเพศ สถาบันการศึกษา และผลการศึกษามีความสำคัญน้อยมาก ทุกองค์กรต้องการบัณฑิตที่มีคุณสมบัติในด้านต่างๆ สูงและเน้นหนักในด้านความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความอดทนโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ในการจัดการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอนควรเน้นการประยุกต์ใช้วิชาความรู้ที่ศึกษาในระดับปริญญาตรีมากกว่าการสอนแบบท่องจำจากการวิจัย พบว่าองค์กรต่างๆ มีความมั่นใจในคุณภาพของบัณฑิตที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐมากกว่าบัณฑิตที่จบการศึกษจากมหาวิทยาลัยเอกชน
การวิจัยในครั้งนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สำเร็จการศึกษาเพียง 4 รุ่น จากข้อจำกัดด้านที่อยู่ของกรอบตัวอย่าง ทำให้แบบสอบถามที่ได้รับกลับจึงมีจำนวนน้อย และอาจไม่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากรที่ทำการศึกษาวิจัย