DSpace Repository

ผลของการออกกำลังกายแบบมีช่วงพักและแบบต่อเนื่องต่อการควบคุมความดันโลหิตของประสาทอัตโนมัติและการทำงานของไตในคนไทยสูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง

Show simple item record

dc.contributor.author ปิยะพงษ์ ประเสริฐศรี
dc.contributor.author อรชร บุญลา
dc.contributor.author จตุพร เพิ่มทรัพย์ทวี
dc.contributor.author เพชรรัตน์ ตรงต่อศักดิ์
dc.contributor.author กนกนุช นรวรธรรม
dc.date.accessioned 2023-08-07T02:49:02Z
dc.date.available 2023-08-07T02:49:02Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9285
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการควบคุมความดันโลหิตของระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจและการทำงานของไตในคนไทยสูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ก่อนและหลังได้รับการฝึกออกกำลังกาย และเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการควบคุมความดันโลหิตของระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจและการทำงานของไตในคนไทยสูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หลังได้รับการฝึกออกกำลังกายแบบมีช่วงพักและแบบต่อเนื่อง ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยเป็นผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 47 คน เป็นเพศชาย 10 คน และเพศหญิง 37 คน มีอายุ 70.60 ± 5.66 ปี มีดัชนีมวลกาย 23.84 ± 3.13 กิโลกรัม/ตารางเมตร มีระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัว 129.38 ± 14.90 และ 75.72 ± 7.51 มิลลิเมตรปรอท ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยวิธีการสุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มฝึกเดินออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง จำนวน 24 คน และกลุ่มฝึกเดินออกกำลังกายแบบมีช่วงพัก จำนวน 23 คน กลุ่มฝึกเดินแบบต่อเนื่องได้รับโปรแกรมการเดินวันละ 30 นาทีต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลา 3 เดือน ส่วนกลุ่มฝึกเดินแบบมีช่วงพักได้รับโปรแกรมการเดินวันละ 30 นาที โดยเป็นการเดินครั้งละ 10 นาที จากนั้นนั่งพัก 1 นาที และทำซ้ำเช่นนี้จำนวน 3 รอบ ใช้เวลาในการออกกำลังกายวันละ 32 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลา 3 เดือน ก่อนและหลังได้รับโปรแกรม ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยได้รับการตรวจวัดองค์ประกอบของร่างกาย ระดับความดันโลหิต ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งประเมินจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Lead II การทำงานของไต ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะเครียดออกซิเดชันในเลือด ผลการศึกษาพบว่าหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มฝึกเดินแบบต่อเนื่องมีความยาวรอบเอว ความยาวรอบสะโพก ระดับ triglyceride ในเลือด สัดส่วนของ total cholesterol/high-density lipoprotein-cholesterol (HDL-C) ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และระดับสารอนุมูลอิสระในเลือด ซึ่งประกอบด้วย oxidized glutathione (GSSG) และ malondialdehyde (MDA) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีระดับ HDL-cholesterol และระดับสารต้านอนุมูลอิสระในเลือด ซึ่งประกอบด้วย total glutathione และ reduced glutathione (GSH) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนกลุ่มฝึกเดินแบบมีช่วงพักมีร้อยละของไขมัน มวลไขมัน ความยาวรอบเอว ไขมันในช่องท้อง ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว ระดับความต่างของความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ความต้องการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ ค่า low frequency power ซึ่งสะท้อนการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติกของหัวใจ ระดับ glucose และระดับสารอนุมูลอิสระในเลือด ซึ่งประกอบด้วย GSSG และ MDA ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีร้อยละของมวลปราศจากไขมัน ร้อยละของน้ำในร่างกาย และระดับสารต้านอนุมูลอิสระในเลือด ซึ่งประกอบด้วย total glutathione และ GSH เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการเดินออกกำลังกายแบบต่อเนื่องและแบบมีช่วงพักเป็นประจาให้ผลลัพธ์คล้ายคลึงกัน โดยการเดินแบบต่อเนื่องเป็นประจำช่วยให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีไขมันสะสมในร่างกาย ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และภาวะเครียดออกซิเดชันลดลง และมีระดับไขมันในเลือดดีขึ้น ส่วนการเดินแบบมีช่วงพักเป็นประจำช่วยให้มีระดับความดันโลหิต ไขมันสะสมในร่างกาย ระดับน้ำตาลในเลือด และภาวะเครียดออกซิเดชันลดลง และมีองค์ประกอบของร่างกาย และการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจดีขึ้น โดยการเดินออกกาลังกายทั้งสองแบบไม่มีผลต่อการทำงานของไต แต่การเดินแบบมีช่วงพักมีแนวโน้มทำให้การทำงานของไตดีขึ้นได้มากกว่าการเดินแบบต่อเนื่อง th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การออกกำลังกาย th_TH
dc.subject ความดันเลือดสูง - - วิจัย th_TH
dc.title ผลของการออกกำลังกายแบบมีช่วงพักและแบบต่อเนื่องต่อการควบคุมความดันโลหิตของประสาทอัตโนมัติและการทำงานของไตในคนไทยสูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง th_TH
dc.title.alternative Effects of intermittent and continuous exercise on autonomic nervous control of blood pressure and renal function in Thai elderly with hypertension th_TH
dc.type Research th_TH
dc.author.email piyapong@buu.ac.th th_TH
dc.author.email orachorn@buu.ac.th th_TH
dc.author.email fssjpw@ku.ac.th th_TH
dc.author.email petchara@buu.ac.th th_TH
dc.author.email kanoknuch@buu.ac.th th_TH
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative The present study investigated and compared blood pressure (BP) regulation of cardiac autonomic nervous system (ANS) and renal function in Thai elderly with hypertension (HTN) before and after an exercise training and investigated and compared BP regulation of cardiac ANS and renal function in Thai elderly with HTN after intermittent and continuous exercise training. Subjects were 47 Thai elderly with HTN consisted of 10 males and 37 females, age 70.60 ± 5.66 years, body mass index 23.84 ± 3.13 kg/m2, systolic BP (SBP) and diastolic BP were 129.38 ± 14.90 and 75.72 ± 7.51 mmHg. Subjects were randomly divided into two groups: continuous walking exercise (CWE) training group (n = 24) and intermittent walking exercise (IWE) training group (n = 23). Subjects in the CWE training group received walking exercise continuously for 30 min/day, 3 days/week for consecutive 3 months. While subjects in the IWE training group received walking exercise for 30 min/day with a 1-min rest every 10 min, 3 days/week for consecutive 3 months. All subjects were evaluated body composition, BP levels, heart rate variability determined by Lead II electrocardiography, renal function, cardiovascular risks, and oxidative stress before and after the 3-month program. The results showed that waist and hip circumferences, blood triglyceride, total cholesterol/high-density lipoprotein-cholesterol (HDL-C) ratio, atherosclerogenic index, and blood oxidants including oxidized glutathione (GSSG) and malondialdehyde (MDA) were significantly decreased (p<0.05), and blood HDL-cholesterol and antioxidants including total glutathione and reduced glutathione (GSH) were significantly increased (p<0.05) in CWE training group after the 3-month program. Whereas, body fat percentage, fat mass, waist circumference, visceral fat, SBP, pulse pressure, heart rate, rate-pressure product, low frequency power reflecting cardiac sympathethic nervous activity, blood glucose and oxidants including GSSG and MDA were significantly decreased (p<0.05), and fat-free mass percentage, body water percentage, and blood antioxidants including total glutathione and GSH were significantly increased (p<0.05) in IWE training group after the 3-month program. This study suggests that regular continuous and intermittent walking exercise harvest similar outcomes. Regular continuous walking exercise could improve body composition, blood lipids and oxidative stress, and atherosclerosis in elderly with hypertension. While regular intermittent walking exercise could improve blood pressure, cardiac autonomic function, body composition, and blood glucose and oxidative stress. Nevertheless, both continuous and intermittent walking exercise could not yield an advantageous effect on renal function, but, intermittent walking exercise might more improve renal function than that of continuous walking exercise. th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account