DSpace Repository

การพัฒนาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและราชการส่วนท้องถิ่น

Show simple item record

dc.contributor.advisor กุหลาบ รัตนสัจธรรม
dc.contributor.advisor วันดี นิลสำราญจิต
dc.contributor.advisor รจฤดี โชติกาวินทร
dc.contributor.author จรินทร์ทิพย์ ชมชายผล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:25:37Z
dc.date.available 2023-06-06T04:25:37Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8828
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ส.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นเปรียบเทียบการดำเนินงานการจัดการมูลฝอยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กับกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 หาแนวทางปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและเพื่อเสอนแนวทางในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ สำหรับราชการส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 127 แห่ง และราชการส่วนท้องถิ่น จำนวน 73 แห่ง ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลหลักเพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสำหรับราชการส่วนท้องถิ่น จำนวน 17 คน และแนวทางปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 18 คน และผู้เชี่ยวชาญในการประเมินด้วยเทคนิคเดลฟาย จำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่ผ่านความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยควอไทล์ ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีการคัดแยกและรวบรวมมูลฝอยติดเชื้ออยู่ในระดับถูกต้องมาก มากที่สุด ร้อยละ 70.9 มีการเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้ออยู่ในระดับถูกต้องปานกลาง มากที่สุด ร้อยละ 58.3 มีการขนส่งมูลฝอยติดเชื้ออยู่ในระดับถูกต้องปานกลาง มากที่สุด ร้อยละ 62.2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามารถปฏิบัติได้สอดคล้องกับกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การคัดแยกและเก็บรวบรวมในหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 การเก็บมูลฝอยติดเชื้อปฏิบัติได้ ร้อยละ 73.8 การเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อในหมวด 2 การเก็บมูลฝอยติดเชื้อปฏิบัติได้เฉลี่ย ร้อยละ 74.7 และการขนส่งมูลฝอยติดเชื้อในหมวด 3 การขนมูลฝอยติดเชื้อปฏิบัติได้เฉลี่ย ร้อยละ 36.0 และราชการส่วนท้องถิ่น ไม่มีการดำเนินการขนส่งและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ร้อยละ 100.0 โดยส่วนใหญ่มอบหมายให้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐดำเนินการขนส่งและกำจัดแทน ร้อยละ 95.8 และ 97.2 ตามลำดับ ไม่มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการขนส่งและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ 100.0 และมีการควบคุมกำกับติดตามการขนส่งและกำจัด ร้อยละ 6.8 และร้อยละ 4.1 ตามลำดับ แนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสำหรับราชการส่วนท้องถิ่นทำได้โดยสนับสนุนให้ราชการส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่และมีศักยภาพจัดทำศูนย์กำจัดมูลฝอยติดเชื้อแบบครบวงจร ส่วนราชการส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กอาจทำการมอบหมายให้ส่วนราชการอื่นดำเนินการแทน แต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของท้องถิ่น และแนวทางปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบไปด้วย 6 แนวทาง คือ 1) การบริหารงาน 2) ผู้ปฏิบัติงาน 3) การคัดแยกและเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ 4) การเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อ 5) การขนส่งมูลฝอยติดเชื้อ 6) การประเมินผลการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
dc.language.iso th
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
dc.subject ขยะทางการแพทย์
dc.subject ขยะติดเชื้อ
dc.title การพัฒนาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและราชการส่วนท้องถิ่น
dc.title.alternative The development of the infectious wste mngement for tmbon helth promoting hospitl nd locl governments sector
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The research was a mixed method research aimed to investigate the situation in managing infectious waste of Tambol health promoting hospitals and local governments sector, to compare the management of waste of the Tambol health promoting hospitals with the ministerial regulations 2545 B.E. (2002) on infectious waste disposal, to find the way in infectious waste management for the Tambol health promoting hospitals, and to propose a guideline in managing infectious waste for the local government. The sampling in this study was 127 Tambol health promoting hospitals and 73 local governmental organizations. The samples included 127 Tambol health promoting hospitals and 73 local organizations were selected by multi-stage random sampling. The key informants for the guideline development in infectious waste management were 17 people, 18 key informants for the guidelines in managing infectious waste for the Tambon health promoting hospitals, and 20 experts in Delphi technique. Data were collected by using interviews and questionnaires approved by experts. Quantitative data analysis was by frequency, percentage, mean, median, quartile range whereas qualitative data with content analysis. The research findings revealed that in Tambol health promoting hospitals there is a high level of separation and collection of infectious waste, which was 70.9%. The average level of disposable waste was 58.3% and transportation of infectious waste was at the moderate level that is 62.2%. The disposal of infectious wastes in the Tambol health promoting hospitals was in line with the ministerial regulations 2545 B.E. (2002) on the disposal of infectious waste. Regulations on separation and collection of infectious waste were followed as specified in Section 1, General and Section 2 73.8% of solid waste was disposed of. In Section 2 for removal of infectious waste, the collection of infectious waste was 74.7% and the transport of infectious waste in category 3 was 36.0 percent. Local government itself does not transport and dispose of infectious waste that is 100.0 percent, because most of the local government assigns the public health service to handle the transportation and disposal of waste that is 95.8% and 97.2%, respectively. Local government does not have officer responsible for transport and disposal of infected solid waste transport and dispose of infectious waste that is 100.0 percent. Local government have control, monitoring, transportation, and disposal of infectious waste, that is 6.8 percent and 4.1 percent, respectively. The guideline can be done by encouraging a large and potential local government set up an incorporated wasted disposal center. The small local government may assign other government agencies to handle the work. However, the responsible agent must be under local supervision. The guideline for managing infectious waste for Tambol health promotion hospitals consists of 6 ways: 1) administration, 2) operation, 3) the separation and collection of infectious waste, 4) the removal of infectious waste, 5) the transport of infected waste and 6) evaluation of infectious waste management for Tambol health promotion hospitals.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline สาธารณสุขศาสตร์
dc.degree.name สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account