DSpace Repository

การจัดการความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองพัทยา

Show simple item record

dc.contributor.advisor กิจฐเชต ไกรวาส
dc.contributor.advisor กฤษฎา นันทเพชร
dc.contributor.author จุฬาลักษณ์ พันธัง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:21:03Z
dc.date.available 2023-06-06T04:21:03Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8745
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การศึกษาเรื่องการจัดการความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองพัทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบาย แผนงาน และการดําเนินงานในการจัดการความปลอดภัย ด้านการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองพัทยา ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการความปลอดภัย ด้านการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองพัทยา และรูปแบบและแนวทางการจัดการความปลอดภัย ด้านการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิผลสําหรับเขตพื้นที่เมืองพัทยา โดยการดําเนินการวิจัยได้ใช้วิธีการแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ในการศึกษาใช้เครื่องมือแนวคําถามในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interviews) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (Key informants) ในกลุ่มผู้บริหาร และผู้นํา จํานวน 18 คน ผลการศึกษาพบว่า หน่วยงานภาครัฐมียุทธศาสตร์ นโยบาย แผนงาน และการดําเนินงาน ด้านความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวในหน่วยงานของตน โดยยุทธศาสตร์หลักมาจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระจายเข้าสู่จังหวัด และในระดับท้องถิ่นซึ่งก็คือเมืองพัทยารวมถึง ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการบูรณาการซ้อมแผนจัดการความปลอดภัยร่วมกันปีละ 1 ครั้ง ในขณะที่ภาคเอกชนไม่มีแผนที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการจัดการความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองพัทยา ใช้แนวคิดการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ 4 มิติ ได้แก่ 1) ด้านระบบบริหารบุคลากร และกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม ค่านิยมการทํางาน 2) ด้าน งบประมาณ การเงิน และการพัสดุ 3) ด้านกระบวนการและวิธีการทํางานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ และ 4) ด้านมาตรฐานและการวัดผลงานที่ชัดเจน สําหรับผลศึกษารูปแบบและแนวทางการจัดการความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิผลสําหรับเขตพื้นที่เมืองพัทยา พบว่า มี 4 มาตรการ คือ มาตรการที่ 1 ด้านการเฝ้าระวังความปลอดภัย มาตรการที่ 2 ด้านการให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยว เมื่อประสบปัญหาด้านความปลอดภัย มาตรการที่ 3 ด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และมาตรการที่ 4 ด้านการปราบปราม ส่วนแนวทางการจัดการความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่มีประสิทธิผลสําหรับเขตพื้นที่เมืองพัทยา มีดังนี้ 1) บริหารอัตรากำลังที่มีอยู่ให้เหมาะสม 2) ผู้บริหารหรือหัวหน้าหน่วยงานให้ความสําคัญ สนับสนุน ส่งเสริม ผลักดันให้เกิดการปฏิบัติงานในเชิงรูปธรรม 3) จัดฝึกอบรมและประเมินผลบุคลากร 4) บริหารงบประมาณที่มีอยู่ให้เหมาะสม 5) จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานโดยพิจารณาเรื่องที่สําคัญและเร่งด่วน 6) สร้างความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน และการดําเนินงานในการจัดการ ความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองพัทยาในหน่วยงานของตน 7) บูรณาการการทํางานระหว่างหน่วยงาน 8) ปรับปรุงแก้ไขข้อจํากัดด้านกฎหมาย 9) ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนและภาคประชาชน และ 10) ติดตามและประเมินผลการทํางาน อย่างต่อเนื่อง
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การท่องเที่ยว -- มาตรการความปลอดภัย
dc.subject พัทยา -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
dc.subject การท่องเที่ยว -- การจัดการ
dc.title การจัดการความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองพัทยา
dc.title.alternative Tourism sfety mngement in ptty city re
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative A Study aimed to examine the policy, plan and operation, problems and obstacles in tourism safety management, and the model and guidelines for effective Tourism Safety Management in Pattaya City Area. The qualitative research employed in-depth questions as the research instrument for in-depth interviews in collecting data from 18 key informants of top management group. The preliminary finding demonstrated that Government had the particular strategies, policies, plans and operations for tourism of their own organization according to the main strategy from the Ministry of Tourism and Sports to the provincial and local level including all stakeholders in Pattaya. In addition, there was at least once-a-year integral drill of safety instruction and management whereas the private sector did not have a concrete plan pertaining problem and safety management in tourism in Pattaya. In terms of the problem and difficulties in Pattaya tourism safety management, the results showed that the relevant parties which could be divided into four New public management factors: 1) personnel management and paradigm, culture, work values, 2) budgeting, finance and procurement, 3) process and work processes, 4) Standards and measurement. For the model and guidelines for effective Tourism Safety Management in the area, the findings showed that the model and guidelines for effective Tourism Safety Management in the area Pattaya City arranged under four measures: 1) safety surveillance, 2) assisting provision in case of emergency, 3) public relation for safety instruction, and 4) suppression and protection. Finally, the effective management guidelines of tourism in the Pattaya area were as follows: 1) managing the existing manpower appropriately, 2) the executives or the heads of the organization’s proper supports of the concrete implementation. 3) training and evaluation of personnel. 4) proper management of existing budgets, 5) purchasing safety equipment according to its needs and importance, 6) introducing a thorough understanding of policies, plans and operations in managing tourism safety in the Pattaya to all of their respective agencies, 7) integrating inter-agency operation and cooperation. 8) revising legal restrictions, 9) promoting public and private sectors with public relations, and 10) monitoring and assessing ongoing operation.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account