dc.contributor.advisor |
ธนวัฒน์ พิมลจินดา |
|
dc.contributor.advisor |
ฤทธิกร ศิริประเสริฐโชค |
|
dc.contributor.author |
ไพโรจน์ ทิมจันทร์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ |
|
dc.date.accessioned |
2023-06-06T04:21:02Z |
|
dc.date.available |
2023-06-06T04:21:02Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8740 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสาเหตที่มีผลกระทบต่อระบบและวิธีการในการบังคับคดีผู้ประกันในคดีอาญาของสำนักงานศาลุติธรรม 2) เพื่อศึกษาแนวทางหรือวิธีการที่เหมาะสมในการบังคับคดีอาญาของสำนักงานศาลยุติธรรม ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix method research) ระหว่างการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) ด้วยการแจกแบบสอบถาม (Questionnaire) จากกลุ่มตัวอย่างประชากรกลุ่มเป้าหมายซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ศาลยุติธรรม ได้แก่ นิติกรผู้ปฏิบัติงานบังคับคดีโดยตรง จำนวน 166 คน และกลุ่มที่ 2 กรมบังคับคดี ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีจังหวัด จำนวน 64 คน พร้อมทั้งวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ประกอบด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data) ที่เก็บรวบรวมจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ประกอบด้วย ผู้บริหารสูงสุดของศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรม หัวหน้าส่วนราชการศาลยุติธรรมที่ดำเนินคดีอาญา ในกรุงเทพมหานคร และศาลยุติธรรมที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่ตั้งสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 1-9 และผู้บริหารสูงสุดของกรมบังคับคดี รวมทั้งสิ้นจำนวน 15 คน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์สรุปอุปนัย (Analytic induction) ควบคู่กับการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ตามกรอบแนวคิดการวิจัย ซึ่งครอบคลุมประเด็นหลักการบริหารปัจจัยพื้นฐาน 4 อย่าง ผลการวิจัยพบว่า 1) สาเหตุที่มีผลกระทบต่อระบบและวิธีการในการบังคับดีใน 4 ด้าน ดังนี้ ก) ด้านบุคลากร บุคลากรขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มากที่สุด (X = 4.26) ขาดความเชี่ยวชาญในการบังคับคดี มาก (X = 4.21) บุคลากรขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน มาก (X = 4.17) ขาดที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญในการบังคับคดี มาก (X = 4.07) เกิดจากผู้บริหาร มาก (X = 3.87) ข) ปัญหาด้านงบประมาณ การจ่ายค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แก่หน่วยงานราชการมีความยุ่งยากในการปฏิบัติ มาก (X = 3.92) ไม่มีเงินเบี้ยเลี้ยงให้ผู้ปฏิบัติงานในกรณีต้องออกไปปฏิบัติหน้าที่นอกสำนักงาน มาก (X = 3.90) ขาดงบประมาณในการติดตามและสืบทรัพย์ มาก (X = 3.80) ค) ปัญหาด้านอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ฐานข้อมูลผู้ประกันทีเชื่อมโยงกันทั้งประเทศไม่เป็นปัจจุบัน มาก (X = 4.17) ขาดระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการบังคับคดี มาก (X = 4.08) ง) ปัญหาด้านการบริหารจัดการ การใช้ตำแหน่งหรือบุคคลเป็นหลักประกัน มีปัยหาในทางปฏิบัติมาก มากที่สุด (X = 4.63) ขาดการตรวจสอบหลักทรัพย์ มากที่สุด (X = 4.58) หลักทรัพย์ที่วางประกันไม่น่าเชื่อถือ มากที่สุด (X = 4.55) ระบบปล่อยชั่วคราว มาก (X = 4.19) ขาดหน่วยงานกลางในการให้คำปรึกษาแนะนำที่ชัดเจน มาก (X = 4.05) ระบบงานและขั้นตอนไม่ชัดเจน มาก (X = 3.95) รูปแบบหรือวิธีการที่มีความเหมาะสมในการบังคับคดีศาลยุติธรรม ร้อยละ 72 เห็นด้วย ให้ “สำนักงานศาลยุติธรรม” เป็นหน่วยงานหลักนการบังคับคดี และกรมบังคับคดี มีความเห็นด้วยอย่างยิ่ง ให้ “สำนักงานศาลยุติธรรม” เป็นหน่วยงานหลักในการบังคับคดี แต่ให้พัฒนา ปรับปรุง วิธีการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากกว่าปัจจุบัน แต่เมื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของแต่ละวิธี ประกอบข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญของศาลยุติธรรมร้อยละ 28 แล้วจึงสรุปได้ว่ารูปแบบหรือวิธีการบังคับคดีที่เหมาะสมกับประเทศไทยคือ ให้ “กรมบังคับคดี” เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ โดยมีสำนักงานศาลยุติธรรมและสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นหน่วยงานสนับสนุน เนื่องจากกรมบังคับคดีมีจุดแข็งที่สำคัญมากกว่าหน่วยงานอื่น กล่าวคือ มีความพร้อมในเรื่องปัจจัยการบริหารทั้ง 4 ประการ โดยเฉพาะบุคลากรมีความเชี่ยวชาญในการบังคับคดี มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ รองรับการดำเนินการอย่างครบถ้วน และมีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการบังคับคดี |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ |
|
dc.subject |
คดีอาญา |
|
dc.subject |
การบังคับคดี |
|
dc.title |
การบังคับคดีผู้ประกันในคดีอาญาของประเทศไทย |
|
dc.title.alternative |
Legl execution of gurntors in criminl cses in thilnd |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this study were: (1) to study personal motivations of volunteers in indirect services, (2) to study societal motivations of volunteers in indirect services, and (3) to investigate the barriers to engagement of youth who non-volunteers in direct services. This research study is designed based on quantitative approach. The sample of this study was totally 400 with 200 volunteers and 200 non-volunteer youth in indirect services in Phnom Penh city. They were selected by using quota and convenient sampling. The research instruments were questionnaires consisting of four parts. Part one was personal profile, part two focused on personal motivation to volunteer with 10 items, part three societal motivation to volunteer with 6 items, and part four is barriers to engage in volunteerism with 7 items. The descriptive (mean and standard deviation) and inferential statistics (t-test) were employed to analyze the quantitative data. The research found as follows: (1) the most important factor of personal motivation for youth who volunteer in indirect services is understanding. By understanding factor, volunteer can explore their own strengths and enlarge their understanding of the cause and reason by applying the knowledge that they have learned to help others and learning different skills, (2) the most important of societal factor motivating indirect services youth volunteers is career development which statistically generates the highest level of influence comparing to the other factors. Career function regard volunteer service as a means to help volunteers’ career status and development. Volunteering help youth in Phnom Penh to explore different career options. They also have opportunity to practice various skills used in the workplace like project planning, problem solving teamwork, communication, administration and task management. Those opportunity could help them to gain experience or get a career related-experience that might increase their future earnings, and (3) the factor of family discouragement was the highest barrier to engagement for youth to involve in volunteering in indirect services in Phnom Penh city. Most of parent do not allow their children to get involve in volunteering because parents regard indirect services activity (serving food, building a playground for children, and cleaning up the community, so on) as a waste of time and money. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
รัฐประศาสนศาสตร์ |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|