DSpace Repository

ประสิทธิผลของเบาะรองนั่งเพื่อลดความสั่นสะเทือนทั่วร่างกายของกลุ่มพนักงานขับรถยกชนิดนั่งขับในท่าเรือแห่งหนึ่งจังหวัดกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธีรยุทธ เสงี่ยมศักดิ์
dc.contributor.advisor ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
dc.contributor.author ศิรประภา สินใจ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:25:32Z
dc.date.available 2023-06-06T04:25:32Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8814
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเบาะรองนั่ง 2 แบบ โดยแบบที่ 1 ทำมาจากแผ่นยางซิลิโคนและโพลียูรีเทนโฟม แบบที่ 2 ทำมาจากแผ่นยางบิวไทล์และโพลียูรีโฟม เพื่อลดการรับสัมผัสความสั่นสะเทือนของกลุ่มพนักงานขับรถยกโดยการศึกษานี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ศึกษาผลก่อนและหลังการทดลอง (Pretest-posttest one group design) เกี่ยวกับผลของการใช้เบาะรองนั่ง สำหรับพนักงานขับรถยกจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 28 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความพึงพอใจและเครื่องวัดความสั่นสะเทือน (Whole body vibration meter) ผลการศึกษาพบว่า อายุเฉลี่ย 38.03 ปี (± 8.84) น้ำหนักเฉลี่ย 64.21 กิโลกรัม (±9.67) ส่วนสูงเฉลี่ย 166 เซนติเมตร (± 4.64) สถานภาพโสด 9 คน (32.10 %) สมรส 19 คน (67.90%) ระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ย 10 ชั่ว โมง (± 1.86) ระยะพักเฉลี่ยต่อวัน 1.64 ชั่วโมง (± 0.48) ประสบการณ์การขับรถยก 10.82 ปี (± 8.92) อายุการทำงานเฉลี่ย11.78 ปี (± 8.84) อายุของรถยกเฉลี่ย 6.35 ปี (± 1.42) ผลการรับสัมผัสความสั่นสะเทือนเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความเร่ง ความสั่นสะเทือนก่อนและหลังการใช้เบาะรองนั่งที่ 1 เบาะรองนั่งที่ 2 พบว่าก่อนการใช้เบาะรองนั่ง มีค่าเท่ากับ 2.42 m/s2 (± 0.37) หลังการใช้เบาะรองนั่งที่ 1 มีค่าเท่ากับ 2.03 m/s2 (± 0.23) หลังการใช้เบาะรองนั่ง 2 มีค่าเท่ากับ 1.89 m/s2 (± 0.16) ค่าเฉลี่ยความเร่งความสั่นสะเทือนเบาะ 1 มีค่าน้อยกว่าก่อนการใช้เบาะรองนั่ง โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 0.05 ค่าเฉลี่ยความเร่งความสั่นสะเทือนเบาะรองนั่งที่ 2 มีค่าน้อยกว่าก่อนการใช้เบาะรองนั่ง โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 0.05 ความพึงพอใจหลังการใช้เบาะรองนั่ง พบว่า พนักงานขับรถยกระบบสั่นสะเทือนมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการใช้เบาะนั่ง โดยรวมหลังการใช้เบาะรองนั่ง เท่ากับ 2.66 (± 0.56) หมายถึง มีความพึงพอใจระดับปานกลางคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการใช้เบาะรองนั่ง เท่ากับ 3.10 (±0.31) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อขนาดเหมาะสม สำหรับการใช้งาน เท่ากับ 2.53 (±0.57) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน เท่ากับ 2.92 (±0.53) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจมีความน่าใช้ เช่น ความนุ่มของเบาะรองนั่ง หรือรูปแบบ เท่ากับ 2.42 (± 0.69) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสามารถทำให้การปฏิบัติงานได้ดีกว่าเดิม เท่ากับ 2.35 (±0.73) ซึ่งการศึกษานี้ควรศึกษาความสั่นสะเทือนในรถยกที่มีพิกัดน้ำหนักยกขนาดอื่น ๆ หรือรถเครื่องมือทุ่นแรงชนิดอื่น ๆ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject รถยนต์ -- การตกแต่ง
dc.subject เบาะรถยนต์
dc.subject คนขับรถบรรทุก
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.title ประสิทธิผลของเบาะรองนั่งเพื่อลดความสั่นสะเทือนทั่วร่างกายของกลุ่มพนักงานขับรถยกชนิดนั่งขับในท่าเรือแห่งหนึ่งจังหวัดกรุงเทพมหานคร
dc.title.alternative The effectiveness of set cushion in reducing whole body vibrtion mong counter blnce forklift drivers in seport, bngkok
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This study aimed to measure efficiency of two different types of seat cushion. The first type was made from silicone rubber and polyurethane foam. The second type was made from butyl rubber sheet and polyurethane foam. Both were for reducing vibration among forklift drivers. This quasi-experimental research applied pretest-posttest one-group design to verify the result of using seat cushions among forklift drivers examined among a sample group of 28 participants. Research instruments included a general information survey form, satisfaction survey form and a set of whole body vibration meter. All the information found about the participants consisted of single, married, age, weight, height, working hours, meditation time, forklift driving experience, work tenure, age of forklift for 9 participants (32.10 %), 19 persons (67.90 %), 38.03 years old (± 8.84), 64.21 kilograms (± 9.67), 166 centimeters (± 4.64), 10 hours/day (± 1.86), 1.64 hours/day (± 0.48), 10.82 years (± 8.92) 11.78 years (± 8.84) and 6.35 years (± 1.42) respectively. Regarding to vibration exposuree, the average accelerations for vibration before using a seat cushion, after using the first type of seat cushion and after using the second type of seat cushion were 2.42 m/s2 (± 0.37), 2.03 m/s2 (± 0.23) and 1.89 m/s2 (± 0.16) respectively. The, average acceleration for vibration after using the first type of seat cushion was statistically less than acceleration before using a seat cushion at the significant level of 0.001 and 0.05, and average acceleration for after using the second type of seat cushion was statistically less than acceleration before using a seat cushion at the significant level of 0.001 and 0.05. Considering satisfactions after using a seat cushion among forklift drivers, an overall satisfaction score was found at the moderate level (2.66 ± 0.56), and on average, and all the information found about the participants consisted of satisfaction towards use of seat cushion appropriate size not making work obstacles usability including softness for gets a score of 3.10 (± 0.31), 2.53 (± 0.57), 2.92 (± 0.53), 2.42 (± 0.69), and 2.35 (± 0.73) respectively. To minimize all the defects and improve the study, future studies should consider and emphasize vibration from forklifts with different levels of lifting capacity or another type of equipment.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account