DSpace Repository

เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยเครือข่ายชนชั้นนำของคนไทย 2 แผ่นดิน บนเกาะกงในกัมพูชา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์
dc.contributor.author จุตินันท์ ขวัญเนตร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:02:27Z
dc.date.available 2023-06-06T04:02:27Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8616
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การศึกษาเรื่อง เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยเครือข่ายชนชั้นนําของคนไทย 2 แผ่นดิน บนเกาะกงในกัมพูชา มีวัตถุประสงค์ คือเพื่อศึกษากระบวนการขึ้นสู่โครงสร้างอํานาจระดับชาติของเครือข่ายชนชั้นนําคนไทยเกาะกง เพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขทางเศรษฐกิจการเมืองที่มีผลต่อกระบวนการขึ้นสู่โครงสร้างอํานาจระดับชาติของเครือข่ายชนชั้นนําคนไทยเกาะกงและเพื่อศึกษาการผลิตซํ้าโครงสร้างอํานาจชนชั้นนําระดับชาติของเครือข่ายชนชั้นนําคนไทยเกาะกง ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยเลือกวิธีวิทยาการวิจัยเครือข่ายสังคมแนวเศรษฐศาสตร์การเมือง เป็นการวิจัยที่บูรณาการการศึกษาในระดับจุลภาค (Micro level) และระดับมหภาค (Macro level) ร่วมกัน ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการก้าวขึ้นสู่โครงสร้างอํานาจระดับชาติของคนไทยเกาะกงนั้นเกิดจากการรวมตัวของคนไทยเกาะกงเพื่อสร้างเครือข่ายทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยมีลักษณะของเครือข่าย ด้านอุดมการณ์ถือเป็นเครือข่ายสําคัญประการแรกที่ปรากฏขึ้นและอยู่คู่กับเครือข่ายด้านการเมืองและการทหารเสมอ การผสานกันของเครือข่ายทั้งสามนําไปสู่การก่อรูปของโครงสร้างอํานาจระดับชาติในกัมพูชาภายใต้เงื่อนไขเชิงบริบทของสังคม เศรษฐกิจยามสงคราม และการเมืองที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของการตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสจากการล่าอาณานิคมและการเกิดสงครามกลางเมือง ภายในประเทศตลอดช่วงเวลายาวนานกว่า 1 ศตวรรษ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2406-2522 บนฐานทางวัฒนธรรมและทุนทางสังคมของความเป็นเครือญาติระหว่างคนไทยและคนไทยเกาะกงที่มีร่วมกัน การผลิตซํ้าโครงสร้างอํานาจระดับชาติของเครือข่ายชนชั้นนําคนไทยเกาะกงมีปัจจัยและเงื่อนไขทางเศรษฐกิจการเมืองที่มีผลต่อกระบวนการขึ้นสู่โครงสร้างอํานาจระดับชาติของเครือข่ายชนชั้นนําคนไทยเกาะกงหลังจาก พ.ศ. 2522 คือความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายทางทหาร แนวร่วม เครือข่ายทางการเมือง พรรคและเครือข่ายอํานาจทางเศรษฐกิจ โดยมีเงื่อนไขสําคัญอยู่บนฐานของเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-liberalism) ซึ่งเกิดจากการสะสมทุนและระดมทรัพยากรต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า ทุนทางการเมือง เพื่อใช้เชื่อมร้อยเครือข่ายในการก้าวขึ้นสู่โครงสร้างอํานาจชนชั้นนําระดับชาติของกัมพูชาและรักษาอํานาจไว้ได้จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject คนพลัดถิ่น
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ
dc.subject เศรษฐศาสตร์การเมือง
dc.title เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยเครือข่ายชนชั้นนำของคนไทย 2 แผ่นดิน บนเกาะกงในกัมพูชา
dc.title.alternative Politicl economy of networks of thi - cmbodin elite in koh kong (kingdom of cmbodi)
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed to study the conditions and factors affecting the reproduction of the national power structure of Thais Koh Kong network. The methodology was qualitative research on social network in political economy method and also integrated micro level and macro level study. The results showed that the process of stepping up the national power structure of the Thais Koh Kong was the integration of themselves to form a network in both formal and informal forms. This ideological network was an important and was always associated with political and military networks. The integration of these three networks led to the formation of a national power structure in Cambodia under social context, economy war-situation, and the politics with historical development of the colonization of France and the civil war in Cambodian over a period of more than a century from B.E. 2406-2522 (1863-1979) on the base of culture and social capital of the kinship between Thais (Thailand) and Thais Koh Kong (Cambodian) together. Reproduction the national power structure of the Thais Koh Kong elite had factors and economic conditions affecting the process of stepping up the national power structure of Thais Koh Kong elite network. After B.E. 2522 (1979), the relationship between the military network, ally, the political network, party, and economic power network on the key conditions of a new liberal economy (Neo-Liberalism) which was caused by the accumulation of capital and the mobilization of resources, called “political capital” to connect the network to step up to Cambodian national power elite structure and retain power at present
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ
dc.degree.name รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account