dc.contributor.author | พิชัย สนแจ้ง | th |
dc.contributor.author | แววตา ทองระอา | th |
dc.contributor.author | ฉลวย มุสิกะ | th |
dc.contributor.author | ธิดารัตน์ น้อยรักษา | th |
dc.contributor.author | ขวัญเรือน ศรีนุ้ย | th |
dc.contributor.author | วันชัย วงสุดาวรรณ | th |
dc.contributor.author | สุเมตต์ ปุจฉาการ | th |
dc.contributor.author | อาวุธ หมั่นหาผล | th |
dc.contributor.author | อัจฉรี ฟูปิง | th |
dc.contributor.author | สุพัตรา ตะเหล็บ | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:54:51Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:54:51Z | |
dc.date.issued | 2549 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/918 | |
dc.description.abstract | การเฝ้าระวังและติดตามการเกิดปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬในบริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรีตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกง ถึงเกาะสีชัง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีรายงานการเกิดปรากฎการณ์ดังกล่าวบ่อยครั้ง ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำและคุณภาพดินตะกอนบางประการ ศึกษาองค์ประกอบชนิด ความชุกชุมและการกระจายของแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ เน้นในกลุ่มที่ก่อให้เกิดปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ และความสัมพันธ์กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประการ รวมทั้งแนวทางป้องกันการเกิดปรากฎการณ์ดังกล่าว ทำการศึกษาในระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2548 (23 ครั้ง) และเดือนมกราคม-ตุลาคม 2549 (4 ครั้ง) รวมสำรวจทั้งหมด 27 ครั้ง จำนวน 13 สถานี ผลการศึกษา พบว่าคุณภาพน้ำมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำชายฝั่งทะเลของไทย ยกเว้นออกซิเจนละลาย อุณหภูมิ และแอมโมเนียบางสถานีที่มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานในช่วงที่เกิดปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ สารอาหารไนเตรต ฟอสเฟต และซิลิเกตในน้ำรวมทั้งสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำ พบสูงในบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง-อ่าวชลบุรี และลดต่ำลงในสถานีไกลจากปากแม่น้ำลงไปจนถึงเกาะสรชัง ส่วนสารอาหารในดินตะกอนนั้นพบสูงในบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงเช่นเดียวกัน การสำรวจแพลงก์ตอนพืชนั้น พบว่า กลุ่มไดอะตอมมีการกระจายทุกสถานีและมีความหนาแน่นสูงสุดทุกครั้งที่สำรวจประมาณร้อยละ 90 ของแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด การสำรวจการเกิดปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ พบว่าเกิดบ่อยครั้งในระดับความรุนแรงต่าง ๆ กัน ในปี 2548 เกิดขึ้นเกือบตลอดทั้งปี ทำให้ปลาและสัตว์น้ำตาย 3 ครั้ง และในเดือนสิงหาคม เกิดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานตลอดทั้งเดือน ในปี 2549 ส่วนใหญ่เกิดในระดับที่ไม่รุนแรง แต่พบ 1 ครั้งที่ทำให้ปลาและสัตว์น้ำตายจำนวนมาก ปรากฎการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงต้น ฤดูร้อน ต้นฤดูฝน และฤดูฝน แพลงก์ตอนพืชที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดปรากฎการณ์ดังกล่าว ได้แก่ แพลงก์กลุ่มพืชกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต Noctiluca scinnitllans เป็นส่วนใหญ่ ในบางครั้งพบเป็นสาเหตุเกิดร่วมกับ Ceratium spp. รวมทั้งแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดอะตอม Skeletonema costatum และ Chaetoceros spp. ปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ อันมีสาเหตุจาก Noctiluca (>100 เซลล์/ลิตร) และ Ceratium (>50,000 เซลล์/ลิตร) พบที่ความเค็มระหว่าง 21-35 และ 25-35 ส่วนในพันส่วน ตามลำดับ โดยเฉพาะที่ Noctiluca หนาแน่นสูงสุดนั้น (19,312 เซลล์/ลิตร) พบที่ความเค็ม 30 ส่วนในพันส่วน สำหรับ Skeletonema และ Chaetoceros (>100,000 เซลล์/ลิตร) พบที่ความเค็มระหว่าง 1-31 และ 10-35 ส่วนในพันส่วน ตามลำดับ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชที่เป็นสาเหตุของการเกิดปรากฎการณ์กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมและการเปรียบเทียบสารอาหารในน้ำที่พบในช่วงที่เกิดปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬร่วมกับระดับความเค็มที่เหมาะสมดังกล่าวข้างต้น โดยแหล่งของฟอสเฟตและสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำ มาจากกิจกรรมต่าง ๆ บริเวณปากแม่น้ำบางปะกงและสถานีใกล้เคียงที่อยู่ถัดลงมา เนื่องจากพบปริมาณสูงในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งฟอสเฟตบางส่วนอาจมาจากกระบวนการธรรมชาติจากการปลดปล่อยของฟอสเฟตในดินตะกอนที่อยู่ในรูปของสารประกอบของเหล็กและอลูมินัม ซึ่งพบมากในบริเวณปากแม่น้ำบาง ปะกงอีกด้วย นอกจากนี้การศึกษาความสัมพันธ์กับแพลงก์ตอนสัตว์ พบว่า Noctiluca มีความสัมพันธ์ในทางเดียวกันกับไข่ปลา และโปรโตซัว Favella spp. แต่ไม่พบความสัมพันธ์ใด ๆ กับลูกปลา และโคพีพอด ปลากฎการณ์ขี้ปลาวาฬเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่มีความซับซ้อนต้องอาศัยความร่วมมือของหลายฝ่ายในการจัดการแก้ไข เนื่องจากสารอาหารและของเสียต่าง ๆ ที่ถูกพัดพาจากบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำสายอื่น ๆในบริเวณอ่าวไทยตอนบนมาจากหลายแหล่ง ดังนั้นการจัดการการแก้ไขและป้องกันการเกิด จึงไม่ใช่เป็นปัยหาในระดับท้องถิ่นหรือจังหวัดเพียงอย่างเดียว แต่เป็นปัญหาในระดับชาติที่ต้องอาศัยการประสานงานกันขององค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ชาวประมงหรือผู้ประกอบการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น มาร่วมมือกันในการจัดการ วางนโยบาย รวมทั้งการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ และที่สำคัญยังต้องมีการติดตามและตรวจเฝ้าระวังการเกิดปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬอยู่เสมอทั้งในช่วงที่เกิดปรากฎการณ์และในภาวะปกติ ซึ่งการตรวจติดตามดังกล่าว ควรมีการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบชนิด และความหนาแน่นของแพลงก์ตอนแต่ละชนิดโดยเฉพาะกลุ่มที่สามารถสร้างสารชีวพิษ รวมทั้งปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในบริเวณที่ทำการศึกษา และกิจกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรบนฝั่งประกอบด้วย | th_TH |
dc.description.sponsorship | ได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากองค์การบริการส่วนจังหวัดชลบุรี ประจำปีงบประมาณ 2548. | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ขี้ปลาวาฬ | th_TH |
dc.subject | น้ำทะเลเปลี่ยนสี | th_TH |
dc.subject | มลพิษทางทะเล - - ชลบุรี | th_TH |
dc.subject | แพลงค์ตอนพืช | th_TH |
dc.subject | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา | th_TH |
dc.title | โครงการเฝ้าระวังและการวางแนวทางป้องกันการเกิดปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬในบริเวณชายฝั่งทะเล จังหวัดชลบุรี | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2549 | |
dc.description.abstractalternative | Monitoring of the red tide which frequently occurred in the coastal waters of Chon Buri Province from Bangpakong Estuary to Si Chang Island was studied during January-December 2005 (23 field trips) and January-October 2006 (4 filed trips). A total of 27 field trips was conducted from 13 stations. The objectives of this study were to obserbe the seasonal variation of water and sediment qualities, species composition, abundance and distribution of phytoplankton and zooplankton emphasizing on red tide plankton. These also included a relationship between the red tide plankton and some environmental factors as well as management for environmental protection. The results showed that water qualities were in the range of Thai coastal water quality standard, except dissolved oxygen, temperature and ammonia in some station exceeded the standard during the red tide. The amounts of nitrate, phosphate and silicate including dissolved organic matters were in a high range from Bangpakong Estuary to Ao Udom. These nutrients were gradually decreased in stations far away from the Estuary. Sediment nutrients were also found at high amounts in Bangpakong Estuary. According to phytoplankton observations, diatoms were the most abandant species distributed in every station, comprising approximately 90% of total phytoplankton. Occurrences of red tide in the study area were observed in different impact levels during the year 2005-2006. In 2005, red tide occurrd almost throughout the year and three massive blooms were found causing loss of fishes and other marine organisms. Particularly, the bloom of red tide persisted over August. In 2006, most of the red tide occurrences were found in a minor impact level except the only one that caused loss of many fishes and other marine organisms. The red tide was normally found in the beginning of summer and rainy seasons and also during the rainy season. The causative red tide plankton were mainly a dinoflagellate Noctiluca scintillans and occasionally a combination of N. scintillans and Ceratium spp. as well as diatoms Skeletonema costatum and Chaetoceros spp. The blooms of Noctiluca (>100 cells/litre) and Ceratium (>50,000 cells/litre) were often observed in the salinity of seawater range of 21-35 and 25-35 ppt., respectively. Particularly, the highest bloom of Noctiluca (19,312 cells/litre) was observed in the salinity of 30 ppt. And the blooms cauused by Skeletonema and chaetoceros (>100,000 cells/litre) were observed in the salinity range of 1-31 and 10-35 ppt., respectively. A relationship between the causative red tide plankton and some environmental factors as well as a comparison of nutrients during the red tide occurrence and a normal condition showed that phosphate and dissolved organic matters were among major factors contributing to the blooms with appropriate salinity level. Sources of phosphate and dissolved organic matters were derived mainly from human activities occurring around Bangpakong Estuary and nearby stations. Some amounts of phosphate were also originated from natural processes by releasing from the sediments. Sediment phosphorus, especially in the form of Fe and Al bound P compound could be easily released from sediments by changes of enviromental conditions and the gigh amounts were found in Bangpakong Estuary. Moreover, Noctiluca red tide was associated with fish eggs and protozoa Favella spp., but it was not corresponded with larvae and copepods. The red tide is a complex phenomenon in which participation of many organizations in needed in order to solve the situation. Such management and protection should not solely do as a local issue, but national level. Because nutrients and wastes found in Bangpakong Estuary and others along the upper Gulf of Thailand are derived from various sources. We need participation between governmental and non-governmental organizations e.g. fisgermen or aquaculture manufacturers. Cooperation in policy planning and taking legal actions is needed. Moreover, red tide monitoring during its occurrence and normal situation is important. This should include the observations on the fluctuation and abundance of phytoplankton as well as species composition especially biotoxic microorganisms. Environmental factors in the study area and human activities on uses of natural resources must be observed as well. | en |
Files | Size | Format | View |
---|---|---|---|
There are no files associated with this item. |