Abstract:
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณภาพน้ำและความสัมพันธ์ระหว่างดัชนี BOD5 และ COD ของแม่น้ำบางปะกง โดยนำตัวอย่างน้ำจากแม่น้ำบางปะกงตลอดลำน้ำในช่วงระยะ 230 กิโลเมตรจากปากแม่น้ำ โดยเก็บตัวอย่างจาก 11 สถานี ตั้งแต่อำเภอ
บางปะกง จังหลัดฉะเชิงเทรา ถึงอำเภอบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี นอกจากนี้ยังทำการเก็บตัวอย่างน้ำจากแม่น้ำพระปรง (สถานี 11) และแม่น้ำหนุมาน (สถานี 10) ซึ่งเป็นแม่น้ำสาจาก่อนที่จะรวมกันเป็นแม่น้ำปราจีนบุรี (แม่น้ำบางปะกงสายหลัก
ในการศึกษาครั้งนี้) ในช่วง 10 เดือน ๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 2 วัน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2542 ถึง กรกฎาคม 2543 โดยการศึกษาดัชนีจำนวน 9 ดัชนี คือ พีเอช อุณหภูมิ ความเค็ม ความนำไฟฟ้า ของแข็งละลายน้ำ ออกซิเจนละลายน้ำ ความขุ่น บีโอดี และซีโอดี ซึ่งได้ผลการทดลองดังนี้
ค่าเฉลี่ย pH เท่ากับ 6.95 และ 6.82 ในฤดูแล้ง และฤดูน้ำตามลำดับ อุณหภูมิของน้ำมีค่าอยู่ในช่วง 23.10 ถึง 33.60 องศาเซลเซียส ค่าเฉลี่ย 29.29 องศาเซลเซียส
ในฤดูแล้ง พบค่าความเค็มค่อนข้างสูงในช่วง 0.30 ถึง 31.20 ส่วนในพันส่วน ค่าเฉลี่ย 5.49 ± 9.01 ส่วนในพันส่วน และพบความเค็มของน้ำในแม่น้ำบางปะกงขึ้นสูงถึงอำเภอบ้านสร้างที่ระยะทาง 150 กิโลเมตรจากปากแม่น้ำ สำหรับฤดูน้ำความเค็มเฉลี่ย 0.36 ± 0.05 ส่วนในพันส่วน ค่าเฉลี่ยความนำไฟฟ้า 9.62 ± 14.93 mS และ 0.17 ± 0.12 mS ของแข็งละลายน้ำเฉลี่ย 5,431.72 ± 8,789.01 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 101.95 ± 70.22 มิลลิกรัมต่อลิตร ความขุ่นเฉลี่ย 95.90 ± 132.32 NTU และ 58.45 ± 19.93 NTU ในช่วงฤดูแล้ง และฤดูน้ำ ตามลำดับ
ค่าเฉลี่ยปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 3.70 ± 1.20 และ 4.12 ± 1.71 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าเฉลี่ย BOD5 เท่ากับ 1.21 ± 0.65 และ 0.93 ± 0.47 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าเฉลี่ย COD เท่ากับ 77.98 ± 104.62 และ 13.01 ± 7.92 มิลลิกรัมต่อลิตร ในฤดูแล้ง และฤดูน้ำ ตามลำดับ
จากการศึกษา ทั้ง BOD5 และ COD ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p = 0.117 และ p = 0.223 ในฤดูแล้ง และฤดูน้ำตามลำดับ