DSpace Repository

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน

Show simple item record

dc.contributor.advisor วรรณี เดียวอิศเรศ
dc.contributor.advisor อุษา เชื้อหอม
dc.contributor.author กุสุมล แสนบุญมา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:54:28Z
dc.date.available 2023-05-12T06:54:28Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8093
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นการเปลี่ยนแปลงที่วิกฤติทางอารมณ์ของมารดาหลังคลอด มีผลกระทบทั้งต่อมารดาหลังคลอด ทารกและครอบครัว การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่าง เป็นมารดาในระยะ 4-8 สัปดาห์หลังคลอด ที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน และมารับบริการ ตรวจสุขภาพหลังคลอดบุตรหรือพาบุตรมารับบริการที่หน่วยเด็กสุขภาพดีที่โรงพยาบาลระยอง โรงพยาบาลบางละมุง หรือคลินิกเอกชน/ โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 98 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบสะดวก เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2651 โดยใช้แบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่างตอบเองได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด แบบสอบถามความเครียดจากการดูแลบุตร แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน ผลการวิจัยพบมารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉินมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คิดเป็นร้อยละ 20.20 อายุของมารดา รายได้ของครอบครัว ระยะเวลาของบุตรที่ต้องรับการรักษาที่หออภิบาลทารกแรกเกิด ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองความเครียดจากการดูแลบุตรและการสนับสนุนทางสังคมร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉินได้ร้อยละ 56 (Adjust R2 = .53, F6, 91= 19.307, p< .05) โดยความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมากที่สุด (β = -.59, p< .05) รองลงมาคือความเครียดจากการดูแลบุตร (β = .20, p< .05) และระยะเวลาที่บุตรต้องเข้ารับการรักษาที่หออภิบาลทารกแรกเกิด (β = .17, p < .05) ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลผดุงครรภ์ควรมีการจัดโปรแกรมส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการจัดการความเครียดจากการดูแลบุตรหลังคลอดโดยเฉพาะในรายที่บุตรต้องรักษาตัวที่หออภิบาลทารกแรกเกิดเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดากลุ่มนี้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การคลอด -- การดูแล
dc.subject การผ่าท้องทำคลอด
dc.subject ความซึมเศร้า
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน
dc.title.alternative Predictors of postprtum depression mong women with emergency cesren section
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Postpartum depression is a critical change of emotion in the mothers after giving birth. This results in maternal, neonatal and family effects. The purpose of this study was to determine the influencing factors of postpartum depression among women with emergency cesarean section. A convenience sample of 98 women after having emergency cesarean section for 4-8 week period who received post labor care or took their child to the well-baby clinics at Rayong regional hospital, Banglamung hospital, and other private hospitals and clinics were recruited in this study. Data were collected from April-June, 2018. Research instruments included demographic information, Thai Edinburgh Postnatal Depression [EPDS] scale, Self-Esteem scale, Thai Childcare stress Inventory and Thai Postpartum support questionnaires. Descriptive statistics and standard multiple regression analysis were used to analyze the data. The study results revealed that there are 20.20 % of women with emergency cesarean section had postpartum depression. Age of mothers, family income, duration of the child to be treated at the neonatal care unit, self-esteem, stress from childcare, and social support could together predict postpartum depression in mothers with cesarean delivery in an emergency unit for 56 %.(Adjust R2 = .53, F6, 91= 19.307, p< .05). The best predictor was self-esteem (β = -.59, p< .05), followed by childcare stress (β = .20, p< .05) and length of postnatal hospital stay in neonatal intensive care unit (β = .17, p< .05). The results of this study suggest that midwife nurses should develop program aimed at enhancing self-esteem, and child care stress management for the mothers, especially the mothers whose children were treated at the neonatal care unit for a long period in order to prevent postpartum depression among these mothers.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การผดุงครรภ์
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account