dc.contributor.advisor |
อุษณากร ทาวะรมย์ |
|
dc.contributor.author |
คามิน อาแว |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ |
|
dc.date.accessioned |
2023-06-06T04:21:13Z |
|
dc.date.available |
2023-06-06T04:21:13Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8778 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเรื่อง “สภาพปัญหาการดำเนินงานและความต้องการสนับสนุนจากภาครัฐของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กลุ่มอัญมณี จังหวัดจันทบุรี” มีวัตถุประสงค์คือศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานของผู้ประกอบการและเพื่อศึกษาความต้องการสนับสนุนจากภาครัฐของผู้ประกอบการ ขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs กลุ่มอัญมณี จังหวัดจันทบุรีเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs กลุ่มอัญมณี จังหวัดจันทบุรี จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs กลุ่มอัญมณี จังหวัดจันทบุรี มีปัญหาด้านการตลาดมากที่สุด (จำนวน 5 คน) เกิดปัญหาจากการที่ผู้ประกอบการไม่มีการวิเคราะห์แผนธุรกิจ การตลาดทำให้ไม่สามารถคาดคะเนได้ว่า จุดแข็งจุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคขององค์กรคืออะไร ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมีผลกระทบที่เกิดจากสภาวะเศรษฐกิจการเมืองของประเทศที่ไม่คงที่ทำให้ผลกำไรลดลง และคู่แข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศมีขีดความสามารถสูงกว่าในการนำเทคโนโลยีมาใช้มากกว่า ทำให้ลูกค้าของผู้ประกอบการในจังหวัดจันทบุรีลดน้อยลง เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs กลุ่มอัญมณีจังหวัดจันทบุรี มีความต้องการให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนในด้านการบริหารจัดการมากที่สุด (จำนวน 5 คน) ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาเป็นแกนนำในการติดต่อค้าขายในตลาดต่างประเทศอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการมีช่องทางการค้าขายเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ภาครัฐต้องเข้ามาเป็นตัวประสานการทำงานร่วมกัน ทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อให้ผู้ประกอบการมีความคล่องตัวมากขึ้น และในพื้นที่ภาครัฐควรมีการส่งเสริมให้มีการจัดงานริมน้ำจันทบูรควบคู่กับสินค้าเครื่องประดับอัญมณีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัดจันทบุรี |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ธุรกิจขนาดกลาง |
|
dc.subject |
ผู้ประกอบการ -- จันทบุรี |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน |
|
dc.title |
สภาพปัญหาการดำเนินงานและความต้องการสนับสนุนจากภาครัฐของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กลุ่มอัญมณี จังหวัดจันทบุรี |
|
dc.title.alternative |
Problems of business operttions nd needs for government supports mong smll nd medium enterprises of gemstones in chnthburi province |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this qualitative study were to examine problems of business operations and needs for government supports among small and medium enterprises of gemstones in Chanthaburi Province. To collect the data, an in-depth interview technique was used. The key informants comprised 5 entrepreneurs of small and medium enterprises of gemstones in Chanthaburi Province. The instrument used to collect the data was an interview form. A content analysis technique was used to analyze the collected data. The results of the study revealed that the entrepreneurs of small and medium enterprises of gemstones in Chanthaburi Province rated their problem in business operations in terms of marketing at the highest level. This was due to the fact that there were no analyses of business plans among these subjects, resulting in being unable to realize what the strengths, weaknesses, opportunities, and threats of the business were. Also, it was because of the instability of the current economic conditions in Thailand, leading to the decrease of incomes. In addition, the competitors of these subjects both in Thailand and abroad appeared to be more competent in incorporating the use of advanced technology, causing the reduction of these subjects’ customers. Regarding the needs for government supports, these entrepreneurs wanted at a high level for the government to be a key sector in business administration. Also, they wanted the government to play an active role in operating business abroad in order to create an equal opportunity for all entrepreneurs to do their businesses. The government should take a role of a mediator, communicating both in and outside the organizations. This might result in a better opportunity for these entrepreneurs’ businesses. Finally, the government sector in Chanthaburi Province should help to organize a local fair for gemstones in a community called Rim Nam Chantaboon. Not only will this activity promote tourism, but also it will facilitate better economy in Chanthaburi Province. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน |
|
dc.degree.name |
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|