dc.contributor.advisor |
เขมารดี มาสิงบุญ |
|
dc.contributor.advisor |
วัลภา คุณทรงเกียรติ |
|
dc.contributor.author |
อรพรรณ บุญลือ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T06:54:29Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T06:54:29Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8097 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำเป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือกออกซ้ำ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกซ้ำในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นครั้งแรกที่มาตรวจตามแพทย์นัด ณ แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า จำนวน 84 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอนถามข้อมูลทั่วไปแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกซ้ำ แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ แบบสอบถามการรับรู้ โอกาสเสี่ยงของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ และแบบสอบถามการรับรู้ ผลลัพธ์ในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ และแบบสอบถามการรับรู้ผลลัพธ์ในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ โดยมีค่าความเที่ยง เท่ากับ .82, .78, .71, .87 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกซ้ำ โดยรวมอยู่ในระดับสูง (M = 46.83, SD = 7.36) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกซ้ำในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระดับสูง ได้แก่ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ (rs = .81, p < .01) และการรับรู้ผลลัพธ์ในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ (rs =.72, p < .01) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ (rs = .32, p < .01) และการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ (rs = .31, p < .01) ผลการวิจัยครั้งนี้พยาบาลสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลด้านการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น นำโดยส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ การรับรู้ผลลัพธ์ในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ และการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ภาวะเลือดออก |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ |
|
dc.title |
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการเกิดเลือดออกซ้ำในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น |
|
dc.title.alternative |
Fctors relted to preventive behviors for rebleeding in upper gstrointestinl bleeding ptients |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Upper gastrointestinal rebleeding (UGIB) is a major problem that impact on the physical, psychological, social and economic. The purpose of this research was to study preventive behavior and factors related to preventive behavior for rebleeding in UGIB patients. Participants were 84 firsttime diagnosed UGIB patients followed up at the surgical outpatient department in Phrapokklao hospital in Chanthaburi. The participants were selected by simple random sampling. The research instruments included the personal information questionnaire, preventive behavior questionnaire, perceived severity of rebleeding in UGIB questionnaire, preventive behaviors questionnaire, perceived severity of rebleeding in UGIB questionnaire, perceived vulnerability of rebleeding in UGIB questionnaire, perceived self efficacy of preventive behavior for rebleeding in UGIB questionnaire, and perceived response efficacy of preventive behavior for rebleeding in UGIB questionnaire. The reliabilities of these instruments were .82, .78, .71, .87, and .86 respectively. The data were analyzed using descriptive statistics and Spearman’s correlation. The findings showed that the participants had overall high preventive behaviors score (M = 46.83, SD = 7.36). The factors that significantly correlated with preventive behavior for rebleeding in UGIB patients were perceived self -efficacy of preventive behavior for rebleedingin in UGIB (rs = .81, p < .01) and perceived response efficacy of preventive behavior for rebleeding in UGIB (rs = .72, p < .01). Perceived severity of rebleeding in UGIB (rs = .32, p < .01) and perceived vulnerability of rebleeding in UGIB (rs =.31, p < .01) were moderately significantly correlated with preventive behaviors for rebleeding in UGIB. The results of this study can provide useful information to nurses in promoting preventive behaviors for rebleeding in UGIB patients by encouraging patients to perceived self efficacy of preventive behaviors for rebleeding in UGIB, perceived response efficacy of preventive behavirs for rebleeding in UGIB, perceived severity of rebleeding in UGIB and perceived vulnerability of rebleeding in UGIB. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การพยาบาลผู้ใหญ่ |
|
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|