dc.contributor.advisor |
ธรรมวัฒน์ อุปวงษาพัฒน์ |
|
dc.contributor.advisor |
ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์ |
|
dc.contributor.author |
ไกรฤกษ์ มีแย้ม |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-06-06T04:25:33Z |
|
dc.date.available |
2023-06-06T04:25:33Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8815 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพทหารเรือที่มีต่อปัจจัยเสี่ยงกลุ่มอาการเมตาบอลิก โดยประยุกต์แนวคิดการสร้างเสริมพลังอำนาจของกิบสันให้ทหารเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นทหารเรือที่ปฏิบัติงานในเรือรบหลวงกองทัพเรือไทยที่มีปัจจัยเสี่ยงกลุ่มอาการเมตาบอลิก จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน วัดผลก่อนทดลองและหลังทดลอง ระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับบริการตามปกติเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ระยะหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรุ้ สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมเพิ่มขึ้นและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงต่อกลุ่มอาการเมตาบอลิก ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบ หลังการทดลองพบว่า เกือบทุกปัจจัยเสี่ยงไม่แตกต่างกัน ยกเว้นที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ค่าไตรกลีเซอไรด์ หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ได้แก่ ค่าดัชนีมวลกาย รอบเอว ค่าความดันโลหิต ค่าน้ำตาลในเลือด มีค่าเฉลี่ยลดลงอย่างมีทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ค่าไตรกลีเซอไรด์ ส่วนค่าโคเลสเตอรอลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญและในกลุ่มเปรียบเทียบพบว่า ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกค่า จากการวิจัยพบว่า โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ ส่งผลทหารเรือมีความรู้และสมรรถนะแห่งตนเพิ่มขึ้นทำให้พฤติกรรมดีขึ้น ส่งผลให้ปัจจัยเสี่ยงกลุ่มอาการเมตาบอลิกลดลง ดังนั้นควรนำโปรแกรมเสริมสุขภาพไปใช้ทหารเรือที่มีปัจจัยเสี่ยงกลุ่มอาการเมตาบอลิก กลุ่มอื่น ๆ ต่อไป |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
การส่งเสริมสุขภาพ -- ไทย -- ชลบุรี |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ |
|
dc.title |
ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในทหารเรือที่มีต่อปัจจัยเสี่ยงกลุ่มอาการเมตาบอลิกในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี |
|
dc.title.alternative |
Effects of helth promotion progrm is risk fctors to metbolic syndrome mong nvy in stthip district chonburi province |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This quasi-experimental research aimed to study the effect of health promotion programs in risk factors to metabolic syndrome among navy. Applying the concept Gibson’s empowerment for navy in Sattahip district Chonburi province. The sample was a navy operating in the His Thai Majety Ship (H.T.M.S.) with 60 metabolic syndrome risk factors. The experimental group and the control group were 30 subjects. The subjects were pre-test and post-test for 12 weeks. The experimental group received the health promotion program. Comparative groups receive normal services. Data were collected by interview form. Data were analyzed by means of descriptive statistics, percentage, mean, standard deviation, minimum and maximum, and analytical statistics include t-test. The research found that post-trial period the experimental group had mean knowledge self-efficacy and behavior were higher and higher than the comparison group statistically significant. When compared risk factors to metabolic syndrome between experimental group and comparison group in the post-experiment period; revealed that almost all risk factors was no different except for statistically significant differences as 0.05 level was triglyceride value, while risk factors to metabolic syndrome of experimental group revealed that the average decrease statistically significant as 0.001 level was body mass index, waistline, systolic pressure, diastolic pressure and blood sugar, while decrease statistically significant as 0.05 level was triglyceride value, but cholesterol value was no different and in comparison group revealed that all of the value was higher statistically significant. The research found that the program to promote health as a result the Navy has more knowledge and capacity to improve behavior as a result the risk factors for metabolic syndrome decreased. Health promotion programs should be used by naval adolescents with other metabolic syndrome risk factors. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การสร้างเสริมสุขภาพ |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|