dc.contributor.author |
ถิรพงษ์ ถิรมนัส |
th |
dc.contributor.author |
อุษา ฮกยินดี |
th |
dc.contributor.author |
ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ |
th |
dc.contributor.author |
นันทพร บุตรบำรุง |
th |
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:54:47Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:54:47Z |
|
dc.date.issued |
2544 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/850 |
|
dc.description.abstract |
การทำงานในบริเวณก่อสร้างนับว่ามีความเสี่ยงต่อการประสบอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ การศึกษานี้เป็นการศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการประสบอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการทำงานในบริเวณก่อสร้างในเขตจังหวัดชลบุรี โดยประยุกต์บางส่วนของแบบจำลอง PRECEDE-PROCEED Model ในการกำหนดกรอบแนวคิดรวบยอดในการวิจัย และอาศัยรูปแบบการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนกลับ ในการศึกษา กลุ่มศึกษาเป็นคนงานก่อสร้างที่ประสบอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา โดยพบว่ามีการบาดเจ็บตั้งแต่ไม่ต้องหยุดงานถึงขั้นหยุดงานเกิน 3 เดือน กลุ่มควบคุมเป็นคนงานที่อยู่ในแค้มป์เดียวกับกลุ่มศึกษาที่มีเพศเดียวกัน และอายุใกล้เคียงกันที่ไม่ประสบอุบัติเหตุในช่วงเวลาดังกล่าว ตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มเลือกจากแค้มป์ก่อสร้าง 6 แห่ง ในเขตอำเภอเมือง อำเภอศรีราชา และอำเภอบ้านบึง เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2543 โดยใช้แบบสอบถาม ให้ตัวอย่างตอบเองโดยทำพร้อมกันเป็นกลุ่ม และผู้วิจัยเป็นผู้อ่านคำถามและคำตอบให้ฟังทีละข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์และช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ทดสอบความสัมพันธ์โดย Chi square test หรือ Fisher Exact test และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดย Student t-test
จากการวิเคราะห์ปัจจัยทีละตัวแปร พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการประสบอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการทำงานในบริเวณก่อสร้าง ได้แก่ 1) การดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง 2) การดื่มเครื่องดื่มชูกำลังในเวลาทำงานก่อสร้าง 3) การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 4) การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาทำงานก่อสร้าง 5) การมีโรคประจำตัว 6) ความรู้รายข้อเกี่ยวกับการแต่งกายไม่รัดกุม มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ 7) ทัศนคติต่อการปฏิบัติด้านความปลอดภัยโดยรวม 8) ระยะเวลาที่ทำงานก่อสร้างในแค้มป์นี้ 9) จำนวนวันที่ทำงานในแต่ละสัปดาห์ 10) ระยะเวลาที่ทำงานในแต่ละวัน 11) การปฏิบัติรายข้อเกี่ยวกับการแต่งกายรัดกุมไม่ลุ่มล่าม 12) การปฏิบัติรายข้อเกี่ยวกับการทำงานโดยที่ยังมีอาการง่วงนอน 13) การปฏิบัติรายข้อเกี่ยวกับการพักอาศัยในอาคารที่กำลังก่อสร้าง 14) การปฏิบัติรายข้อเกี่ยวกับการสวมรองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าหุ้มส้นพื้นยางในขณะที่ทำงาน แต่เมื่อทำการวิเคราะห์ปัจจัยร่วมเพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรต่าง ๆ เหล่านี้ โดยมีการควบคุมอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยอาศัยการวิเคราะห์ถดถดยพหุแบบลอจิสติก และเลือกตัวแปรโดยวิธี Forward stepwise พบว่ามีตัวแปรเพียง 3 ตัว ที่มีอิทธิพลต่อการประสบอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการทำงาน ได้แก่ 1) ระยะเวลาที่ทำงานในแต่ละวัน 2) การดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง และ 3) การแต่งกายรัดกุมไม่ลุ่มล่าม โดยพบว่า คนที่ทำงานวันละ 7-8 ชั่วโมง มีความเสี่ยงต่อการประสบอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการทำงาน มากกว่าคนงานที่ทำงานวันละ 10-11 ชั่วโมง ประมาณ 10 เท่า คนงานที่ดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง มีความเสี่ยงต่อการประสบอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการทำงาน มากกว่าคนงานที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ประมาณ 2 เท่า คนงานที่แต่งกายไม่รัดกุมลุ่มล่าม มีความเสียงต่อการประสบอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการทำงานมากกว่าคนงานที่แต่งกายรัดกุม ประมาณ 5-13 เท่า
การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบการและหน่วยงานที่กำกับดูแล ควรให้มีการควบคุมดูแลการแต่งกายของคนงานอย่างเข้มงวด คนงานเองจะต้องได้รับการชี้แจงอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานนับตั้งแต่แรกรับเข้าทำงานในแค้มป์ก่อสร้าง และการให้มีผู้รับผิดชอบในการตรวจตราสภาพการทำงาน และสภาพแวดล้อมบริเวณที่ทำงานให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยทุกวัน
Construction workers have hihg risk for accidents and injuries. This paper provides analysis of risk factors resulting in accidents and injuries among construction workers in Chonburi province. The conceptual framework was based on PRECEDE-PROCEES Model. This study was retrospective design with cases who used to have an accident or an injury within the last 6 months. Controls were matched with cases in terms of afe and sex but without accidents or injuries during the study period. Study samples were randomly selected from 6 construction sites in Muang district, Sriracha district and Ban Bung district. Data were collected from April to June, 2000. Each subject was interviewed by the investigators using questionnaire. Data were analyzed for Odds ratio (OR), 95% CI of OR, Chi-square test or Fisher Exact test, Student's t-test and Logistic Regression Analysis.
The result of the study revealed that factors related to accidents and injuries in construction workers included 1) consuming stimulating beverage 2) consuming stimulating beverage at work 3) consuming alcoholic beverage 4) consuming alcoholic beverage at work 5) having chronic diseases 6) knowing that unfit dressing is a risk to accidents 7) attitude toward safe practice 8) duration of work in the site 9) number of days worked per week 10) hours of work per day 11) unfit dressing 12) sleepiness 13) dwelling in the site 14) wearing rubber shoes at work. From multivariate analysis, 3 variables were related to the occurrence of accidents and injuries which included 1) hours of work per day 2) drinking stimulating beverages and 3) unfit dressing. Those who worked 7-8 hours per day had 10 times risk for accidents and injuries compare to those who worked 10-11 hours per day. The subjects who consumed stimulating beverages had 2 times greater risk to accidents and injuries. Those who wore unfit clothing had 5-13 times greater risk.
In summary, this study suggested that construction companies and organizations concerned should emphasize on proper and fit fressing. Workers should have adequate safety training before starting to work at the sites. Providing responsible persons forinspection of working condition and work environment would be beneficial. |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การก่อสร้าง - - อุบัติเหตุ - - วิจัย |
th_TH |
dc.subject |
ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง - - วิจัย |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการทำงานในบริเวณก่อสร้างในเขตจังหวัดชลบุรี |
th_TH |
dc.title.alternative |
Risk factors to working accidents and injuries in construction camps in Chonburi province |
en |
dc.type |
งานวิจัย |
|
dc.year |
2544 |
|