Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนาเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาสถานการณ์ปัญหา ความต้องการ ตลอดจนความสามารถในการทำนายของปัจจัยต่างต่อพลังอำนาจของญาติผู้ดูแลผู้ใหญ่ป่วยเรื้อรังที่บ้าน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ดูแลผู้ใหญ่ป่วยเรื้อรังที่บ้าน ในเขตภาคตะวันออก จำนวน 385 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ประกอบด้วยแบบสำรวจข้อมูลผู้ใหญ่ป่วยเรื้อรัง (แบบสำรวจข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน) และแบบสำรวจข้อมูลผู้ใหญ่ป่วยเรื้อรัง (แบบสำรวจข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม แบบวัดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลกับผู้ใหญ่ป่วย แบบวัดสัมพันธภาพในครอบครัว แบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง แบบประเมินภาระการดูแล แบบประเมินภาวะสุขภาพของผู้ดูแล แบบสอบถามความต้องการญาติผู้ดูแล และแบบวัดพลังอำนาจยาติผู้ดูแล การเก็บข้อมูลในช่วงเดือน เมษายน – กันยายน2546 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา หาความสัมพันธ์โดยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และหาปัจจัยทำนายพลังอำนาจของญาติผู้ดูแล ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ญาติผู้ดูแลผู้ใหญ่ป่วยเรื้อรังที่บ้าน 2 ใน 3 เป็นเพศหญิง มีค่ามัธยฐานของอายุประมาณ 47 ปี มีสถานภาพสมรสคู่ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้าง เกษตรกรรม และแม่บ้าน แต่มีถึง 1 ใน 5 ที่เป็นผู้ว่างงาน และครอบครัวมีรายได้รวมเฉลี่ยอยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาท/เดือน
ผู้ใหญ่ป่วยเรื้อรังที่ได้รับการดูแลเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 45 ปี 5 อันดับแรกของโรคที่เจ็บป่วย คือเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง มะเร็ง และพิการทางสมอง โดย 1 ใน 3 เจ็บป่วยมากกว่า 1โรค ซึ่งมีระยะเวลาการเจ็บป่วยอยู่ในช่วง 1 – 5 ปี ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยารับประทาน มีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันในระดับมาก และส่วนใหญ่ใช้บัตรประกันสุขภาพ 30 บาท
ผู้ดูแลมีความสัมพันธ์เป็นคู่สมรสของผู้ป่วย รับบทบาทดูแลเพราะว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ และไม่เคยมีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง กิจกรรมการดูแลจะเน้นในเรื่องกิจวัตรประจำวัน การรักษา ให้กำลังใจ พาไปพบแพทย์ และทำกิจกรรมทางสังคม ซึ่งครึ่งหนึ่งมีผู้ช่วยเหลือ ผู้ดูแลได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก ใช้เวลาในการดูแลเฉลี่ย 12 ชั่วโมง/วัน นาน 1 – 5 ปี และ1ใน 4 มีปัญหาในการดูแลผู้ป่วย ได้แก่ ขาดความรู้ ไม่มีเวลา เหนื่อย และสื่อสารกับผู้ป่วยได้ลำบาก
2. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำหน้าที่ดูแลผู้ใหญ่ป่วยเรื้อรังที่พบคือ ความสัมพันธ์ระหว่างญาติผู้ดูแลกับผู้ใหญ่ป่วยเรื้อรังอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างดี สัมพันธภาพในครอบครัวอยู่ในระดับดี รู้สึกมีคุณค่าในตัวเองสูง รู้สึกว่าการดูแลเป็นภาระในระดับน้อยถึงปานกลาง และรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองในระดับพอใช้ค่อนข้างแข็งแรง ส่วนความต้องการความช่วยเหลือของญาติผู้ดูแลอยู่ในระดับปานกลาง มีอำนาจของญาติผู้ดูแลผู้ใหญ่ป่วยเรื้อรังอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง
3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพลังอำนาจของญาติผู้ดูแลผู้ใหญ่ป่วยเรื้อรัง ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับญาติผู้ดูแล สัมพันธภาพในครอบครัว ความรู้สึกที่มีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม ภาวะสุขภาพ และรายได้ของครอบครัว ( r = .526, .522, .410, .396, .304, และ.125, ตามลำดับ) และส่วนภาระในการดุแลมีความสัมพันธ์ทางลบกับพลังอำนาจของญาติผู้ดูแลผู้ใหญ่ป่วยเรื้อรัง(r = -.208,)
4. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดุแล สัมพันธภาพในครอบครัว ความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง และการสนับสนุนในสังคม เป็นปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายพลังอำนาจของญาติผู้ดูแลผู้ใหญ่ป่วยเรื้อรังได้ร้อยละ 42.4 (R2 = .424, p < .001) ซึ่งสมารถเขียนสมการทำนายพลังอำนาจของญาติผู้ดูแลผู้ใหญ่ป่วยเรื้อรังในรูปแบบคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้
พลังอำนาจของญาติผู้ดูแลผู้ใหญ่ป่วยเรื้อรัง = .314 (ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลกับผู้ป่วย) +
.254 (สัมพันธภาพในครอบครัว) +
.224 (ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง) +
.100 (การสนับสนุนทางสังคม)
จากผลการวิจัยเสนอแนะได้ว่า พยาบาลควรให้ความสนใจกับกลุ่มญาติผู้ดูแลผู้ใหญ่ป่วยเรื้อรังที่บ้านมากขึ้นและควรถือว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องให้การดูแล โดยเฉพาะการประเมินพลังอำนาจของญาติผู้ดูแลผู้ใหญ่ป่วยเรื้อรังที่บ้าน และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การวางแผน กำหนดแนวทางการดำเนินงานสร้างเสริมพลังอำนาจ โดยคำนึงถึงการเสริมความสัมพันธ์
Abstract
The purposes of this research were to 1) explore evidences, problems needs, and empowerment of family caregivers with chronically ill adults in the Eastern region, and 2) to examine factors predicting empowerment of family caregivers. A multistage random sampling method was used to recruit 385 samples in this region. The research instruments consisted of Demographic from, Social support, Family Relationship, Self-esteem, and Caregiving Burden questionnaires. Data were collected between April through Septemper, 2003. Descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation were employed to analyze the data. The results of the study were as follows:
1. Regarding characteristics of family caregivers in this study, over a half of them were female and aged with a median of 47 years (IQR= ). The majority of the family caregivers completed primary school. Average family income of them were 5,001 – 10,000 Baht/mouth. One in fourth of the family caregivers had health problems.
The family caregivers took care chronically ill adults aged with a mean of 45 years (SD = 10.94). Among these patients, there were amount of females higher than males. Top five of diseases in these patients were diabetes mellitus, hypertension, CVA/Stoke, cancer and brain disability, respectively and the duration of illness with a mean of 5 years (SD= ). Almost patients were taking medicines and one in tenth was using medical equipments. Most of patients were able to perform their activities of daily living at good level.
The reasons of being as caregiver were responsibility, convenience and caregiving ability, respectively. The average hour of care per day was 10 hours. Most of them did not have experiences of caregiving. Caregiving activities including daily living activities, providing treatment, psychological support, taking the patient to see the doctor and social activities, respectively were shown. Almost a half of the family caregivers had secondary caregivers. The family caregivers received social support at high level. Caregivers problems were lack of caregivers knowledge, not enough time, fatigue and difficult in communication.
2. The family caregivers showed family relationship and self-esteem at a high level, caregiving burden at a mild-moderate level, caregiver needs at a moderate level and empowerment at a moderate-high level.
3. There were positively relationships between empowerment of caregivers and caregivers and patients relation, family relation, family relationship, self-esteem, social support, health status, family income (r = .526, .522, .410, .396, .304, and.125), respectively. Only caregiving burden showed negaitively associated with empowerment of caregivers (r = -.526).
4. For the empowerment of caregivers, they had be empowerment at the moderate to high level. The result indicated that empowerment of caregivers together with relationship between patient and caregiver, self-esteem, family relationship, and social support could explain the variation of health status of family caregivers by 42.4% (R2 = .424, F=69.95, p<.001)
Empowerment of caregivers = .314 (relationship between caregivers and patients)
.254 (family relationship) + .224 (self-esteem) +
.100 (social support)
In conclusion, nurse and other health care providers should pay more attention to family caregivers as an important client group. Empowerment and relative factors should be assessed in order to make a plan or establish for promoting empowerment of them. In addition, developing empowerment program should be concerned on promoting relationship between patient and caregiver, self-esteem, family relationship, social support network.