DSpace Repository

การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการวิเคราะห์อภิมานผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.advisor สุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.author รัฐพงศ์ สีแสด
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T09:02:41Z
dc.date.available 2023-06-06T09:02:41Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9213
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับ ผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน 2) เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัย ด้านการจัดการเรียนการสอนในห้อง ด้านแรงจูงใจในการอ่าน และด้านการรับรู้การอ่านส่งผ่านความยึดมั่นผูกพันในการอ่านไปยังทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน และตรวจสอบ ความตรงของโมเดล งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์เป็นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะ การอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2545-2561 จาก 21 มหาวิทยาลัย จำนวน 57 เล่ม โดยเป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ 7 เล่ม และงานวิจัยเชิงทดลอง 50 เล่ม ผลการวิจัยประกอบด้วยค่าดัชนีมาตรฐาน 225 ค่า การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นการวิเคราะห์อภิมาน การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผ่าน ความยึดมั่นผูกพันต่อการอ่านไปยังผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ด้วยโปรแกรม ลิสเรล ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. งานวิจัยที่นำมาศึกษา มีข้อมูลพื้นฐานคุณลักษณะที่เป็นตัวแปรในงานวิจัยที่นำมาศึกษามี 19 ตัวแปร ได้แก่ ช่วงปีที่พิมพ์เผยแพร่ผลวิจัย สถาบันที่ผลิตงานวิจัย หน่วยงานต้นสังกัดของผู้วิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย ประเภทงานวิจัย ประเภทของสมมติฐาน แบบแผนการวิจัย การออกแบบงานวิจัย แหล่งที่มาของกลุ่มตัวอย่าง ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ประเภทของตัวแปรต้น ประเภทเครื่องมือวัดตัวแปรต้น ประเภทการหาค่าความเที่ยงวัดตัวแปรต้น ประเภทเครื่องมือวัดตัวแปรตาม ประเภทการหาค่าความตรงวัดตัวแปรตาม ประเภทการหาค่าความเที่ยงวัดตัวแปรตาม และประเภทของการวิเคราะห์ข้อมูล 2. ค่าขนาดอิทธิพลของการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษมีค่าเฉลี่ยของดัชนีมาตรฐานมีค่าเท่ากับ .447 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ .282 ผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจากงานวิจัยทั้ง 57 เล่ม มีความแตกต่างกันตามลักษณะของงานวิจัยทุกตัว ยกเว้นแหล่งที่มาของกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรจำนวนสมมติฐาน ตัวแปรดัมมี่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตัวแปรดัมมี่วัตถุประสงค์การวิจัยที่มีหลายแบบ ตัวแปรดัมมี่การตั้งสมมติฐานแบบมีทิศทาง ตัวแปรดัมมี่งานวิจัยที่ออกแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดี่ยวสอบก่อน-หลัง ตัวแปรดัมมี่การสุ่มหลายขั้นตอน ตัวแปรดัมมี่การสุ่มแบบกลุ่ม ตัวแปรดัมมี่แรงจูงใจ และความเที่ยงของเครื่องมือวัดตัวแปรตาม คะแนนประเมินงานวิจัยสัมประสิทธิ์ การถดถอยทางบวกและมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนตัวแปรตัวแปรดัมมี่วัตถุประสงค์ การวิจัยเพื่อศึกษา ตัวแปรดัมมี่ประเภทการหาความเที่ยงของเครื่องมือวัดตัวแปรตาม และ ตัวแปรดัมมี่การออกแบบวิจัยสหสัมพันธ์ ที่มีสัมประสิทธิ์การถดถอยทางลบและมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 ตัวแปรทั้งหมดอธิบายความแปรปรวนของดัชนีมาตรฐานได้ร้อยละ 60.80 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าดัชนีมาตรฐานแบบพหุระดับผลการวิเคราะห์ พบว่า ค่าความแปรปรวนของดัชนีมาตรฐานผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ มีความแปรปรวนรวมเท่ากับ .184 เกิดจากความแปรปรวนระหว่างเล่มโดยมีองค์ประกอบความแปรปรวน เท่ากับ .177 ส่วนภายในเล่มมีองค์ประกอบความแปรปรวนเท่ากับ .007 3. ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน ในห้อง ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการอ่าน และปัจจัยด้านการรับรู้การอ่านส่งผ่านความยึดมั่นผูกพันในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก (X2 = 54.77, df = 47, p = .20, X2/ df = 1.165, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, NFI = 1.00, NNFI = 1.00, RMSEA = .007, SRMR = .019) โดยตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบาย ความแปรปรวนของผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษได้ร้อยละ 41 อิทธิพลรวมของ ตัวแปรในโมเดลส่งผ่านความยึดมั่นผูกพันในการอ่านไปยังทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน มีค่าเท่ากับ .64 การจัดการเรียนการสอนในห้อง เท่ากับ .62 แรงจูงใจในการอ่าน เท่ากับ .37 และการรับรู้การอ่านเท่ากับ .35 ทุกตัวมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subject การศึกษา -- วิจัย
dc.subject ภาษาอังกฤษ -- การอ่าน
dc.title การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการวิเคราะห์อภิมานผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน
dc.title.alternative A met synthetic reserch on prior reserch in english reding skill development
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed to; 1) study research characteristics on English reading skills development, 2) synthesize research studies related to the English reading skills development, and 3) study mediating effects in the structural equation model and validate the model. The sample was 57 research graduate of which 7 were correlational studies and 50 were experimental studies, published during 2002 to 2018 by 21 universities. The research results comprised totaling of 225 standard indices. The quantitative data analysis using meta-analysis, and the model was validated using LISREL. The results were as follows: 1. There were 19 variables in this research including year, institution, researcher dapartment, research objective, research type, research hypothesis, research design, sample resources, sample education level, sample selection, independent variable type, independent variable measuring type, independent variable reliability type, dependent variable measuring type, dependent variable validity type, dependent variable reliability type and data analysis type. 2. The mean of effect size on English reading skills development was .447, the standard deviation was .282. The 57 research graduate in English reading skills development results different from the overall research characteristics except sample resources. The multiple regression analysis showed that all dummy variables were significantly different. All variables could explain variance of standard indices at 60.8%. The results of multilevel analysis showed that overall variance of the standard indices was 0.184 which drawn from the variance among the reports at .177, and drawn from the variance within the reports at .007. 3. The results of the analysis of model fit of the structural equation model of variables that influenced the English reading skills fitted very well with the empirical data (X2 = 54.77, df = 47, p = .20, X2/ df = 1.165, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, NFI = 1.00, NNFI = 1.00, RMSEA = .007, SRMR = .019). The variables in the whole model could 41% account for the variance of English reading skills development. The model total effect from readind engagement transfered to English reading skills was .64, classroom instruction and teaching was .62, motivation in reading was .37 and cognition in reading was .35. All mediating effects were significantly at .01 level.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account