dc.contributor.advisor |
สุชนนี เมธิโยธิน |
|
dc.contributor.author |
วิสันต์ ลมไธสง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-06-06T04:07:08Z |
|
dc.date.available |
2023-06-06T04:07:08Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8635 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมนโยบายและแนวทางปฏิบัติการท่องเที่ยวในฝั่งแม่น้ำโขงของประเทศไทยโดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method research) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐและผู้ประกอบการรวมถึงใช้แบบสอบถาม ความคิดเห็นนักท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวในแม่น้ำโขง จำนวน 400 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยว ได้แก่ 1) สนับสนุน นโยบายและงบประมาณเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวก 2) พัฒนาศิลปวัฒนธรรมการท่องเที่ยวและจัดตั้งคณะกรรมการจากภาครัฐเข้ามาดูและบริหารจัดการร่วมกับชุมชน 3) สนับสุนผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวผลิตสินค้าและบริการเพื่อให้ความรู้กับชุมชน 4) เพิ่มการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และจัดทำข้อมูลอย่างเพียงพอและเข้าถึงได้ง่าย5) สร้างความร่วมมือระหว่างรัฐเอกชนและชุมชน ในการพัฒนาภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว 6) ส่งเสริมการฝึกอบรมให้ความรู้และแนวทางปฏิบัติ ด้านการท่องเที่ยวให้กับผู้ประกอบการและชุมชน 7) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวด้านความสะอาด เป็น ระเบียบเรียบร้อย และปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยวแนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติการท่องเที่ยว ได้แก่ 1) สนับสนุนผู้ประกอบการเรือนำเที่ยวในการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน หรือ SMEs เพื่อการท่องเที่ยว 2) ส่งเสริมให้ชุมชนและผู้ประกอบการให้การบริการกับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดีมีน้ำใจไมตรีช่วยประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ 3) ปรับปรุงสภาพของเรือให้บริการนำเที่ยวเพื่อให้ปลอดภัยสวยงามและน่าใช้งานเสมอ 4) ปรับปรุงเส้นทางการเดินเรือและค้นหาเส้นทางใหม่ ๆ 5) เน้นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในแม่น้ำโขง เพื่อให้นักท่องเที่ยวเห็นความแตกต่างจากแหล่งท่องเที่ยว ประเภทอื่นอย่างชัดเจน 6) รณรงค์และเอาจริงเอาจังกับการบริหารจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นรูปธรรมและเกิดประสิทธิผล 7) เน้นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับที่พักโรงแรมสถาปัตยกรรมต่าง ๆ รวมถึงกิจกรรมการท่องเที่ยวให้กลมกลืนกับชุมชน มีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว 8) กำกับดูแลบริการนำเที่ยวจัดระเบียบและแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม ผ่าน ความร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครองท้องถิ่นผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) |
|
dc.subject |
การท่องเที่ยว -- การตลาด |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ |
|
dc.subject |
การท่องเที่ยว -- การศึกษาเฉพาะกรณี |
|
dc.subject |
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ |
|
dc.title |
แนวทางการส่งเสริมนโยบายและแนวทางปฏิบัติการท่องเที่ยวในแม่น้ำโขงของประเทศไทย |
|
dc.title.alternative |
The guideline for promoting mekong tourism policies nd prctices in thilnd |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aimed to study the guidline for promoting the Mekong River tourism policies and practices in Thailand. Using mixed method research, the researcher conducted indepth interviews with government officials and entrepreneurs, and also used questionnaires to collect the data from 400 tourists along the Mekong River. The findings indicated that the guidelines for promoting the Mekong Tourism Policies as follows: 1) Policies should be supported and the budget should be appropriately allocated to develop tourism in term of infrastructure and public utilities. 2) Arts and culture related to tourism should be developed by establishing a committee from the public sectors to take care and manage with the community. 3) Tourism professionals should be supported. 4) Public relations of major tourist sites should be promoted, and sufficient and accessible tourist information should be provided. 5) Cooperations between the government, private sectors and community should be established. 6) There should be the promotion and support for the training, knowledge and practice of tourism promotion for entrepreneurs and the public and 7) tourism destinations should be developed to be cean and safe for tourists. The guidelines for the practices as follows: 1) the integration of boat operators should be encouraged to be SMEs for tourism. 2) The community and tourism operators should be promoted to provide services to tourists, as well as to help promote important tourist destinations. 3) The conditions of the boat tours shoud are improved for safety. 4) Navigation should be improved and new routes should be found. 5) There should be focus on tourism related to the Mekong River. 6) There shoud be a serious campaign and concrete and effective measures for the waste management in the tourism industry. 7) The image of the hotel architecture should be emphasized to be harmonized with the community in order to make the tour unique and 8) tours, especially car and boat tours, should be arranged in various ways, and there should be transparent and fair shares and organization system through cooperation between local authorities, entrepreneurs and people in the area. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
การจัดการสาธารณะ |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|