DSpace Repository

ยุทธศาสตร์การดำรงชีพของชาวประมงพื้นบ้านภายใต้โครงการพัฒนาบริเวณ ชายฝั่งทะเลตะวันออก: กรณีศึกษาจังหวัดระยอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภัสนันท์ พ่วงเถื่อน
dc.contributor.author ปรียานุช จันทเดิม
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:02:25Z
dc.date.available 2023-06-06T04:02:25Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8603
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการดํารงชีพของชาวประมงพื้นบ้าน 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดํารงชีพ และ 3. เสนอยุทธศาสตร์การดํารงชีพของชาวประมงพื้นบ้านภายใต้โครงการพัฒนาบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก กรณีศึกษาจังหวัดระยอง โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจํานวน 320 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการพรรณนา และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 10 ราย ผลการศึกษาพบว่า ชาวประมงพื้นบ้านในเขตพื้นที่จังหวัดระยอง ส่วนใหญ่ที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 72.2โดยมีอายุเฉลี่ยระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 29.1และมีสถานสภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 72.5 ส่วนในเรื่องของการศึกษานั้นส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 63.4 และอาศัยอยู่ร่วมกันครัวเรือนละ 4 –5 คน คิดเป็นร้อยละ 44.1 พบว่าชาวประมงพื้นบ้านได้รับการสืบทอดอาชีพจากบรรพรุษมา 1 –2 รุ่น คิดเป็นร้อยละ 46.3 และสร้างรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายอยู่ระหว่าง 50,001 – 100,000 บาทในระยะเวลา 1 ปี การทําประมงพื้นบ้านต้องอาศัย “ทุน” ในการดํารงชีพ ผลการศึกษาพบว่า ทุนที่ส่งผลในเชิงบวก คือ ทุนมนุษย์ ได้แก่ ทักษะการอ่านสัญญาณธรรมชาติ การประดิษฐ์เครื่องมือ สุขภาพที่แข็งแรง ทุนสังคม ได้แก่ การรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง ทุนการเงิน ได้แก่ อาหารทะเลราคาสูง ทุนสถาบัน ได้แก่ ความช่วยเหลือจากหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชน/อุตสาหกรรม ส่วนทุนที่ส่งผลกระทบในเชิงลบ คือ ทุนมนุษย์ ได้แก่ การขาดความตระหนักเรื่องสุขภาพ การขาดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอ การขาดความภูมิใจในอาชีพของตนเอง ทุน การเงิน ได้แก่ การไม่สามารถคาดการณ์รายรับได้ ทุนกายภาพ ได้แก่ การมีพื้นที่สําหรับการทําประมงพื้นบ้าน อย่างจํากัด เครื่องมือถูกทําลายจากปัจจัยภายนอก ทุนสังคม ได้แก่ ชาวประมงทําร้ายกันเอง เกิดการแข่งขันและแย่งชิงทรัพยากร และทุนธรรมชาติ ได้แก่ สภาพอากาศที่ไม่แน่นอน ภัยธรรมชาติ สัตว์น้ำน้อยลง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทุนมนุษย์ ทุนสังคม และทุนการเงิน เป็นทุนที่ให้ทั้งคุณและโทษขึ้นอยู่กับบริบทแวดล้อมในเรื่องของนโยบาย เศรษฐกิจ ค่านิยมของสังคม ฯลฯ เช่นเดียวกับ ทุนธรรมชาติ จากผลการวิจัย ผู้วิจัยได้เสนอ 3 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ขับเคลื่อนการดํารงชีพของ ชาวประมงพื้นบ้านให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและทันต่อการเปลี่ยนแปลง ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลอย่างมีธรรมาภิบาลและมีประสิทธิภาพ และยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการคุ้มครองและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างยั่งยืน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง
dc.subject ชาวประมง -- การดำเนินชีวิต
dc.title ยุทธศาสตร์การดำรงชีพของชาวประมงพื้นบ้านภายใต้โครงการพัฒนาบริเวณ ชายฝั่งทะเลตะวันออก: กรณีศึกษาจังหวัดระยอง
dc.title.alternative Livelihood strtegies of locl fishermen under estern sebord development progrm: cse study of ryong province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were 1) to study the living conditions of folk fishermen, 2) to analyze the factors affecting the livelihoods, and 3) to propose strategies for livelihoods of folk fishermen under the Development Projects of Eastern Seaboard, case study in Rayong. This study is the combining research which collected questionnaire data from 320 sampling groups. This research analyzed data by the statistic; means of percentage, mean, standard deviation, descriptive data and semi-structured interview from 10 key informants. The result of study indicated that folk fishermen in Rayong, most of fishery occupations are male. The average age is between 41-50 years, accounted for 29.1%, and marital status accounted for 72.5%. In terms of education, most of them were educated at the elementary level, accounted for 63.4%. And there are 4 or 5 persons lived in the household, accounted for 44.1%. Folk fishermen inherit from their ancestors from 1 to 2 generations, accounted for 46.3%. Income after deducting expenses between 50,001 -100,000 baths in one year. Folk fishing requires "capital" for livelihood. Positive impacts are on human capital include natural reading skills, tooling, and good healthy. Social capital is a strong grouping. Financial capital is high-priced seafood. Institutional capital is the assistance from government sectors and the private/industrial sectors. The capital contributions in negatively impacts is on human capital include lack of health awareness, lack of sufficient information perception and lack of self-esteem. Financial capital is the ability to predict revenues. Physical capital includes limited space for folk fisheries. Tools are destroyed by external factors. Social capital is the fishermen attack assault others, the competition and the resource hijack. And natural capital is including unstable weather, natural disasters and less of aquatic animals. It can be seen that human capital, social capital, and financial capital are the capital that provides both benefits and penalties. It depends on the context of economic policy, social values, as well as natural capital
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account