DSpace Repository

การพัฒนาภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุด้วยการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมเป็นฐาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์
dc.contributor.advisor สุรินทร์ สุทธิธาทิพย์
dc.contributor.author ปวีณา เพิ่มพูล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T09:02:42Z
dc.date.available 2023-06-06T09:02:42Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9216
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุด้วยการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมเป็นฐาน โดยงานวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาแบบวัดภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวัดภาวะพฤฒพลัง มีค่าความเชื่อมั่น .96 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมสัสดีบำนาญ จำนวน 400 คน ระยะที่ 2 การศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมเป็นฐานต่อภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุชมรมเจริญนคร 66 ที่มีคะแนนแบบวัดพฤฒพลังในระดับตํ่าและ ต่ำมาก จำนวน 24 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ Random assignment เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ จำนวน 12 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมเป็นฐาน สัปดาห์ละ 3 ครั้ง จำนวน 7 สัปดาห์ รวมเป็น 18 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที และกลุ่มควบคุม ไม่ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมเป็นฐาน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ Two ay repeated measures ANOVA และ นิวแมน-คูลส์ ผลการวิจัย พบว่า ในระยะที่ 1 องค์ประกอบของภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ด้านสุขภาพ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านหลักประกันและความมั่นคง โดยโมเดลการวัดภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุด้านสุขภาพ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2) = 57.25, df = 53, p = 0.32053, ค่าดัชนี CFI = 1.00, GFI = 0.99, RMSEA = 0.014 โมเดลการวัดภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุด้าน การมีส่วนร่วมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2) = 5.91, df = 5, p = 0.31539, ค่าดัชนี CFI = 1.00, GFI = 1.00, RMSEA = 0.021 โมเดลการวัดภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุด้านหลักประกัน และความมั่นคง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2) = 9.12, df = 7, p = 0.244444, ค่าดัชนี CFI = 1.00, GFI = 0.99, RMSEA = 0.028 และระยะที่ 2 การศึกษา ผลของการใช้การปรึกษากลุ่ม เชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีอัตถิภาวนิยมเป็นฐานต่อภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ พบว่า 1) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้สูงอายุ กลุ่มทดลองมีพฤฒพลังในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีพฤฒพลังในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล สูงกว่าระยะก่อนการทดลอง
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
dc.title การพัฒนาภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุด้วยการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการโดยใช้ทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมเป็นฐาน
dc.title.alternative The development ofsttes of ctive ging through the ssimiltive integrtive group counseling bsed on existentil theory
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This study was the development of states of active aging through the assimilative integrative group counseling based on existential theory. This study was divided into 2 phases. Phase 1 was developing the active aging test. Research tools was the active aging questionnaire which had a reliability of .96. The participants was elder people with 60 years old or older who were the members of Sassadeebumnan elderly club with the total of 400 members. Phase 2 studying of the results of states of active aging through the assimilative integrative group counseling based on existential theory. The participants were elder people with 60 years old or older who were the members of Chareannakorn 66 elderly club. They were selected by active aging questionnaire. The participants of this study gained the low score for this study with the total of 24 persons, they were assigned into an experimental group and control group 12 participants each. The instruments were active aging questionnaire and the integrative group counseling program based on existential theory. The experiment was conducted in three phases, namely the pre-trial, post-trial, and the follow-up. The experimental group received counseling based on the integrative group program using existential and gestalt theory three sessions a week for seven weeks, totaling 18 sessions. Each session lasted 60-90 minutes. On the other hand, participants in the control group did not. The statistics used for data analysis were Two way repeated measures ANOVA and Newman-Keuls. The results in phase 1 showed that the factors of the active aging consisted of health, participation and security. The model for measuring active aging in health was consistent with the empirical data (χ2 = 57.25, df = 53, p = 0.32053, CFI = 1.00, GFI = 0.99, RMSEA = 0.014). The model for measuring active aging in participation was consistent with the empirical data (χ2 = 5.91, df = 5, p = 0.31539, CFI = 1.00, GFI = 1.00, RMSEA = 0.021). The model for measuring active aging in security was consistent with the empirical data (χ2 = 5.91, df = 5, p = 0.31539, CFI = 1.00, GFI = 1.00, RMSEA = 0.021). Phase 2 studying the results of states of active aging through the assimilative integrative group counseling based on existential theory. The results showed that; 1) There was a significant interaction between the techniques and the durations of the experiment at the.05 level. 2) The experimental group received the active aging scored between the post-trial and the follow-up higher than the control group at the significant level of .05. 3) The experimental group received active aging scored between the post-trial and the follow-up higher than the pre-trial.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account