DSpace Repository

การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์บำบัดฟื้นฟูการรู้คิดเสริมแรงจูงใจต่อเนื่องสำหรับเพิ่มความสามารถด้านการรู้คิดของผู้ป่วยจิตเภท

Show simple item record

dc.contributor.advisor พีร วงศ์อุปราช
dc.contributor.advisor เสรี ชัดแช้ม
dc.contributor.author พุฒิชาดา จันทะคุณ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:54:27Z
dc.date.available 2023-05-12T06:54:27Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8089
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์บำบัดฟื้นฟูการรู้คิดเสริมแรงจูงใจต่อเนื่องสำหรับเพิ่มความสามารถด้านการรู้คิดของผู้ป่วยจิตเภท สร้างกิจกรรมทดสอบความใส่ใจต่อเนื่องด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ศึกษาผลการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์บำบัดฟื้นฟูการรู้คิดเสริมแรงจูงใจต่อเนื่อง (CSCRT) กับโปรแกรมจิตบำบัดประคับประคอง (SPT) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจิตเภท จำนวน 80 คน ที่มารับบริการงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวชแห่งหนึ่งในปี พ.ศ. 2561 ใช้แบบแผนการทดลอง 2 x 2 Factorial Pretest and Multiple-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้วัดความสามารถด้านการรู้คิด ประกอบด้วย กิจกรรมทดสอบความใส่ใจต่อเนื่อง กิจกรรมทดสอบความจำขณะทำงาน และกิจกรรมทดสอบความสามารถในการตัดสินใจ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) โปรแกรม CSCRT ประกอบด้วยกิจกรรม 6 ครั้ง แต่ละครั้งแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ฝึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การตรวจสอบสิ่งที่ได้รับ และการเชื่อมโยง มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.86) 2) กิจกรรมทดสอบความใส่ใจต่อเนื่องนำเสนอสิ่งเร้าตัวอักษรไทย จำนวน 170 ครั้ง ใช้เวลา 8 นาที มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมากที่สุด (Mean=5.00) 3) กลุ่มที่ใช้โปรแกรม SCCRT ด้านความใส่ใจต่อเนื่อง หลังการทดลองและระยะติดตามมีความถูกต้องมากกว่า เวลาน้อยกว่า ก่อนการทดลอง (p<.05) และกลุ่มที่ใช้โปรแกรม SPT (p<.05) ด้านความจำขณะทำงาน หลังการทดลองและระยะติดตามมีความถูกต้องมากกว่า เวลาน้อยกว่าก่อนการทดลอง (p<.05) และกลุ่มที่ใช้โปรแกรม SPT (p<.05) และด้านความสามารถในการตัดสินใจหลังการทดลองและระยะติดตามมีความถูกต้องมากกว่า เวลาน้อยกว่า ก่อนการทดลอง (p<.05) และกลุ่มที่ใช้โปรแกรม SPT (p<.05) สรุปได้ว่า โปรแกรม CSCRT ที่พัฒนาขึ้นสามารถเพิ่มความสามารถด้านการรู้คิดในผู้ป่วยจิตเภทได้
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject โรคจิตเภท
dc.subject กิจกรรมบำบัด
dc.subject ผู้ป่วยจิตเภท
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject จิตเภท
dc.title การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์บำบัดฟื้นฟูการรู้คิดเสริมแรงจูงใจต่อเนื่องสำหรับเพิ่มความสามารถด้านการรู้คิดของผู้ป่วยจิตเภท
dc.title.alternative Development of computerized sustined-motivtion focused cognitive remedition therpy progrm for enhncing cognitive bility of ptients with schizophreni
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to develop a computerized sustained - motivation focused cognitive remediation therapy program (CSCRT) for enhancing the cognitive abilities of patients with schizophrenia, to develop a sustained attention task, and to compare the program’s effectiveness between an experimental group using developed program (CSCRT) and a control group using supportive psychotherapy program (SPT). The 80 participants were patients with schizophrenic, who had sought services at the outpatient department of a psychiatric hospital in the year 2018. The experimental design was 2 x 2 Factorial Pretest and Multiple-Posttest Design. The research instruments consisted of cognitive ability tasks: sustained attention, working memory, and decision-making. Data were analyzed by using a two-way repeated measures ANOVA. The results showed that 1) The CSCRT consisted of six sessions, and each session could be divided into three phases, namely computerized exercises, strategic monitoring, and bridging, and the program was highly rated as appropriate for use (Mean=.48); 2) the sustained attention task with 170 Thai character stimuli lasted for eight minutes this task was rated as the most appropriate level for use (Mean=5.00); and 3) after training with the CSCRT these results were found: (i) a higher response accuracy rate and a quicker response time on the sustained attention task when compared with before training (p<.05); and, (iii) a higher response accuracy rate and a quicker response time on decision making when compared with before training (p<.05) and when compared with SPT training program (p<.05). In conclusion, the CSCRT program effectively enhanced cognitive abilities among patients with schizophrenia.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account