DSpace Repository

ความชุกของกลุ่มอาการอาคารป่วยของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงานภายในมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน

Show simple item record

dc.contributor.author กิตติ กรุงไกรเพชร
dc.contributor.author ลักษณาพร กรุงไกรเพชร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:54:48Z
dc.date.available 2019-03-25T08:54:48Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/879
dc.description.abstract การวิจัยเชิงสำรวจ วัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของกลุ่มอาการอาคารป่วย (Sick Building Syndrome) ในกลุ่มของบุคลากรที่ทำงานประจำในสำนักงาน ภายในมหาวิทยาลัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรที่ทำงานประจำในสำนักงาน ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน ปี พ.ศ. 2554 กลุ่มตัวอย่าง ทำการเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sample) และเลือกตัวอย่างจากแต่ละชั้นโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มโดยบังเอิญ (Accidental Sample) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 505 คน ซึ่งจำแนกตามคณะ ศูนย์หรือสถาบัน เป็นเพศชาย 124 คน (ร้อยละ 25) เพศหญิง 381 คน (ร้อยละ 75) โดยเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบียงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า อายุเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 35.38±0.40 โดยมีอายุตั้งแต่ 20 ถึง 61 ปี อายุงานเฉลี่ยเท่ากับ 7.8 ปี ค่าเฉลี่ยของวันทำงานต่อสัปดาห์เท่ากับ 5.29 วัน ค่าเฉลี่ยของชั่วโมงการทำงานในแต่ละวันเท่ากับ 6.5 สถานที่ทำงานส่วนใหญ่อยู่รวมกันโดยไม่มีพาทิชั่นกั้น ไม่มีการปูพรม เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ส่วนใหญ่ทำมาจากไม้ ผนังห้องเป็นแบบทาสีอ่อน บุคลากรอยู่รวมกันในห้องเดียวกันเฉลี่ย 7 คน สุขลักษณะของห้องทำงานมีความสะอาดปานกลาง อุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีการสัมผัสหรือใช้งานบ่อย ๆ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดีด และเครื่องปรับอากาศกึ่งหนึ่งเห็นว่ามีกระแสลมพัดน้อยเกินไปพอ ๆ กับกึ่งหนึ่งเห็นว่าเหมาะสมแล้ว แต่ส่วนใหญ่ไม่รู้สึกอึดอัดสองในสามบุคลากรมีอาการเจ็บป่วยอยู่ก่อน โดยอาการที่พบมากที่สุดคือ ปวดศรีษะข้างเดียวและการแพ้อากาศ รองลงทาคือ แพ้ฝุ่น/ ละอองเกสรดอกไม้/ขนสัตว์ ผิวหนังอักเสบ ไซนัสอักเสบ และหอบหืดตามลำดับ บุคลากรส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่ กลุ่มอาการอาคารป่วยที่พบบ่อยคือ กลุ่มอาการทั่วไปของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ประมาณร้อยละ 50 รองลงมาคือกลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจส่วนต้นกลุ่มอาการทางตา กลุ่มอาการทางผิวหนัง กลุ่มอาการทางปอดและกลุ่มอาการติดเชื้อตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามเงื่อนไขที่กำหนดของการวินิจฉัย การมีกลุ่มอาการอาคารป่วยแล้ว พบว่าความชุกเท่ากับร้อยละ 14.5 แต่เมื่อคัดแยกผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยออกไปจะมีเพียงร้อยละ 3.2 เท่านั้น ที่เข้าเกณฑ์กลุ่มอาการอาคารป่วย สรุปผลการวิจัย ความชุกของกลุ่มอาการอาคารป่วยเท่ากับร้อยละ 3.2 จึงอาจกล่าวได้ว่า อาคารสำนักงานในมหาวิทยาลัยบูรพา ไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพอากาศภายในอาคาร ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากกรบริหารจัดการเพื่อควบคุมคุณภาพของสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001 ตามที่หน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยได้รับการรับรอง th_TH
dc.description.sponsorship รายงานการวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ประเภทงบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2554 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject Indoor air quality th_TH
dc.subject Office synfrome th_TH
dc.subject Sick building th_TH
dc.subject โรคอาคารป่วย th_TH
dc.subject โรคจากอาคาร th_TH
dc.title ความชุกของกลุ่มอาการอาคารป่วยของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงานภายในมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน th_TH
dc.title.alternative The prevalence of sick building syndrome of official workers in Burapha University, Bangsean collage en
dc.type Research th_TH
dc.year 2554
dc.description.abstractalternative A survey study to find out the prevalence of sick building syndrome among the office personnel in Burapha Unversity Population 915 office workers in Burapha University, Bangsean Collage, 2011 Samples the 505 samples were stratified random sampling and within level were accidental sampling. There were 124 men (25%) and 381 women (75%) Materials and Methods The general data and objective data were collected by the researchers and teams by questionnaires. The frequency, percentage, mean and standard deviation were used to analyzed the data. Results A mean of age was 35.38±0.40. The age rangewas 20 to 61. The average of working experienceyears were 7.8 year and the average of working days/ week were 5.29 and average working hours/ day were 6.5. Most of offices were designed as the single room without partitions and carpet. Most of office furniture was made of woof and the walls were painted with soft color. The average office workers in each room were 7. The hygiene degree within the room was moderate. The office equipment which were used or contacted were personal computer, typewriter, air conditioner. About a half of personnel frlt low air flow in the office but the other felt appropriate air flow but most of them did not felt uncomfortable during work time. About two-third of them had concurrent illness that the most symptom was unilateral headache and the subsequences were dust/pollen/fur allergy, unspecified dermatitis, sinustis and asthma respectively. Most of them were non-smoker. The common symptoms of sick building syndrome among them were general symptoms which confined to musculoskeletal system, upper respiratory symptoms, eye symptoms, skin symptom, lower respiratory symptoms and infectious symptoms, respectively. Under the criteria for diagnosis, the prevalence od sic building syndrome among them is 14.5% but if exclusion of illness persons, the prevalence was only 3.2% Conclusions the prevalence of sick building syndrome among office workers in Burapha University was 3.2%. So it might quote that indoor air quality of the offices in Burapha University had no problem which might be explained from the administration of environment under ISO 14001 guideline in many sectors of Burapha University. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account