DSpace Repository

การมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดของนายทหารชั้นประทวนในกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธนวัฒน์ พิมลจินดา
dc.contributor.author ชนบดี มียัง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:20:59Z
dc.date.available 2023-06-06T04:20:59Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8724
dc.description งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดของนายทหารชั้นประทวนในกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์และ 2) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดของนายทหารชั้นประทวนในกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์โดยจำแนกตาม อายุราชการ สังกัดกำเนิดทางทหารและรายได้ประชากรที่ใช้ใน การศึกษา คือ นายทหารชั้นประทวนในกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 153 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (µ) จากผลการศึกษา พบว่า นายทหารชั้นประทวนในกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดอยู่ในระดับน้อยในทุกด้าน ทั้งทางด้านการบังคับบัญชา ด้านการควบคุม ด้านการประสานงาน ด้านการวางแผน และด้านการจัดองค์การ ทั้งนี้ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วม พบว่า นายทหารชั้นประทวนที่มีอายุราชการ 31 ปีขึ้นไป มีส่วนร่วมมากกว่าช่วงอายุอื่น นายทหารชั้นประทวนที่สังกัดกองบังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์มีส่วนร่วมมากกว่าสังกัดอื่น นายทหารชั้นประทวนที่กำเนิดจากนักเรียนนายสิบ มีส่วนร่วมมากกว่านายทหารชั้นประทวนที่กำเนิดจากกองหนุน และนายทหารชั้นประทวนที่มีรายได้ มากกว่า 25,000 บาท มีส่วนร่วมมากกว่าช่วงรายได้อื่น
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ยาเสพติด -- การป้องกันและควบคุม
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
dc.title การมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดของนายทหารชั้นประทวนในกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternative The involvement to surveillnce the drug problem of noncommissioned officer in the 21st infntry regiment, queen's gurd mphur mung chonburi province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was twofold. First, it aimed at examining a level of participation in surveillance of narcotic drug problems among non-commissioned officers working for the 21st Infantry Regiment, the Queen’s guard, located in Amphoe Mueang, Chon Buri Province. Also, this study attempted to compare the level of participation in surveillance of narcotic drug problems among these non-commissioned officers as classified by length of work, workplace, military source, and amount of income. The population participating in this study was 153 non-commissioned officers working for the 21st Infantry Regiment, the Queen’s guard, Amphoe Mueang, Chon Buri Province. The instrument used in this study was a questionnaire. The statistical tests used to analyze the collected data included frequency, percentage, mean, standard deviation, and mean comparison. The results of the study revealed that the subjects demonstrated a low level of participation in surveillance of narcotic drug problems in every aspect. These included the ones in relation to supervising, monitoring, coordinating, planning, and managing organizations. Also, based on the comparison of means, it was found that the subjects with work length more than 31 years demonstrated a higher level of participation in surveillance of narcotic drug problems than their counterparts with other age groups. Moreover, the non-commissioned officers working for the 21st Infantry Regiment, the Queen’s guard, located in Amphoe Mueang, Chon Buri Province had a higher level of participation in surveillance of narcotic drug problems than those working for other military bases. Furthermore, the subjects starting their career with being sergeants demonstrated a higher level of participation in surveillance of narcotic drug problems than those coming from military reserves. Finally, the subjects having the amount of monthly income more than 25,000 baht had a higher level of participation in surveillance of narcotic drug problems than those with other amounts of income.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารทั่วไป
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account