Abstract:
ที่มาของปัญหา
การตรวจวัด body composition model (BCM) ด้วยเครื่องมือ bioimpedance spectroscopy (BIS) สามารถบอกถึงภาวะโภชนาการและสารน้ำในร่างกายได้ดี ยังไม่มีข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่าง BCM กับคุณภาพชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (CKD5) ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีฟอกเลือด (HD) และ ล้างไตทางช่องท้อง (CAPD)
วัตถุประสงค์
เพื่อเปรียบเทียบภาวะโภชนาการ สารน้ำในร่างกาย กับ คุณภาพชีวิตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังกลุ่มต่าง ๆ
วิธีวิจัย
ทำการศึกษาภาคตัดขวางผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา วัด BCM ด้วยเครื่องมือ BCM-Fresenius medical care, วัดคุณภาพชีวิตด้วย WHP-QOL-BREF, เก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยจากแฟ้มเวชระเบียน คำนวณหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ด้วยโปรแกรม SPSS version 19
ผลการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วย CKD5 18 ราย PD 26 ราย HD 12 ราย ทุกกลุ่มมีระดับความรุนแรงของโรคร่วมวัดด้วย Charlson's Comorbidity index, การรับประทานอาหาร, ดัชนีมวลสาร, ความดันโลหิต และคุณภาพชีวิตไม่ต่างกัน ผู้ป่วยกลุ่ม CKD5 มี Lean tissue index (LTI 14.34+/-3.13 kg/m2) มากกว่าผู้ป่วยกลุ่ม PD (12.26+/-3.65 kg/m2) และ HD (11.48+/-3.48 kg/m2) p=0.023 ผู้ป่วยกลุ่ม PD มีภาวะน้ำเกินมากกว่ากลุ่ม HD (1.02+_0.21 vs.2.36+-11.07 %OH/ECW p<0.0001) และมีสัดส่วนสารน้ำนอกเซลล์ต่อสารน้ำในเซลล์สูงกว่ากลุ่ม HD (1.02+-0.21 vs.0.89+-.018 p=0.035) LTI ที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (r=0.402, p<0.0001)
สรุป
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายทั้ง 3 กลุ่มมีคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน ผู้ป่วย CKD5 มี Lean tissue index มากกว่าผู้ป่วย PD และ HD ผู้ป่วย PD มีภาวะน้ำเกินมากกว่า CKD5 และ HD.LTI ที่สูงขึ้นในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
Background. Bioimpedance spectroscopy with body composition model is a validated method to assess hydration status in dialysis patients. The aim of this study is to compare nutrition status, hydration status and quality of life between dialysis and predialysis-CKD5 patients.
Methods. Eighteen CKD5, 26 PD and 32 HD patients were included in this study Multifrequency bioimpedance spectroscopy were measured by BCM-body composition monitor (Fresenius medical care) device, the device provided body composition and quantified hydration status. Quality of life was measured by WHO-QOL questionaire. Scheffe's test was used for comparison, and p<0.05 was considered as statistically significant.
Results. There were no differences in Charlson's comobidity index, food intake, protein intake, BMI, blood pressure and quality of life between 3 groups. CKD5 patients had more lean tissue index (LTI 14.34+-3.13 kg/m2 p=0.023) compare to diaysis patients. LTI and FTI between PD (12.26+-3.65, 10.97+-5.84) and HD (11.48+-3.84, 10.52+-4.67) patients were not statistically different. PD patients had more over hydration when compare to HD patients (16.18+-11.24 vs. 2.36+-11.07 %OH/ECW p<0.0001) and ECW to ICW ratio was higher in PD patients (1.02+-0.21 vs. 0.89+-0.18 p=0.035). Higher LTI was significantly correlate with better quality of life (r=0.402, p<0.0001).
Conclusion. Quality of life was not difference between predialysis-CKD5, PD and HD patients. PD patients had more over hydration and ECW to ICW ratio as assessed by bioimpedance spectroscopy. Pre dialysis-CKD5 patients had more LTI than dialysis patients. Higher LTI was significantly correlate with better quality of life in ESRD patiens.