DSpace Repository

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดเมืองพัทยา

Show simple item record

dc.contributor.advisor พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต
dc.contributor.author จุฑารัตน์ ดีวิ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:14:44Z
dc.date.available 2023-06-06T04:14:44Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8703
dc.description งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ และเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดเมืองพัทยา จำ แนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง รายได้และประสบการณ์ทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ บุคลากรของสังกัดเขตเทศบาลเมืองพัทยา จำนวน 318 คน คำนวณด้วยสูตร Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามประมาณค่า 4 ระดับ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือ t-test และ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 216 คน คิดเป็นร้อยละ 67.90 มีอายุระหว่าง 25-35 ปี จำนวน 129 คน คิดเป็นร้อยละ 40.60 มีสถานภาพสมรส จำนวน 166 คน คิดเป็นร้อยละ 52.20 มีการศึกษาอยู่ที่ระดับปริญญาตรี จำนวน 189 คน คิดเป็นร้อยละ 59.40 มีตำแหน่งเป็นพนักงานจ้าง จำนวน 133 คน คิดเป็นร้อยละ 41.8 มีรายได้อยุ่ที่ 15,001-25,000 บาท จำนวน 133 คน คิดเป็นร้อยละ 41.8 และมีประสบการณ์ทำงาน 5-10 ปี จำนวน 109 คน คิดเป็นร้อยละ 34.30 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดเมืองพัทยาโดยรวมอยู่ระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดเมืองพัทยาอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการเจริญเติบโต มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ ด้านการบังคับบัญชา ด้านลักษณะงาน ด้านความสำเร็จของงาน ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน ด้านเงื่อนไขการทำงาน ด้านสถานภาพในการทำงาน ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านเงินเดือนหรือค่าจ้างและด้านชีวิตส่วนตัว ด้านการได้รับยอมรับ ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและด้านนโยบายการบริหารงานของเมืองพัทยา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า บุคลากรสังกัดเมืองพัทยาที่มีเพศต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน และพบว่า บุคลากรสังกัดเมืองพัทยาที่มีอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง รายได้และประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject แรงจูงใจในการทำงาน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
dc.title แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดเมืองพัทยา
dc.title.alternative Work motivtion mong personnel working for ptty city
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to examine and compare a level of work motivation among personnel, working for Pattaya City as classified by personal factors, including gender, age, status, educational level, work position, amount of income, and work experience. The subjects participating in this study were 118 personnel, working for Pattaya City. These subjects were recruited by Yamane’s formula. The instrument used to collect the data was a questionnaire with 4 interval-rating scales. The statistical tests used to analyze the collected data included frequency, percentage, means, and standard deviation. Also, the tests of t-test and One-way ANOVA were administered to test the research hypotheses. The results of the study revealed that the majority of the subjects were 216 females (67.90%). Out of this number, 129 subjects were 25-35 years old (40.60%); 166 subjects were married (52.20%); 189 subjects held a bachelor’s degree (59.40%). Also, 133 subjects were hired employees (41.8%); 109 subjects had 5-10 years of work experience (34.30%). In addition, it was found that these subjects rated their level of work motivation at a high level. When considering each aspect of work motivation, the one in relation to work growth was rated with the highest means score, followed by the aspects of responsibility, supervision, types of work, work achievement, job advancement, work condition, work status, job security, relationship with coworkers, monthly salary and wage, personal life, acceptance, and relationship with supervisors, respectively. The aspect of policy and administration of Pattaya City was rated with the lowest mean score. Also, based on the results from the test of hypotheses, there was no statistically significant difference in the level of work motivation among the subjects with different gender. Finally, statistically significant differences were found in the level of work motivation among the subjects who had different age, status, educational level, work position, amount of income, and work experience at significant level of .05.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account