dc.contributor.advisor | อรรัมภา ไวยมุกข์ | |
dc.contributor.author | ธนานนท์ คัมภีระธัม | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-06-06T04:00:55Z | |
dc.date.available | 2023-06-06T04:00:55Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8586 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับข้อจํากัดความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับความผิดทางอาญาของไทยในบริบทของอาเซียน ตามพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 จากการศึกษาพบว่า กฎหมายฉบับนี้กําหนดหลักเกณฑ์การขอและการให้ความช่วยเหลือกับต่างประเทศ ในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับความผิดทางอาญาต้องคํานึงถึงหลักความผิดสองรัฐ หากกฎหมายภายในของประเทศ ผู้ร้องขอและประเทศผู้รับคําร้องขอไม่มีความผิดสําหรับเรื่องที่มีการขอความช่วยเหลือกันนั้นจะไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่กันได้ ดังนั้น การที่ประเทศไทย นําหลักความผิดสองรัฐมาใช้จึงไม่สอดคล้องกับบริบทของอาเซียนที่แบกรับความท้าทายในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และต้องการความร่วมมือจากประเทศภาคีสมาชิกมากขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับความผิดทางอาญา อาทิ ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของผู้กระทําความผิด การขอพยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวนสืบสวน การขอให้ค้น ยึด อายัด ทรัพย์สินที่เกิดจากการกระทําความผิด เป็นต้น นอกจากนี้ คําร้องขอนั้นต้องไม่ขัดกับกฎหมายภายในของประเทศรับผู้ร้องขอด้วยกรณีที่คําร้องขอนั้นจะเป็นการแทรกแซงการสืบสวนสอบสวน การฟ้องคดี หรือการดําเนินการอื่น ๆ เกี่ยวกับคดีอาญา กฎหมาย กําหนดให้ผู้ประสานงานกลาง มีอํานาจพิจารณาเลื่อนการดําเนินตามคําร้องขอออกไปได้ ยังก่อให้เกิดความล่าช้า และกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่เกี่ยวข้องทั้งปวง อีกทั้งความแตกต่างกันของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและบริบททางสังคมของประเทศอาเซียน มักส่งผลให้ความร่วมมือดังกล่าวถูกปฏิเสธ จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะมิให้ประเทศไทยนําหลักความผิดสองรัฐมาใช้ในเรื่องนี้และมิให้ผู้ประสานงานกลางมีอํานาจพิจารณาเลื่อนการดําเนินตามคําร้องขอโดยพิจารณาจากความร่วมมือ ระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา ประเด็นการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายระหว่างกันทั้งในระดับทวิภาคี และระดับภูมิภาค ซึ่งพบว่า ถ้าความช่วยเหลือนั้น ไม่เกี่ยวกับการใช้กําลังบังคับ แต่ละประเทศควรให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายระหว่างกันแม้ไม่มีหลักความผิดสองรัฐใช้บังคับระหว่างกันก็ตาม เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ ความผิดทางอาญาในขอบข่ายที่กว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ประกอบกับข้อแนะนําของ Financial Action Task Force (FATF) ประเด็นการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายระหว่างกัน และอนุสัญญาสหประชาชาติ เพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ. 2000 ที่สนับสนุนความร่วมมือนี้ โดยประเทศภาคีต้องยึดหลักอํานาจอธิปไตย ไม่ก้าวล้ำอํานาจอธิปไตยระหว่างรัฐด้วย นอกจากนี้ เสนอให้ประเทศไทยพัฒนาระบบ ข้อมูลเกี่ยวกับความผิดทางอาญาที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศภาคีสมาชิกอาเซียนด้วยกัน และพัฒนาระบบข้อมูลของตํารวจอาเซียน (ASEANAPOL) ของไทยให้เป็นรูปธรรมสอดคล้องกับบริบทของอาเซียนมากขึ้น | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | $ความผิดทางอาญา -- ความร่วมมือระหว่างประเทศ | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายและอาชญาวิทยา | |
dc.subject | ความผิดทางอาญา | |
dc.title | ปัญหาความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับความผิดทางอาญาของไทยในบริบทของอาเซียน | |
dc.title.alternative | Problems of interntionl coopertion regrding the informtion bout criminl offences of thilnd in the context of sen | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research was to study the limitations of international cooperation regarding the information about criminal offencesof Thailand in the context of ASEAN, according to the Act of Mutual Assistance in Criminal Matters, B.E. 2535 (1992). From the study, it was found that this law has determined the criteria in requesting and providing assistant to foreign countries regarding the information about criminal offences, which must take double criminality principle into consideration. If the internal law of the requesting country and the recipient’s country do not find a violation of law in a case that is brought to their attention, they cannot provide assistance to each other. Therefore, the use of double criminality principle in Thailand is not relevant with the context of ASEAN, as Thailand has to carry the challenge of crime prevention and suppression. The cooperation of member countries are needed to find the information about criminal offences, such as the civil registration of the offenders, requests for evidence that benefit the investigation, and requests for searching, seizing, and garnishment from offenses. Moreover, the request must not contravene with internal laws of the requesting country. In case the request interferes with an investigation, prosecution, or other proceedings regarding the criminal case, the law has determined for the central coordinator to postpone the request, which creates delays and affects the liberty and rights of all involved people. Furthermore, the differences in the criminal justice system and social context of ASEAN countries often lead to the denial of such requests. From the abovementioned problems, the researcher suggests that Thailand should not use double criminality principle in this matter and the central coordinator should not be authorized to postpone the requests, by taking into consideration international cooperation for criminal offences, and both bilateral and regional legal assistance. If such assistant does not help with enforcement, each country should provide assistance even though there is no double criminality principle, to gain the information regarding criminal offences as broad as possible, including the suggestionsby the Financial Action Task Force (FATF) on the subject of assistance and the United Nations Convention against Transnational Organizational Crime, 2000, which supports this cooperation. The member countries must adhere to sovereignty and not overstep interstate sovereignty. Moreover, it was suggested that Thailand should develop an information system regarding criminal offences that links with member countries in ASEAN and develop the information system of the ASEAN police (ASEANAPOL)of Thailand to become concrete and in accordance with the context of ASEAN | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | กฎหมายและอาชญาวิทยา | |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |