dc.contributor.advisor |
จุฑามาศ แหนจอน |
|
dc.contributor.advisor |
ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์ |
|
dc.contributor.author |
เกรียงไกร วิลามาศ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-06-06T09:02:34Z |
|
dc.date.available |
2023-06-06T09:02:34Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9192 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างหน้าที่บริหารจัดการของสมองโดยโปรแกรมภาษา ประสาทสัมผัสสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เสพติดอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนมาบตาพุด พันพิทยาคาร จังหวัดระยอง ที่มีคะแนนการเสพติดอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ 51 คะแนนขึ้นไป จำนวน 60 คน สุ่มเข้ากลุ่มตัวอย่าง โดยการจับคู่คะแนนหน้าที่บริหารจัดการของสมองจากแบบทดสอบวิสคอนซินการ์ดซอร์ติ้ง 64 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวิสคอนซินการ์ดซอร์ติ้ง 64 2) มาตรวัดหน้าที่บริหารจัดการของสมองด้วยการสำรวจพฤติกรรม-แบบรายงานตนเอง ฉบับภาษาไทย 3) แบบทดสอบการเสพติดอินเทอร์เน็ต และ 4) โปรแกรมเสริมสร้างหน้าที่บริหารจัดการของสมองโดยโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 6 ครั้งครั้งละ 50 นาที เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนการทดลองหลังการทดลองและระยะติดตามผลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม เมื่อพบความแตกต่าง ทำการทดสอบด้วยวิธีทดสอบรายคู่แบบบอนเฟอรโรนี ผลการวิจัยพบว่า 1) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลองมีหน้าที่บริหารจัดการของสมองสูงกว่ากลุ่มควบคุมทั้งหลังการทดลองและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05และ 3) กลุ่มทดลองมีหน้าที่บริหารจัดการของสมองหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมเสริมสร้างหน้าที่บริหารจัดการของสมอง โดยโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสมีประสิทธิภาพในการเพิ่มหน้าที่บริหารจัดการของสมอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เสพติดอินเทอร์เน็ต |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสมอง จิตใจ และการเรียนรู้ |
|
dc.subject |
สมอง -- การทดสอบ |
|
dc.title |
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างหน้าที่บริหารจัดการของสมองโดยโปรแกรมภาษา ประสาทสัมผัสสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เสพติดอินเทอร์เน็ต |
|
dc.title.alternative |
Development of progrm for promoting executive functions of the brin by neuro-linguistic progrmming for secondry school students with internet ddiction |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aimed to develop and to test the effectiveness of the enhancement of executive functions of the brain by neuro-linguistic program (NLPEFs) for secondary school students with internet addiction. The sample consisted of 60 grade 9 secondary students at MabtaputpanpittayakarnSchool, Rayong province. They had a score of internet addiction at ≥ 51 points. They were randomly assigned into two groups: an experimental and a control group which consisted of 30 persons in each group by matching the executive functions score from Wisconsin card sorting (WCST-64). The research instruments were; 1) The WCST-64, 2) Behavior Rating Inventory of Executive Function-Self-Report (BRIEF-SR) Thai-version, 3) Internet Addiction Test, 4) The NLPEFs which was developed by the researcher. The experiment lasted for 6 sessions, each session lasted for 50 minutes, for a total of two weeks. The assessments were done in 3 phases: pretest, posttest, and follow-up phases. The data was analyzed by a repeated-measures analysis of variance and paired-different test by Bonferroni method. The results were that; 1) the interaction between the experimental methodology and the duration of the experiment was found statistically significant at .05 level. 2) The experimental group had executive functions higher than those in the control group in the posttest and follow-up with statistically significant at .05 level. 3) The experimental group had executive functions in the posttest and follow-up higher than the pretest with statistically significant at .05 level. It was concluded that the NLPEFs with NLP is effective in enhancing executive functions among secondary school students with internet addiction. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
สมอง จิตใจ และการเรียนรู้ |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|