DSpace Repository

ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจการจับกุมของราษฎร

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประลอง ศิริภูล
dc.contributor.author วิเชียร สิมาจารย์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:00:56Z
dc.date.available 2023-06-06T04:00:56Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8590
dc.description งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงอํานาจในการจับกุมของราษฎรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยมุ่งศึกษาถึงกรณีการจับในความผิดซึ่งหน้าและความผิดที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและทําการศึกษาถึงหลักเกณฑ์ในการจับกุมโดยราษฎรตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสโดยเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ของประเทศไทยว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ทั้งนี้ยังได้ศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องการจับกุมของราษฎรและผลกระทบของการจับกุมโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และศึกษาถึงมาตรการในการคุ้มครองราษฎรผู้จับกุมในกรณีใช้อํานาจจับกุมโดยชอบด้วยกฎหมายแต่ถูกปฏิเสธ ต่อสู้ขัดขืนการจับกุมจากผู้กระทําผิดจากการศึกษาพบว่า โดยหลักแล้วอํานาจการจับกุมผู้กระทําผิดนั้นเป็นอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐ แต่เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วยนั้นว่ากฎหมายได้ขยายอํานาจให้แก่ราษฎรสามารถจับกุม ผู้กระทําผิดได้ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ต้องเป็นการกระทําความผิดซึ่งหน้าราษฎรผู้จับ โดยในประเทศฝรั่งเศสและประเทศสหรัฐอเมริกาอํานาจในการจับกุมของราษฎรนั้นจะกว้างกว่าของประเทศไทยมากและอํานาจการจับกุมเทียบเท่ากับเจ้าพนักงานของรัฐโดยถือว่า การจับกุมผู้กระทําผิดซึ่งหน้านั้นเป็นหน้าที่ของราษฎรที่จะพึงกระทําเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ซึ่งทั้งสองประเทศนั้นจะอาศัยหลักเกณฑ์ความผิดโดยพิจารณาถึงอัตราโทษเป็นสําคัญ คือ ความผิดอุกฤษโทษและความผิดมัธยโทษ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา หากความผิดที่กระทําเป็นความผิดที่ฝ่าฝืนกฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ราษฎรมีอํานาจจับกุมได้ สําหรับประเทศไทยนั้นอํานาจการจับกุมของราษฎรถูกจํากัดไว้เพียงบางฐานความผิดเท่านั้นตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และฐานความผิดที่ระบุไว้นั้นเป็นฐานความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญาซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนมาใช้ประมวลกฎหมายอาญาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 จึงก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคและความสับสนในการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องการจับกุมของราษฎร จากการศึกษาถึงมาตรการคุ้มครองราษฎรผู้จับกุมนั้นพบว่ ยังไม่มีกฎหมายที่บัญญัติถึงความผิดและโทษที่ชัดเจนที่จะลงแก่ผู้กระทําผิดที่กระทําต่อราษฎรผู้จับกุมโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งแตกต่างจากเจ้าพนักงานที่มีบัญญัติถึงความผิดที่กระทําต่อเจ้าพนักงานไว้อย่างชัดเจนและมีโทษที่หนักกว่าการกระทําต่อบุคคลทั่วไป จึงก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้นเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายในเรื่องการจับกุมโดยราษฎรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจน สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงขอเสนอแนะ ดังนี้ 1. ยกเลิกฐานความผิดตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา แล้วบัญญัติเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่เป็นปัจจุบันโดยเพิ่มฐานความผิดที่สําคัญ ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในบัญชี เช่น ความผิดฐานกระทําอนาจาร ความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ ฐานรับของโจร ฐานบุกรุก เป็นต้น 2. เพิ่มบทบัญญัติความผิดและอัตราโทษที่สูงที่เกี่ยวกับการกระทําต่อราษฎรที่ใช้อํานาจตามกฎหมายโดยชอบในการจับกุมผู้กระทําผิดซึ่งหน้าให้เหมือนกับบทบัญญัติความผิดที่กระทําต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาเพื่อเป็นมาตรการในการคุ้มครองราษฎรผู้จับต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject กฎหมายปกครอง
dc.subject การบังคับใช้กฎหมาย
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายและอาชญาวิทยา
dc.subject กฎหมาย
dc.title ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจการจับกุมของราษฎร
dc.title.alternative Legl problems of people’s power to rrest
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This thesis aims to study people’s power to arrest according to the Criminal Procedure Code. The purpose of this study was to investigate the cases of arrest in the offense and the offenses listed in the Criminal Procedure Code, and to study the criteria for arresting in accordance with the laws of the United States and France to compare to the criteria of Thailand. The study also analyzed the barriers to the law enforcement in the arrest of the people and the impact of illegal arrest and studied the measures to protect captors in case of legal arrest, but they were denied or fought by the persecution of the offender. According to the study, it has been found that the power to arrest the offender is for the state officials. However, it is recognized by the international community, including Thailand, that the law empowered the people to arrest the offender under the conditions of the fragrant offense to the captor. In France and the United States, people’s power to arrest is much wider than Thailand’s and the people’s power to arrest is equivalent to state official’s. The arrest of the offender is the duty of the people to keep the peace of the country. Both countries rely on the guilty criteria by considering the penalty, capital and secondary punishment, especially the United States. If the offense is a violation of the law about the peace in the country, people have the power to arrest offenders. For Thailand, people’s power to arrest offenders was limited to only certain offenses, according to the end of the Criminal Procedure Code. Criminal law has now been changed in Thailand since 1957. This causes problems, obstacles and confusion in the enforcement of the law about people’s arrest
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline กฎหมายและอาชญาวิทยา
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account