dc.description.abstract |
การศึกษาเรื่องคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวทิยาลัยบูรพา การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อ เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา ประเภทสายงาน ประสบการณ์ทำงาน ระดับรายได้และกลุ่มสายงาน โดยวิธีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 116 คน โดยใช้สูตรของ Yamane (1973) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-testและ One-way ANOVA ทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้ LSD (Least signigicant difference test) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยันโดยใช้สถิติ (Confirmatory factor analysis) เพื่อตรวจสอบโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันขององค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยัน พบว่า โมเดลการวัดตัวแปรองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีความสอดคล้องกัน น้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรสังเกตได้อยู่ระหว่าง 0.655-0.380 และมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของตัวแปรสังเกตได้ (R2 อยู่ระหว่าง 0.429-0.144) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่มีค่าสูงสุด ได้แก่ ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน, ด้านสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ, ด้านประชาธิปไตยในองค์การ, ด้านการบูรณาการทาง สังคม หรือการทำงานร่วมกัน, ด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถของบุคคล, ด้านการได้รับค่าตอบแทนในการทำงานที่เพียงพอและยุติธรรม, ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว สุดท้ายด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาโดยภาพรวมรายด้าน พบว่า มีคุณภาพชีวิตการทำงานโดยภาพรวม 8 ด้านอยุ่ในระดับมากโดยเมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถของบุคคลเป็นอันดับแรกรองลงมา ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงานด้านสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านประชาธิปไตยในองค์การ ด้านการได้รับค่าตอบแทนในการทำงานที่เพียงพอและยุติธรรมด้านความสมดุลระหว่างงานกกับชีวิตส่วนตัว ด้านการบูรณาการทางสังคม หรือการทำงานร่วมกัน และสุดท้ายด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประเภทสายงาน ประสบการณ์ทำงาน ระดับรายได้กลุ่มสายงานต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกัน |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this study was to conduct factor analysis and comparison of quality of work life of staff of the Faculty of Humanities and Social Sciences at Burapha University. The samples were classified by gender, age, marital status, educational level, career path, work experience, income level, and career group. They consisted of 116 staff members of the Faculty of Humanities and Social Sciences. Percentage, mean, standard deviation (SD), t-test, One-way ANOVA and LSD (Least Significant Difference test) were employed for data analysis with the level of statistical significance set at 0.05. The ConfirmatoryFactor analysis program was to for check that the model was consistent with empirical data. The research results indicated that quality of work-life of the Faculity of humanities And social sciences’s staff Burapha University of eight factors, In order loading they were: Stability and progress, work environment and safety and health, democracy in the organization, Social integration, development of human capacities, sufficient and fair compensation, work-life balance and social responsibility. The model in accordance was fit with the empirical data with Chi-square ( 2 ) = 25.827, df=18, 2 /df=1.433, p-value = 0.103, CFI = 0.980, TLI = 0.969, RMSEA = 0.064 and SRMR = 0.052 The data analysis of quality of work-life for staff at the Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University revealed that 8 aspects were at a high level. Analysis of individual aspects revealed that the first rank was self-development, next was security and progress, then work environment, safety and health promotion, then organizational democracy, sufficient and fair compensation, work-life balance, social collaboration and finally common work interest. The result of hypothesis testing revealed that the model has to be consistent with empiricaldata. The comparision of quality of work-life of staff who were difference gender, age, Educational level, type of career path, work experience, income level, career path group were not difference. |
|