DSpace Repository

การปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการผูกเหล็กเพื่อลดความเสี่ยงบริเวณมือและข้อมือของคนงานในงานก่อสร้างแห่งหนึ่ง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปวีณา มีประดิษฐ์
dc.contributor.advisor ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
dc.contributor.author อชิรญาณ์ พัดพาน
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:25:25Z
dc.date.available 2023-06-06T04:25:25Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8803
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract งานคอนกรีตเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการก่อสร้าง เช่น การก่อสร้างฐานรากสะพาน ถนน และลานบิน ล้วนใช้คอนกรีตเป็นวัสดุหลักในขั้นตอนกระบวนการทำคอนกรีต จะต้องทำการผูกเหล็กเพื่อเสริมความแข็งแรงของคอนกรีต ซึ่งการผูกเหล็กของคนงานจะพบความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากท่าทางการเคลื่อนไหวในการผูกเหล็กในลักษณะการคว่ามือและข้อมือ การเงยมือและข้อมือการเบี่ยนเบนมือและข้อมือไปทางนิ้วหัวแม่มือหรือนื้วก้อยและออกแรงในการบิดปลายลวด ให้เป็นเกลียวด้วยมือจากนั้นจะใช้คีมบิดลวดให้แน่นอีกครั้ง ซึ่งลักษณะท่าทางการเคลื่อนไหวอาจส่งผลกระทบและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานผูกเหล็กและอาจก่อให้เกิดโรคจากการทำงาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษากลุ่มทดลองเพียงกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลการลดความเสี่ยงบริเวณมือและข้อมือก่อนและหลังการปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการผูกเหล็กคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจงจำนวน 8 คน คุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินการทำงานด้วยมือ ACGIH for HAL โดยประเมินกิจกรรมของมือที่ใช้ในการทำงาน และแรงสูงสุดของมือที่ทำงานปกติแบบประเมินความรุนแรงของความรู้สึกเจ็บปวดบริเวณมือและข้อมือวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้การทดสอบ Wilcoxon signed-rank test ในการเปรียบเทียบ คะแนนความเสี่ยงของงานที่ทำด้วยมือ ACGIH for HAL ก่อนและหลังการปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการผูกเหล็กและเปรียบเทียบคะแนนความรุนแรงของความรู้สึกเจ็บปวดบริเวณมือและข้อมือข้างซ้ายและข้างขวาก่อน-หลังการปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการผูกเหล็กและสถิติ Descriptive statistics ในการพรรณนาในส่วนของความพึงพอใจหลังการปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการผูกเหล็ก ผลการศึกษาพบว่าการปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการผูกเหล็กทำให้ท่าทางการเคลื่อนไหวบริเวณมือและข้อมือ มีความถูกต้องตามหลักการยศาสตร์โดยค่าคะแนนความเสี่ยงเฉลี่ยของงานที่ทำด้วยมือ ACGIH for HAL ข้างซ้ายและข้างขวาน้อยกว่าก่อนการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ค่าคะแนนเฉลี่ยความรุนแรงของความรู้สึกปวดบริเวณมือและข้อมือข้างซ้ายและข้างขวาน้อยกว่าก่อนการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และคะแนนความพึ่งพอใจหลังการปรับปรุงอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด จากการศึกษาในครั้งนี้คนงานผูกเหล็กสามารถนำเครื่องมือที่ใช้ในการผูกเหล็กที่ได้รับการปรับปรุงไปใช้งานตามโครงการก่อสร้างที่มีการผูกเหล็กในปริมาณที่มากแต่คนงานมีจำนวนจำกัดได้เครื่องมือที่ใช้ในการผูกเหล็กนี้สามารถลดความเสี่ยงทางการยศาสตร์บริเวณมือและข้อมือของคนงานก่อสร้างได้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject เครื่องมือก่อสร้าง
dc.subject เหล็ก
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.title การปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการผูกเหล็กเพื่อลดความเสี่ยงบริเวณมือและข้อมือของคนงานในงานก่อสร้างแห่งหนึ่ง
dc.title.alternative Improvement of rebr tying tool for reducing hnd nd wrist risks of workers in construction site
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Concrete is an important component of most construction such as building foundations, bridges, roads, and runways. Concrete strength is reinforced with iron bars, commonly known as “rebar”. Rebar tying is one of the most stressful tasks due to wrist flexion, extension, and ulnar and radial deviations. Fastening iron wires to the rebar involve high hand force that poses a health hazard to the workers. This one group quasi-experimental study aimed to evaluate hand and wrist risks reduction after improving the rebar tying tool. Eight construction workers were recruited as the study subjects based on the inclusion criteria. Data collection instrument included the ACGIH for HAL checklist and the standardized Nordic Questionnaire. Descriptive statistics were used to measure workers satisfaction with the improved tying tool, and the Wilcoxon signed rank test was used to analyze the statistical difference of the data. The results revealed that the tool improvement reduced hand and wrist risks of both hands at the 0.5 statistical significance. The workers had the highest level of satisfaction for the tool. The improved rebar tying tool also increases the produtivity of the task.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account