DSpace Repository

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะคุกคามสุขภาพกับภาวะอ้วนของผู้สูงอายุ อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น

Show simple item record

dc.contributor.advisor วสุธร ตันวัฒนกุล
dc.contributor.author มณีรัตน์ นาสำแดง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:25:35Z
dc.date.available 2023-06-06T04:25:35Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8823
dc.description งานนิพนธ์ (ส.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การมีน้ำหนักเกินหรืออ้วนจะมีปัญหาต่อร่างกายในทุกอวัยวะและทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งประชาชนจะมีน้ำหนักเกินแตกต่างกัน ส่วนมากเป็นเพราะมีพฤติกรรมแตกต่างกัน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ นอกจากมีสภาพร่างกายที่ใช้งานมานานแล้ว สภาพการดำเนินชีวิตประจำวันก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงต้องค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะคุกคามสุขภาพกับภาวะอ้วนของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 267 คน ของอำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้มาด้วยหลายวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น ข้อมูลเก็บด้วยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการวิเคราะห์ด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ด้วยไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนมากเป็นเพศหญิง (64%) อายุเฉลี่ย 70.69+-6.34 ปี จบการศึกษาสูงสุดประถมศึกษา (91.8%) ยังมีอาชีพ (55.8%) น้ำหนักเฉลี่ย 55.91+-8.56 กิโลกรัม ส่วนสูงเฉลี่ย 154.96+-7.10 เซนติเมตร รอบเอวเฉลี่ย 84.24+-10.29 เซนติเมตร รอบสะโพกเฉลี่ย 93.66+-8.69 เซนติเมตร การรับรู้ภาวะคุกคามสุขภาพ การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยงการสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุอยุ่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 42.3, 40.8, 41.6, 43.8 ตามลำดับ จากเกณฑ์ตัดสินดัชนีมวลกายพบว่า มีผู้ทีอ้วน ร้อยละ 58.1 เส้นรอบเอวพบว่า มีผู้ที่อ้วน ร้อยละ 50.2 และดัชนีมวลกายร่วมกับเส้นรอบเอว พบว่า มีผู้ที่อ้วน ร้อยละ 40.8 ตามลำดับ เพศมีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วน โดยผู้สูงอายุเพศหญิงอ้วนกว่าผู้สูงอายุเพศชาย 2.9, 12.3, 11.3 เท่า ตามลำดับ ส่วนอายุ อาชีพ การศึกษา การรับรู้ภาวะคุกคามสุขภาพ การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง การสนับสนุนทางสังคมโดยรวม การสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ ด้านการประเมิน ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านเครื่องมือไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วน ดังนั้น จึงควรมีแนวทางการป้องกันภาวะอ้วนให้กับผู้สูงอายุ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
dc.subject ผู้สูงอายุ
dc.subject โรคอ้วน
dc.title การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะคุกคามสุขภาพกับภาวะอ้วนของผู้สูงอายุ อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น
dc.title.alternative A study on reltionship between perceived helth thret nd obesity mong the elderly in wing ko district, khonken province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Overweight or obese will cause problems for the body in all organs and all parts of the body the people are overweight mostly because there are different behaviors especially in the elderly. In addition, the body has been used for a long time the daily lifestyle changes as well. Therefore, this study has to find the relationship between perceived health threat and obesity among the elderly. The sample was 267 elderly people in Wiang Kao District, Khon Kaen Province. It was acquired by stratified random sampling. Data collected thorugh structured interviews and analysis by percentage, mean, standard deviation and find a relationship with Chi Square. The study indicated that the majority of the respondents are female (64.0). The average age is 70.69+-6.34 years old. The highest primary education (92.1) is still occupation (55.8). Average weight 55.91+-8.56 kg. Average height 154.96+-7.10 cm. Waist circumference average 84.24+-10.29 cm. Around the hip average 93.66+-8.69 cm. Perception of Health Threats perception of violence perception of risk the social support of the elderly was 42.3%, 41.6% 40.8%, 43.8%, respectively. Body mass index was found to be 58.1% in obesity. The waist circumference was found to be obese 50.2% and body mass index along with waist circumference 40.8 percent were obese. Older women were obese than men, 2.9, 12.3, 11.3 times respectively. Age, occupation, education, perceived health threat perception of violence perception of risk overall social support emotional support evaluation information tooling was not associated with obesity. Therefore, there should be guidelines to prevent obesity for the elderly.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สาธารณสุขศาสตร์
dc.degree.name สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account