dc.contributor.author |
เยาวลักษณ์ บรรจงปรุ |
|
dc.contributor.author |
วนิดา โอฬารกิจอนันต์ |
|
dc.contributor.author |
จันทรวรรณ แสงแข |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:54:48Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:54:48Z |
|
dc.date.issued |
2537 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/865 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อหารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ ซึ่งได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ ความรู้ ความคิดเห็น และพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มแกนนำ และกลุ่มเป้าหมาย ระยะก่อนและหลังการส่งเสริม เปรียบเทียบความรู้ ความคิดเห็น และพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ที่ใช้รูปแบบการส่งเสริมที่แตกต่างกัน ศึกษาปัจจัยคัดสรรที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบอาชีพโรงงานอุตสาหกรรมภาคตะวันออกจำนวนทั้งสิ้น 469 คน เป็นกลุ่มแกนนำ 88 คน กลบุ่มเป้าหมาย 381 คน ทำการเก็บข้อมูล 2 ครั้ง ห่างกันระยะเวลา 3 เดือน สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลฉบับสมบูรณ์ได้ 446 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 95 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ โดยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณชนิดลดหรือเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น ๆ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมโดยการสังเกต สัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอแบบบรรยาย
ผลการวิจัย
รูปแบบที่นำมาใช้กับกลุ่มแกนนำ ได้แก่ กิจกรรมการอบรมและการใช้สื่อ ส่วนรูปแบบที่นำมาใช้กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กิจกรรมการสัมมนากลุ่มย่อยซึ่งเป็นการถ่ายทอดความรู้ต่อจากกลุ่มแกนนำไปสู่กลุ่มเป้าหมาย และการใช้สื่อ ทั้งสองรูปแบบสามารถส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ได้ตามวัตถุประสงค์ในระดับหนึ่ง ดังนี้
กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มแกนนำและกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์สูงกว่าเกณฑ์ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย มีพฤติกรรมอยู่ในระดับพอใช้ จากการเปรียบเทียบสถานภาพส่วนตัวโดยทั่วไป ไม่ทำให้ความรู้ ความคิดเห็น และพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์แตกต่างกัน นอกจากระดับการศึกษาและรายได้ เมื่อเปรียบเทียบความรู้ ความคิดเห็น และพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ พบว่า หลังการส่งเสริมทั้ง 3 กลุ่ม มีความรู้สูงกว่าก่อนการส่งเสริมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) กลุ่มแกนนำมีความคิดเห็นสูงกว่าก่อนการส่งเสริมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ส่วนกลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนเฉลี่ย ความคิดเห็นและพฤติกรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการเปรียบเทียบรูปแบบการส่งเสริมที่แตกต่างกันพบว่า รูปแบบที่ใช้กับแกนนำมีคะแนนสูงกว่ารูปแบบที่ใช้กับกลุ่มเป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์พบว่ามีเพียงปัจจัยเดียว ได้แก่ ความคิดเห็น คือกลุ่มตัวอย่างที่มีความคิดเห้นดี มีแนวดน้มที่จะมีพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ดีด้วย |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
สนับสนุนทุนวิจัยจากงบประมาณแผ่นดินประจำปีงบประมาณ 2537 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ผู้ประกอบการ |
th_TH |
dc.subject |
โรคเอดส์ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของผู้ประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมภาคตะวันออก |
th_TH |
dc.type |
งานวิจัย |
|
dc.year |
2537 |
|