dc.contributor.advisor | สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ | |
dc.contributor.advisor | วรวุฒิ เพ็งพันธ์ | |
dc.contributor.author | จุฑาวดี กมลพรมงคล | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-06-06T09:02:27Z | |
dc.date.available | 2023-06-06T09:02:27Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9180 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตวัยรุ่นหญิงที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ทางเพศ การปรับตัวที่เกิดขึ้นจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิง และแนวทาง การสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศสำหรับวัยรุ่นหญิงที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2562 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอด้วยการพรรณนาความ ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการดำเนินชีวิตวัยรุ่นหญิงก่อนมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ คือ การมีคนรัก การติดต่อกันทางเฟซบุ๊ก และการอยู่ด้วยกันสองต่อสองกับคนรัก ทำให้เกิดความใกล้ชิด ไว้วางใจ อยากรู้อยากลอง และไม่กล้าปฏิเสธ นำไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและตั้งครรภ์ ซึ่งการตั้งครรภ์ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมแก่วัยรุ่นหญิง เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ วัยรุ่นหญิงแก้ไขปัญหาโดยการบอกให้พ่อแม่ตนเองและฝ่ายชายทราบ ต่อจากนั้นจึงมีการขอขมาและพาวัยรุ่นหญิงไปฝากครรภ์ 2. การปรับตัวที่เกิดขึ้นจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิง หลังจากตั้งครรภ์วัยรุ่นหญิงสามารถปรับตัวได้ดีทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อัตมโนทัศน์ บทบาทหน้าที่ และ การพึ่งพาระหว่างกัน เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือและการให้อภัยจากพ่อแม่และการดูแลเอาใจใส่จากฝ่ายชาย ทำให้วัยรุ่นหญิงมีกำลังใจ เลิกโทษตัวเอง หันมาดูแลตัวเองและวางแผนการดำเนินชีวิตในอนาคต 3. แนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศสำหรับวัยรุ่นหญิงที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ประกอบด้วย 2 ประเด็น คือ 1) แนวทางในการให้ความช่วยเหลือวัยรุ่นหญิงที่มีพฤติกรรมเสี่ยง พบว่า แนวทางในการให้ความช่วยเหลือจากการทำกลุ่มตรงกับความต้องการของวัยรุ่นหญิงที่เป็นผู้ให้ข้อมูล คือ กำลังใจ/ การให้อภัย อาชีพ/ รายได้ และโอกาสในการศึกษา และ 2) แนวทาง ในการป้องกันการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิง ได้แก่ ทักษะการปฏิเสธ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากที่ครอบครัว และครู ช่วยกันสื่อสารเรื่องเพศอย่างสร้างสรรค์ตั้งแต่เด็ก | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | วัยรุ่นหญิง -- พฤติกรรมทางเพศ | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม | |
dc.title | การสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศสำหรับวัยรุ่นหญิงที่มีพฤติกรรมเสี่ยง | |
dc.title.alternative | Sexul wellbeing promotion for risk femle dolescent | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to study the life style of female adolescents who have sexual risk behavior self-adaptation resulting from risky sex behavior of female adolescents, and the guidelines for enhancing sexual health for the female adolescents with risk behavior. The data collection was from April to July, 2019. The methods of data collection included in-depth interview and focus group discussion. Data were analyzed by the content analysis technique. The result were as follows: 1. The most risking life style of female adolescents to sexual wellbeing were having boyfriend, facebook surfing, and living together with boyfriend. These life styles leaded to closeness, trust, curiosity, and inability to refuse for having sex and even lead to get an unexpected pregnancy. The pregnancy creates radical changes in body, mind and social problem. Knowing that they were pregnant, mostly, the persons would inform their parents and male parents to ask for forgiveness before having antenatal care. 2. After being exposed to the risk to sexual wellbeing, after preqnancy the female adolescents could adjust themselves in four aspects; body, self-concept, role and duty, and interdependency. Receiving helps and forgiveness from parents as well as care from her husband, the female adolescents would forgive herself, feel encourage to look after herself, eventually plan for her future. 3. There are two ways to promote the sexual well-being for female adolescent. First, concerning the guideline for helping female adolescent after having the risk behavior is to give moral support/ forgiveness/ employment/ income and education. Second, the guideline for prevention of sexual risk behavior of female adolescents is knowing how to refuse which can be learned in family and school to collaborate and communicate through their childhood. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | การศึกษาและการพัฒนาสังคม | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |