DSpace Repository

การพัฒนาชุดฝึกทักษะโดยใช้สื่อวีดิทัศน์กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเรื่อง การเป่าขลุ่ยเพียงออ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Show simple item record

dc.contributor.advisor นคร ละลอกน้ำ
dc.contributor.advisor ฐิติชัย รักบำรุง
dc.contributor.author ธนพงศ์ ศิริบุตรวงษ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T09:02:38Z
dc.date.available 2023-06-06T09:02:38Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9203
dc.description วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การเป่าขลุ่ยเพียงออ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/ E2 เท่ากับ 80/ 80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลจากการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะฯ และ 3) เพื่อประเมินทักษะการเป่าขลุ่ยหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม ปีการศึกษา 2562 จำนวนนักเรียน 30 คน ใน 1 ห้องเรียน ซึ่งใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดฝึกทักษะโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การเป่าขลุ่ยเพียงออ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน แบบประเมินทักษะการเป่าขลุ่ยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และแผนจัดการเรียนรู้วิชาดนตรี สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบประสิทธิภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1. ได้ชุดฝึกทักษะโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การเป่าขลุ่ยเพียงออ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 3 ชุด ที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ E1/ E2 = 80/ 80 กล่าวคือ ชุดฝึกทักษะที่ 1 มีประสิทธิภาพ = 80.12/ 81.15 ชุดฝึกทักษะที่ 2 มีประสิทธิภาพ = 80.41/ 80.00ชุดฝึกทักษะที่ 3 มีประสิทธิภาพ = 82.22/ 81.25 ชุดฝึกทักษะที่ 4 มีประสิทธิภาพ = 82.21/ 81.15 ชุดฝึกทักษะที่ 5 มีประสิทธิภาพ = 81.22/ 81.04 และชุดฝึกทักษะ ที่ 6 มีประสิทธิภาพ = 80.04/ 81.15 2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การเป่าขลุ่ยเพียงออ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.826 หรือ คิดเป็นร้อยละ 82.60 3. การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ชุดฝึกทักษะโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การเป่าขลุ่ยเพียงออ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออ อยู่ในระดับดี
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
dc.subject วีดิทัศน์เพื่อการศึกษา
dc.subject ขลุ่ยเพียงออ -- การสอนด้วยสื่อ
dc.title การพัฒนาชุดฝึกทักษะโดยใช้สื่อวีดิทัศน์กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเรื่อง การเป่าขลุ่ยเพียงออ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
dc.title.alternative The development of exercise pckges of video medi in rts lernning re on klue pheng-ow plying skill for prthomsuks 5 students
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were; 1) to develop exercise packages of video media in arts learnning area on Klue Phaeng-Aow playing skill for Prathomsuksa 5 students to meet the E1/ E2 criteria, 2) to determine the effectiveness index of the developed exercise packages of video media and, 3) to assess skills of playing Klue Phaeng-Aow after learning with the exercise packages of video media. The population consisted of 30 students of Prathomsuksa 5/ 4 at Tessaban Wat Kod Tim Ta Ram School, Rayong province which was obtained by cluster random sampling, using the classroom as a random unit. The research instruments were; the exercise packages of video media in arts learnning area on Klue Phaeng-Aow playing skill, learning achievement test, skill assessment of Klue Phaeng-Aow playing, and lesson plan on the subject. The statistics used for the data analysis were percentage, mean, and E1/ E2. The results were that; 1. The exercise packages of video media in arts learnning area on Klue Phaeng-Aow playing skill for Prathomsuksa 5 students were developed, all of them met the E1/ E2 efficiency criteria that; exercise packages 1 was at 80.12/ 81.15, exercise packages 2 was at 80.41/ 80.00, exercise packages 3 was at 82.22/ 81.25, exercise packages 4 was at 82.21/ 81.15, exercise packages 5 was at 81.22/ 81.04, and exercise packages 6 was at 80.04/ 81.15 2. The effectiveness index of the developed package was at 0.826. 3. The students who learned with the exercise packages possessed Klue Phaeng-Aow playing skill at the high level.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เทคโนโลยีการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account