dc.contributor.advisor |
สุชนนี เมธิโยธิน |
|
dc.contributor.advisor |
อิสระ สุวรรณบล |
|
dc.contributor.author |
ปุญชรัสมิ์ วัฒณาไพบูลย์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-06-06T04:07:06Z |
|
dc.date.available |
2023-06-06T04:07:06Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8621 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทสถานการณ์ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการห่วงโซ่ธุรกิจปลานิลของเกษตรกรไทย เพื่อหาแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิผล การจัดการห่วงโซ่ธุรกิจปลานิลของเกษตรกรไทย โดยใช้รูปแบบการแบบผสานวิธี ประกอบไปด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ การสนทนากลุ่ม และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม ความคิดเห็นจากเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล จํานวน 600 ชุด ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการการจัดการห่วงโซ่ธุรกิจปลานิลในปัจจุบันในส่วนต้นน้ำ ได้แก่ 1) ต้นทุนในการผลิตสูง 2) ขาดองค์ความรู้ในการผลิตและการบริหารจัดการของเกษตรกรไม่ดี 3) ขาดแคลนเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตและแปรรูป 4) ขาดแคลนที่ดินในการทําบ่อเลี้ยง 5) ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง 6) การเกิดโรคระบาดภัยธรรมชาติและภัยทางสิ่งแวดล้อม 7) การจัดหาลูกพันธุ์ปลานิล 8) ขาดการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานผลผลิต 9) นโยบายภาครัฐไม่เอื้อต่อการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ 10) ขาดการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและเกษตรกร ส่วนกลางน้ำ ได้แก่ 1) ถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางและขาดอํานาจ ในการต่อรองของเกษตรกร 2) ขาดการรวมกลุ่มของเกษตรกรและภาวะผู้นํากลุ่ม และส่วนปลายน้ำ ได้แก่ 1) ปัญหาด้านราคา กลไกตลาด และความสามารถในการแข่งขัน 2) ขาดตลาดเพื่อรองรับผลผลิตอย่างเพียงพอ 3) ขาดการประชาสัมพันธ์และรณรงค์การบริโภคย่างเพียงพอจากภาครัฐ ในขณะที่การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการจัดการห่วงโซ่ธุรกิจปลานิลในปัจจุบัน สามารถทําได้ คือ ส่วนต้นน้ำ ได้แก่ 1) เกษตรกร สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จําเป็นในการผลิต และมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทั้งด้านบริหารและด้านกระบวนการผลิต 2) ส่งเสริมให้มีการวางแผนการผลิตและปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด 3) ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมในการจัดการห่วงโซ่ปลานิล 4) เพิ่มการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการบริหารจัดการห่วงโซ่ปลานิลมากขึ้น 5) ส่งเสริมให้เกษตรกรน้อมนําหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ภูมิปัญญาชาวบ้านและเกษตรอินทรีย์ มาใช้เป็นแนวทางการเลี้ยงปลานิล 6) สนับสนุนเกษตรกร ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ให้การสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วนกลางน้ำ ได้แก่ 1) สร้างความสามารถ ในการแข่งขันในตลาดให้มีความเข้มแข็งให้เกษตรกร 2) สนับสนุนชุมชนให้มีผู้นํากลุ่มที่เข้มแข็ง สามารถถ่ายทอด สื่อสารกันในกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างภาวะผู้นําของผู้นํากลุ่มให้มีความโดดเด่นและเป็นที่ยอมรับ โดยทั่วไป เพื่อสร้างองค์กรที่มีความเข้มแข็งและสามารถแข็งขันได้ และส่วนปลายน้ำ ได้แก่ 1) มีช่องทางในการจําหน่ายเพียงพอกับผลผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงผลผลิต สินค้าและผลิตภัณฑ์และเกษตรกรจะต้องมีการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 2) ส่งเสริมการสร้างรายได้และการขยายโอกาส ให้กับเกษตรกรและชุมชน เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ชุมชนและส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพ |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ปลานิล -- การค้า |
|
dc.subject |
ปลานิล -- การตลาด |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ |
|
dc.title |
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการจัดการห่วงโซ่ธุรกิจปลานิล |
|
dc.title.alternative |
Public policy drives to increse the effectiveness chin mngement of tilpi business |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aimed to study the situational context, problems and obstacles in the management of Thai Tilapia Business and to find the right policy drives to increase effective chain management of Thai Tilapia Business. The mixed method used in the study consisted of qualitative research by using in-depth interviews with experts and focus group and quantitative research in which the questionnaire was used to 600 tilapia farmers. The research findings revealed that problems and obstacles in the management of the current tilapia business in the upstream included: 1) high production cost;2) lack of knowledge in production and management of farmers; 3) lack of technology and innovation in production and processing;4) lack of land for making fish ponds; 5) lack of water in dry season; 6) epidemics, natural disasters and environmental hazards, 7) Tilapia fry species supply; 8) Lack of quality control and productivity standards; 9) unfavorable public policy to implementation. 10) Lack of co-ordination of government agencies, private agencies and farmers. The problems and obstacles in the management of the current tilapia business in the midstream included 1) being exploited by middlemen and the lack of negotiating power of farmers and 2) lack of integration of farmers and group leaders.The problems in the downstream included 1) price problems, market mechanisms and competitiveness; 2) lack of markets to sufficiently support production; 3) lack of public relations and advocacy of adequate consumption from the government. However, the right policy drives to increase effective chain management of Thai Tilapia Business in the upstream included 1) farmers having access to the information they needed to raise Thai Tilapia; 2) Promotingefficient production planning and production inputs to reduce costs; 3) Encouraging farmers to form a group; 4) Increasing the participation of farmers in the management of the Tilapia fish chain; 5) encouraging farmers to adopt the Sufficiency Economy Philosophy, local wisdom and organic farming; 6) supporting farmers to access funding sources from both the public and private sectors. The policy drives in the midstream included 1) strengthening market competitiveness; 2) supporting community to have strong leaders who could communicate effectively in the group and making the group leaders to be outstanding and be accepted in order to build a strong and competitive organization. The drives in the downstream included 1) channels to sell sufficiently with continuous output by increasing access to channels for the goods and products and adaptable farmers who could change all the time and 2) promoting income and extending opportunities for farmers and communities in order to achieve the distribution of income to the community and promote sustainability in the profession |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
การจัดการสาธารณะ |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|