DSpace Repository

การพัฒนาพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมโดยใช้โปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาแบบบูรณาการ : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสรี ชัดแช้ม
dc.contributor.author กุลพัฒน์ ยิ่งดำนุ่น
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:54:27Z
dc.date.available 2023-05-12T06:54:27Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8087
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract พฤติกรรมเอื้อต่อสังคมเป็นการกระทําเนื่องจากความคิด ความรู้สึกเอาใจใส่ มีน้ำใจเห็นแก่ผู้อื่น เพื่อช่วยเหลือ เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือสังคม ด้วยความเต็มใจ ไม่คาดหวังผลตอบแทน ถือเป็นพฤติกรรมจริยธรรมที่มีคุณค่าสูงในทุกสังคมการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาแบบบูรณาการสําหรับพัฒนาพฤติกรรมเอื้อต่อสังคม พัฒนามาตรวัดพฤติกรรม เอื้อต่อสังคมเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมเอื้อต่อสังคม เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความสูงและความกว้างของคลื่นไฟฟ้าสมอง P300 ระหว่างก่อนกับหลังการทดลองและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใหญ่ตอนต้นทั้งเพศชายและเพศหญิง ในปีพ.ศ.2560 อายุระหว่าง 20-24 ปี จํานวน 60 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มใช้โปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาแบบบูรณาการ (CBIM) จํานวน 30 คน กับกลุ่มใช้โปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญา (CBM) จํานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาแบบบูรณาการ มาตรวัด พฤติกรรมเอื้อต่อสังคม และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองระบบ NeuroScan วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย สถิติทดสอบที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณทางเดียว (One-way MANCOVA) ผลการวิจัยปรากฏว่า มาตรวัดที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพทั้งด้านค่าอํานาจจําแนกรายข้อ ค่าความตรงรายข้อ และค่าความเที่ยงทั้งฉบับ กลุ่มใช้โปรแกรม CBIM มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มใช้โปรแกรม CBM หลังการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะตัดสินใจเอื้อต่อสังคมด้วยการไม่ช่วยเหลือ และมีค่าเฉลี่ยความสูงของ คลื่นไฟฟ้าสมอง P300 สูงกว่ากลุ่มใช้โปรแกรม CBM ในบริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (Frontal lobe) ที่ตําแหน่ง FPz และ Fz บริเวณเปลือกสมองส่วนกลาง (Central lobe) ที่ตำแหน่ง FCz, Cz และ CPz อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะให้เหตุผลเอื้อต่อสังคมด้วยการเห็นแก่ตนเอง กลุ่มใช้โปรแกรม CBIM มีค่าเฉลี่ยความสูงของคลื่นไฟฟ้าสมอง P300 สูงกว่ากลุ่มใช้โปรแกรม CBM ในบริเวณเปลือกสมองส่วนกลาง (Central lobe) ที่ตําแหน่ง FCz, Cz และ CPz อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า หลักการของทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญาที่ใช้ในโปรแกรม CBIM สามารถเพิ่มพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมให้กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยได้
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject พฤติกรรมการช่วยเหลือ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา
dc.subject พฤติกรรมองค์การ
dc.subject คลื่นไฟฟ้า
dc.title การพัฒนาพฤติกรรมเอื้อต่อสังคมโดยใช้โปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาแบบบูรณาการ : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์
dc.title.alternative Prosocil behviors development using cognitive behvior integrted modifiction progrm: n event-relted potentil study
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Prosocial behaviors is an action because of the though, the feeling, caring, generous, altruistic help, or benefit to others or society, willingly and without expectation of return, it is high valued ethical behavior in every society. The purpose of this research was to develop a cognitive behavior integrated modification program for development of prosocial behaviors, development prosocial behaviors scales, and compare the mean score, and comparison the mean of P300 amplitude and latency, before and after experiment and after experiment from two groups. The participants were 60 man and woman aged 20-24 years in 2017. They were randomly assigned in two experiment groups, first group trained with a Cognitive behavioral modification program (CBIM) with 30 participants, while second group trained with a Cognitive behavior modification (CBM) with 30 participants. The research instruments were program CBIM, prosocial behaviors scales, and the NeuroScan system. Data were analyzed using descriptive statistic, t-test, and One-way MANCOVA. The results showed that the developed scales have the item discrimination index, item validity index, and scale reliability qualities. The CBIM program can enhanced mean scores of prosocial behaviors in the CBIM group rather than the CBM group both before and after experiment and after experiment (p < .05). The mean of P300 amplitude while to prosocial not-helping decision-making in CBIM group were higher than CBM group in the frontal lobe (FPz and Fz) and the central lobe (FCz, Cz and CPz) (p < .05), and the mean of P300 amplitude while egoistic reasoning in CBIM group were higher than CBM group in the central lobe (FCz, Cz and CPz) (p < .05). In conclusion, the principles of cognitive behavioral theory, was uses in the CBIM program, can enhance prosocial behaviors of participants in this study
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account