DSpace Repository

การลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์โดยการปรับปรุงพื้นที่การทำงานตามแนวทางของ ILO ในพนักงานโรงงาน ซัก อบ รีด แห่งหนึ่ง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปวีณา มีประดิษฐ์
dc.contributor.advisor ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
dc.contributor.author นัฐชกุลพร ประดิษฐ์พฤกษ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:25:24Z
dc.date.available 2023-06-06T04:25:24Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8802
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract โรงงานซัก อบ รีด ซึ่งเป็นกรณีศึกษามีความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ในพื้นที่การทำงานจากการประเมินด้วย Ergonomic checkpoints พบท่าทางในการทำงานและงานยกที่ไม่เหมาะสมของพนักงาน ได้แก่ การบิดเอี้ยวลำตัว การก้มหลัง การเอื้อมแขน การหักงอของข้อมือ รวมถึงการทำงานที่ต้องยกวัตถุที่มีน้ำหนักมากเกินและไม่มีจุดที่จับที่ดี ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงาน โดยเฉพาะในระบบกล้ามเนื้อและกระดูก การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาในกลุ่มทดลองเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการปรับปรุงพื้นที่การทำงาน โดยหลักการยศาสตร์ตามแนวทางของ ILO คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 20 คน ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินท่าทางในการทำงานแบบใช้ร่างกายส่วนบน (RULA) สำหรับพนักงานที่นั่งทำงานในขั้นตอนคัดแยกเสื้อผ้า แบบประเมินท่าทางในการทำงานแบบใช้ร่างกายทุกส่วน (REBA) สำหรับพนักงานที่ยืนทำงานในขั้นตอนซักผ้า สลัดน้ำ อบผ้า รีดผ้า บรรจุผ้าลงถุงพลาสติก และสมการประเมินงานยกของ NIOSH สำหรับพนักงานที่ทำงานในขั้นตอนขนส่งเสื้อผ้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ก่อนและหลังการปรับปรุงพื้นที่การทำงานโดยใช้การทดสอบ Wilcoxon signed-rank test ผลการวิจัยพบว่า การปรับปรุงพื้นที่ทำงานด้วยหลักการยศาตร์ตามแนวทางของ ILO ด้วยการอบรมให้ความรู้แก่พนักงานเรื่องท่าทางการยกและท่าทางการทำงานที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ และการดำเนินการปรับปรุงพื้นที่การทำงานโรงงานซัก อบ รีด ด้วยวิธีที่มีประโยชน์ ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก และใช้ต้นทุนในการดำเนินการต่ำ ในทั้งหมด 7 ขั้นตอนการทำงาน คือ คัดแยกเสื้อผ้า ซักผ้า สลัดน้ำ อบผ้า รีดผ้า บรรจุผ้าลงถุงพลาสติก และขนส่งเสื้อผ้า พบว่า พนักงานที่ทำงานใน 5 ขั้นตอนการทำงาน คือ ซักผ้า สลัดน้ำ รีดผ้า บรรจุผ้าลงถุงพลาสติกและขนส่งเสื้อผ้ามีความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 การศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำไปปรับใช้กับอุตสาหกรรม ซัก อบ รีด และการทำงานอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับพนักงานซัก อบ รีด เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject เออร์โกโนมิกส์
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.title การลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์โดยการปรับปรุงพื้นที่การทำงานตามแนวทางของ ILO ในพนักงานโรงงาน ซัก อบ รีด แห่งหนึ่ง
dc.title.alternative Reducing ergonomic risks by workplce improvement bsed on ilo checkpoints mong employees in lundry fctory
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The laundry factory had ergonomic risks in the workplace, using Ergonimic checkpoints found improper working postures and awkward lifting taks including twisting, bending, reaching, bending of the wrists, handle heavy objects without holding point. These may affect health, especially in the musculoskeletal system. This quasi-experimental study compared pre and post ergonomic improvement based on ILO checkpoints among one group of laundry staffs laundry staffs. The selection of 20 specific samples depend on inclusion criteria. Data collection tools included the Rapid Upper Limb Assessment (RULA) for assessing the ergonpmic risks of the employee’s postures in the process of sorting. Rapid Entire Body Assessment (REBA) for assessing the ergonomic risks of the employee’s postures in the process of washing, spinning, drying, ironing, folding clothes into plastic bags, and NIOSH lifting equation for assessing ergonomic risks of lifting tasks in the transportation process. Data were anslyzed and used to compare the average ergonomic risk scores between before and after interventions by Wilcoxon signed-rank test. The workplace improvement based on ILO checkpoints which included training on proper lifting and posture to the workers and applying ergonomic interventions to improve workplace without relying on costly and highly sophisticated solutions in 7 processes of the laundry work with sorting, washing, spinning, drying, ironing, folding clothes into plastic bags and transporting. The results showed that the ergonomic risks of the workers who worked in 5 processes including washing, spinning, ironing, folding clothes into plastic bags and transporting were significantly reduced (p<.05). It is recommended that the study could be as the basis for improving workplace in the industrial laundry and tasks with similar conditions to reduce the ergonomic risks.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account