dc.contributor.advisor | สุปราณี ธรรมพิทักษ์ | |
dc.contributor.advisor | ชินรัตน์ สมสืบ | |
dc.contributor.author | สุนทร ผ่องอำไพ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ | |
dc.date.accessioned | 2023-06-06T04:14:44Z | |
dc.date.available | 2023-06-06T04:14:44Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8706 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง “แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่และเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามเพศ อายุ ชั้นยศ ระดับการศึกษา ระยะเวลารับราชการ และรายได้ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 270 นาย โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ สรุปตามปัจจัยจูงใจ 5 ด้าน และปัจจัยค้ำจุน จำนวน 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาราด้านพบว่า ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงานมีค่ามากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านความมั่นคงในงาน ด้านนโยบายการบริหารงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านความก้าวหน้า และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบพบว่า เพศ อายุ ชั้นยศ ระดับการศึกษา ระยะเวลารัชราชการ และรายได้ต่อเดือน จะมีความสัมพันธ์เชิงบวก กับระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยคือ ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ขอเสนอให้มีการพิจารณาในเรื่องการกำหนดนโยบายให้ข้าราชการมีการประกอบอาชีพเสริมรายได้ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว โดยใช้เวลาว่างหลังจากการปฏิบัติงานในแต่ละวัน จะทำให้เป็นการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานต่อไป ด้านความก้าวหน้า ขอเสอนให้มีการพิจารณาในเรื่องการประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่มีโอกาสเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งตามความเหมาะสม ด้านความรับผิดชอบ ขอเสนอให้บรรจุบุคลากรให้ตรงตามความถนัดและความสนใจ เพื่อให้บุคลากรเกิดความสนใจ และสามารถเลือกวิธีปฏิบัติงานได้ตามความต้องการ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป | |
dc.subject | การจูงใจในการทำงาน | |
dc.title | แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ | |
dc.title.alternative | Work motivtion of wing 41 officers t ching mi province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The study of Work Motivation of Wing 41 Officers at Chiangmai province had two objectives which were to study the level of work motivation wing 41 Officers at Chiangmai province and compare them as categorized by gender, age, rank, educational, duration of working and revenue. The sample group consisted of 270 officers and the instrument used to collect data was questionnaire. The statistics used for analyzing the data were frequency, percentage, mean and standard deviation. The result of this study found that Work Motivation of Wing 41 Officers at Chiangmai province contained 5 motivation factors and 5 Maintenance factors. The overall was rated in high level. Considering in each aspect found that the achievement aspect was rated as the highest level and followed by Job Security, Management Policy, and The Relationship between the Parties, Recognition, Type of Work Performed, Working Chondition, Responsibility, Advancement, Revenue and Welfare. The comparison results revealed that gender, age, rank, education, duration of working and revenue were positive correlation with work Motivation of Wing 41 Officers. The suggestions of this study were as follows; the aspect of Revenue and Welfare should be considered in formulation Policy for officers and having an extra job or residual income in order to earn some more income for family and themselves by doing after working hours in a day. This will be able to drive their work motivation. The aspect of advancement should be considered in the competency evaluation to determine who has opportunity to promote in appropriate position. The aspect of responsibility suggests to employ personnel in the right aptitude and their interesting to enable them to choose the operational methods as required. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารทั่วไป | |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |