dc.description.abstract |
การศึกษาผลกระทบจากการเพาะเลี้ยงปลาในกระชังต่อคุณภาพน้ำของแม่น้ำบางปะกง โดยทำการศึกษาคุณน้ำในบริเวณที่มีการเพาะเลี้ยงปลาในกระชังที่ระยะทาง 2.5, 5 และ 8 กิโลเมตร จากปากแม่น้ำ และบริเวณสถานีอ้างอิงซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่มีการเลี้ยงปลาในกระชัง ได้แก่ ที่ระยะ 9 กิโลเมตร ถือเป็นสถานีอ้างอิงบริเวณต้นน้ำ และ ระยะ 0 กิโลเมตร จากปากแม่น้ำถือเป็นสถานีอ้างอิงบริเวณท้ายน้ำ โดยเก็บตัวอย่างน้ำในฤดูแล้ง (เมษายนและพฤษภาคม 2543) และฤดูฝน (มิถุนายนและกรกฎาคม 2543) ซึ่งเป็นช่วงเวลาน้ำลง ทำการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ ความขุ่น ความโปร่งใส ความเร็วของกระแสน้ำ การนำไฟฟ้า ความเค็ม ทางเคมีได้แก่ พีเอช ออกซิเจนละลายน้ำ บีโอดี แอมโมเนีย-ไนโตรเจน ไนไตร์-ไนโตรเจน ไนเตรท-ไนโตรเจน ออธิฟอสฟอรัส และทางชีววิทยา ได้แก่ คลอโรฟิลล์ เอ แบคทีเรียเรียกกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดและแบคทีเรียเรียกกลุ่มฟีคัลโคลิฟอร์ม
ผลการศึกษาพบว่า บริเวณที่มีการเลี้ยงปลาในกระชังในฤดูแล้งจะมีค่าบีโอดีแอมโมเนีย-ไนโตรเจน ไนไตรท์-ไนโตรเจน ไนเตรท-ไนโตรเจน ออโธฟอสฟอรัส คลอโรฟิลล์ เอ สูงกว่าสถานีอ้างอิง( 9 กิโลเมตร) ส่วนในฤดูฝน พบว่าบริเวณที่มีการเลี้ยงปลาในกระชังมีค่า บีโอดี และแอมโมเนีย-ไนโตรเจน มีทิศทางไปในทางเดียวกัน ขณะที่คลอโรฟิลล์ เอ มีทิศทางเดียวกับออโธฟอสฟอรัส เมื่อพิจารณาอัตราส่วนระหว่างไนโตรเจนต่อฟอสฟอรัสพบว่า ไนโตรเจนเป็นปัจจัยจำกัดทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน นอกจากนี้ยังพบว่าคุณน้ำที่บริเวณด้านเหนือ ด้านข้างและด้านใต้ของกระชังปลา ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีความสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) คุณภาพน้ำที่ระยะห่าง 2, 5และ 10 เมตร จากกระชังปลา ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) อย่างไรก็ตามคุณภาพน้ำบริเวณที่มีการเลี้ยงปลาในกระชังยังอยู่ในมาตรฐานคุณน้ำของแหล่งผิวน้ำ ประเภทที่4 ยกเว้น แอมโมเนีย-ไนโตรเจน ซึ่งจากการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงปลากระชังต่อคุณภาพน้ำ ได้แก่ ไนโตรเจน
The purpose of this study was to identify effects of cage and pen fish farming on water quality of the Bangpakong River. Water samples were cllected at 0, 2.5, 5, 8 and 9 kms from the river mouth in the dry season (April and May 200) and wer season (June and July 2000) during the low tide period. The upstream and downstream referent points were selected at the 9 and 0 kms respectively. All samples were analyzed in order to idetify the physical, chemical and biological characteristics of the river. The physical parameters included temperature, turbidity, transparency, current velocity, conductivity and salinity, while the chemical parameters included pH, dissolved oxygen, BOD, ammonia-nitrogen, nitrite-nitrogen and orthophosphorus. Additionally, the biological parameters such as chlorophyll a, total coliform bacteria and fecal coliform bectiria were determined. The results of the study showed that, in the dry season BOD, ammonia-nitrogen, nitrite-nitrogen, nitrate-nitrogen, orthophosphours and chlorophyll a at the cage and pen fish farming stations had higher concentraion than those of the upstream referent station, where as in the wet season BOD, ammonia-nitrogen and orthophosphorus had higher concentration than that of the upstream point. Furthermore, not only were the trends of BOD, and the number of ammonia-nitrogen changed in the same trend. The ratio of nitrogen and orthrosphorun showed that the nitrogen was a limiting factor in both wet season and dry season. Additionally, the water quality surrounded the cage and pen fish farming was not significantly different (p >0.05). Also water quality at 2, 5 and 10 metres from the cage and pen fish farming was not singificantly different. However the water quality at the cage and pen fish farming area had still met the Thai surface water quality standard except the ammonia-nitrogen parameter. As tesults a study ti is concluded that only intrrgen, resulting has the cage and pen fish farming effects negatively to the water quality in Bangpakong River. |
th_TH |