dc.contributor.advisor |
ภัคณัฏฐ์ สมพงษ์ธรรม |
|
dc.contributor.advisor |
พงศ์เทพ จิระโร |
|
dc.contributor.author |
อริศรา แก้วสุข |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-06-06T09:02:21Z |
|
dc.date.available |
2023-06-06T09:02:21Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9165 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อพัฒนาแบบวัดระดับจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 3) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เพื่อตรวจสอบความตรงตามโครงสร้างของแบบวัดระดับจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 4) เพื่อประเมินจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 5) เพื่อเปรียบเทียบจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิตที่มีเพศ ชั้นปี และกลุ่มสาขาวิชาต่างกัน และ 6) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของจิตวิญญาณความเป็นครูกับเกรดเฉลี่ยรวม และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-4 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2562 จำนวน 520 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคำนวณสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การหาความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยภาพรวมมี การปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ คือ ด้านการพัฒนาตนเองด้านความรู้อย่างต่อเนื่อง ด้านความเชี่ยวชาญในการสอน และด้านการปฏิบัติตามหน้าที่ครูตามลำดับ 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันองค์ประกอบจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบ ความสอดคล้องระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้แก่ ค่าไค-สแคว์ มีค่าเท่ากับ 976.67 องศาอิสระ เท่ากับ 489 ค่าไค-สแคว์สัมพัทธ์มีค่า 1.99 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 2 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.94 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 0.92 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.95 ซึ่งมากกว่า 0.90 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ 0.043 และค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนที่เหลือของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.048 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 โดยเมื่อพิจารณาน้ำหนักองค์ประกอบพบว่ามีค่าอยู่ระหว่าง 0.74-0.89 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และแต่ละองค์ประกอบมีสัมประสิทธิ์การอธิบายอยู่ระหว่าง 0.58-0.80 |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
นักศึกษาครู |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา |
|
dc.subject |
จิตสำนึก |
|
dc.title |
การวิเคราะห์องค์ประกอบจิตวิญญาณความเป็นครูของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.title.alternative |
A fctor nlysis of student techer’s spirit of fculty of eduction in burph university |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research were 1) Synthesize the teacher spirit component of students from the Faculty of Education Burapha University. 2) Develop the teacher spirit level test of students of the Faculty of Education Burapha University. 3) Confirmatory element analysis to check the structural integrity of the student spirit level test Faculty of Education Burapha University. 4) Assess the teacher's spirit of students Faculty of Education Burapha University. 5) Comparison of the teacher spirit of students of different sexes, years, and disciplines. 6) Study the relationship between teacher spirit and total GPA and motivation for achievement in learning. The sample group was the graduate education students in grade 1-4 from faculty of Education, Burapha University in the academic year 2562 number of 520 people, derived by Multi-stage sampling. The research instruments were questionnaire constructed by researcher. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation, t-test, One-Way ANOVA, Pearson Product Moment Correlation and Confirmatory Factor Analysis. The findings of this research were as follows: 1. Spiritual level of being a teacher of students of the Faculty of Education Burapha University. Overall performance is in a very good level. The considering the descending order from the highest to lowest order is self-development of continuous knowledge, teaching expertise and teacher duty performance. 2. The results of the confirmatory factor analysis of the teacher spirituality of students in the Faculty of Education Burapha University Consistent with the empirical data. Considering the statistics used to check the consistency between the model and the empirical data, namely, the chi-square value is 976.67 degrees of freedom, 489 degrees of relative chi-square value is 1.99, which is less than 2 index values. GFI was 0.94. AGFI was 0.92. CFI was 0.95, which is greater than 0.90. SRMR was 0.043 and RMSEA was 0.048 which is less than 0.05. When considering the composition weight, it was found to be between 0.74- 0.89 and with statistical significance at the level of .05 and each element has a coefficient of explanation between 0.58-0.80 |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|