DSpace Repository

ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการนำกลยุทธ์ One health ไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies free zone) ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์จังหวัดสระแก้ว

Show simple item record

dc.contributor.advisor เบญญาดา กระจ่างแจ้ง
dc.contributor.author ปิยะ จำรัส
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:12:06Z
dc.date.available 2023-06-06T04:12:06Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8654
dc.description งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการนำกลยุทธ์ One Health ไปปฏิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies free zone) และเพื่อถอดบทเรียนรูปแบบความสำเร็จของการนำกลยุทธ์ One health ไปปฏิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies free zone) ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 ระดับ คือระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบล จำนวน 14 ท่าน และประชาชน 4 หมู่บ้าน จำนวน 13 คน รวมจำนวน 27 คน การวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้การวิเคราะห์เชิงปรากฎการณ์วิทยา โดยวิธีการของเลียวนาร์ด (Leonard’s method) โดยการหาสาเหตุที่พยายามเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการนำกลยุทธ์ One health ไปปฏิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies free zone) ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ประกอบด้วย 8 ปัจจัยคือ 1) ความเข้มแข็ง 2) การมีส่วนร่วมของประชาชน 3) ทรัพยากร 4) การสื่อสาร และการประชาสัมพันธ์ 5) ภาคีเครือข่าย 6) การสนับสนุนความรู้ 7) การสร้างมาตาฐานในชุมชน และ 8) การเข้าถึงการบริการทางการรักษาและพบว่า การถอดบทเรียนรูปแบบความสำเร็จของการนำกลยุทธ์ One health ไปปฏิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies free zone) ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว เกิดจากเครือข่ายมีการบูรณาการความร่วมมืออย่างมีส่วนร่วมทั้ง 3 หน่วยงานหลัก ได้แก่ สาธารณสุข ปศุสัตว์และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินงานตามกลไกการทำงานในระดับพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน โดยการดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงของทุกฝ่าย สามารถกระตุ้นสร้างความตระหนักให้ประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject โรคพิษสุนัขบ้า
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
dc.title ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการนำกลยุทธ์ One health ไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies free zone) ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์จังหวัดสระแก้ว
dc.title.alternative Factors leading to successful implementation of one health startegy to address rabies (Rabies free zone) at Khao Sam Sip sub-district, Khao Chakan district, Sa Kaeo province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research attempts to study factors leading to succeed the implementation of One Health strategy to solve rabies problem (Rabies free zone) and to establish a model using One Health strategy to solve rabies problem at Khao Sam Sip Sub-district, Khao Chakan District, Sa Kaeo Province. This qualitative research study collected the data from in-depth interview with 27 key informants including 14 three-level officers (from province, district and, sub-district), 13 residents from 4 villages. Leonard’s method was used to analyze the data to find the causes to link the relationship of the data. The findings reveal that key factors to succeed One Health strategy for the implementation at Khao Sam Sip Sub-district, Khao Chakan District, Sa Kaeo Province consist of 8 factors included 1) strength, 2) residents’ participation, 3) resource, 4) communication and public relation, 5) partner’s network, 6) knowledge support, 7) standard establishment in community and, 8) accessibility for healing. In addition, it was also found that the creation of model from successful implementation of One Health strategy at rabies free zone at Khao Sam Sip Sub-district, Khao Chakan District, Sa Kaeo Province can be existed from the cooperation of integrated network of three departments: public health, livestock development, local administration organization. The participation in all procedures and systematic operation with all related organizations can urge the awareness of the residents and related organization to prevent and control rabies in their safe zone
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การจัดการสาธารณะ
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account